งานวิจัยชิลี เผย ซิโนแวค ประสิทธิภาพน้อยกว่า ไฟเซอร์
งานวิจัยที่จัดทำขึ้นในประเทศ ชิลี เปิดเผยว่า ซิโนแวค หรือ วัคซีนประสิทธิภาพประเภทเชื้อตายมีประสิทธิภาพน้อยกว่า ไฟเซอร์
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 64 สำนักข่าว บลูมเบิร์ก รายงานผลวิจัยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนประเภทเชื้อตายและวัคซีนชนิด mRNA ในการใช้ประชาชนชาวชิลี 10 ล้านคนในการรับมือกับ ระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 1 พฤษภาคม 2564
โดยผลการทดลองพบว่า วัคซีนของซิโนแวค มีประสิทธิภาพ 66% ในการป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ในขณะที่วัคซีนของ ไฟเซอร์-ไบโอเอนเทคมีประสิทธิภาพถึง 93% ขณะเดียวกันวัคซีนจากทั้งสองค่ายสามารถป้องกันอาการป่วยที่รุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ โดยซิโนแวค ซึ่งฉีดให้กับชาวชิลีไปแล้วกว่า 10 ล้านคน มีประสิทธิภาพน้อยกว่าไฟเซอร์เล็กน้อย
ซึ่งในช่วงเวลาที่เริ่มทำการศึกษานั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ โควิดสายพันธุ์อัลฟา ซึ่งพบครั้งแรกในอังกฤษ และสายพันธุ์แกมมา ซึ่งพบครั้งแรกในบราซิล กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในชิลี และนับเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนสองชนิดในสถานการณ์เดียวกันเป็นครั้งแรกของโลก
นอกจากนี้คณะผู้วิจัยไม่สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพแยกรายสายพันธุ์ได้ และไม่มีข้อมูลสำหรับสายพันธุ์กลายพันธุ์อื่น เช่น เดลตา หรือ เชื้อสายอินเดียที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักทั่วโลก
ขณะนี้ประเทศชิลีมียอดผู้ป่วยสะสมมากกว่า 1.5 ล้านราย และหากอ้างอิงจากข้อมูลจนถึงวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขชิลีได้ฉีดวัคซีนซิโนแวคให้ประชาชนไปแล้วเกือบ 14 ล้านโดส โดยมีประชาชน 6.36 ล้านคนได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ขณะที่มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่ประชาชนแล้ว 2.4 ล้านโดส โดยประชากรวัย 16 ปีขึ้นไปมีสิทธิเข้ารับวัคซีนได้
- ‘หมอมานพ’ โต้ ซิโนแวค เข็มสาม ภูมิต้านทานใกล้ไฟเซอร์ ไม่เป็นความจริง
- โควิด-19 9 ก.ค. 64 ยอดป่วยทั่วโลก 186 ล้านราย
- สมาคมโรคติดเชื้อ ร่อน จม. ถึงนายก ลดซื้อซิโนแวค หวั่นสู้โควิดกลายพันธุ์ไม่ได้
- โควิดไทยวันนี้ ทุบสถิติต่อเนื่อง ติดเชื้อเพิ่ม 9,276 ราย ดับ 72 ศพ