ข่าว

หมอธีระวัฒน์ ชี้ปัจจัยทำผู้ติดเชื้อโควิด อาการรุนแรง เสียชีวิต

ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แจงปัจจัยติดเชื้อโควิด

วันที่ 13 ก.ค.64 คุณหมอธีระวัฒน์ โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha โดยส่วนหนึ่งของรายละเอียดมาจาก บทความในไทยรัฐ ทางโค้ง..จบแบบสวยหรือสาหัส (ตอนที่ 1) สุขภาพหรรษา หมอดื้อ 20 มิถุนายน 2564 โดยอธิบายรายละเอียดของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนี้

ถ้าป้องกันไม่อยู่เกิดมีการติดเชื้อโควิด ขึ้น จะสามารถบรรเทาให้ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล ไม่มีอาการหนัก ไม่เสียชีวิต รวมทั้งผู้ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วและติดเชื้อจะสามารถลดการแพร่เชื้อให้คนอื่นติดตามไปอีกได้มากน้อยเพียงใด

โดยคุณหมอ ธีระวัฒน์ ยกตัวอย่างของรายงานระบบสุขภาพอังกฤษ (Public Health England)สัปดาห์ที่ 20

วัคซีนไฟเซอร์ โมเดนา ถ้าฉีดหนึ่งเข็มจะป้องกันการติดเชื้อได้ 55 ถึง 70% และถ้าเป็นสองเข็มจะป้องกันได้ 70 ถึง 90%

ฉีดหนึ่งเข็มและเกิดติดเขื้อจะลดการที่มีอาการได้ 55 ถึง 70% และสองเข็มจะลดได้ 85 ถึง 90%

ฉีดหนึ่งเข็มและเกิดติดเชื้อจะลดโอกาสที่ต้องเข้าโรงพยาบาลได้ 75 ถึง 85% และฉีดสองเข็มจะลดได้ 90 ถึง 95%

ในส่วนของการป้องกันการเสียชีวิตฉีดหนึ่งเข็มจะลดได้ 75 ถึง 80% ฉีดสองเข็มจะลดได้ 95 ถึง 99%

สำหรับวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า เมื่อฉีดหนึ่งเข็ม ลดการติดเชื้อได้ 60-70% แต่ถ้าติดจะลดการเกิดอาการได้ 55 ถึง 70% ลดการเข้าโรงพยาบาลได้ 75 ถึง 80% และลดอัตราเสียชีวิตได้ 75 ถึง 80% และลดการแพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้ 35 ถึง 50% ส่วนข้อมูลของสองเข็มนั้นยังไม่ชัดเจนนัก

อย่างไรก็ตาม คนติดเชื้อไวรัสเดลตา หรือสายอินเดีย หลังจากได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มยังมีการติดเชื้อได้หลากหลายโดยรายงานต่อเนื่องจะประมาณ 6% แต่ในจำนวนที่ติดเชื้อแล้วมีอาการหนักต้องเข้าโรงพยาบาลคือ 11%

ผู้ป่วยที่เสียชีวิต จากการติดไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ทั้งหมด 42 ราย ในอังกฤษที่ใช้วัคซีนไฟเซอร์และแอสตร้า มีถึง 12 ราย หรือ 28.5% เป็นผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ถ้ารวมอีก 7 ราย ที่ได้วัคซีน 1 เข็ม ตัวเลขของผู้ป่วยเสียชีวิตที่ได้วัคซีนครบ 1 เข็ม สูงถึง 45.2%

ตัวเลขดังกล่าวนี้ จะผันแปรตามปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นตัวเชื้อไวรัสเองที่แม้ว่าจะเป็นตัวเดลต้า

แต่ส่วนของไวรัสที่กำหนดความรุนแรงจะมีอยู่หลายส่วนของไวรัสด้วยกัน ดังนั้นการประเมินสถานการณ์จำเป็นต้องพิจารณาทั้งความเสี่ยงที่ทำให้ติดง่ายขึ้น แพร่ง่ายขึ้นและความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการหนักรุนแรงจนถึงเสียชีวิต ซึ่งทั้งสองส่วนต้องพิจารณาควบคู่กันเสมอ และตัวเลขที่ปรากฏจะต้องไม่ถือเป็นตัวเลขตายตัว และต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ทำให้ติดง่ายและเสียชีวิตง่าย ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของชุมชน การรักษาวินัยระยะห่าง รวมกระทั่งถึงปัจจัยส่วนบุคคล ที่กำหนดการตอบสนองต่อการติดเชื้อได้ดีเพียงใดรวมถึงอายุและภาวะโรคประจำตัวที่มีอยู่ การวินิจฉัยได้เร็วเพียงใดและเริ่มการรักษาได้เร็วเพียงใด

วางแผนทางการเงินเมื่อป่วยโควิด สนใจทำประวัติโควิด-19 กับ Tadoo คลิกที่นี่

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button