หมอยง อธิบาย โควิดสายพันธุ์อังกฤษ อันตรายอย่างไร
หมอยง ได้ออกมาแถลงอธิบายเกี่ยวกับอันตรายของ โควิดสายพันธุ์อังกฤษ เผยแพร่เชื้อได้เร็วขึ้น และแสดงอาการน้อยลง
หมอยง หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาอธิบายถึง โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ หลังจากที่มีการเปิดเผยว่า ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้จากผู้ติดเชื้อที่ท่องสถานบันเทิงทองหล่อ พบมีรหัสพันธุกรรมสายพันธุ์อังกฤษ
โดยหมยองระบุว่า สำหรับความน่ากลัวของโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ คือ แพร่กระจายได้เร็วมาก จึงไม่แปลกว่าเหตุใดสถานบันเทิงจึงมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว 10 เท่า และการติดเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการน้อย แต่ไวรัสในลำคอจะมีปริมาณมาก หากผู้ติดเชื้อเดินทางไปได้ไกล หรือเดินทางไปหาผู้สูงวัย
ความรุนแรงของโรค โอกาสเกิดปอดบวมสูง โอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ในปีนี้จึงมีความน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะการเคลื่อนย้ายของประชาชนเป็นเหตุทำให้การแพร่กระจายของโรคไปได้ไกล และช่วงสงกรานต์ปีนี้ไม่สามารถปิดกั้นคนได้แล้ว ถ้าเป็นไปได้ใครที่ไม่มีความจำเป็นขอให้เดินทางน้อยที่สุด แต่หากมีความจำเป็นต้องเดินทางจะต้องมีมาตรการอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่เริ่มออกจากบ้าน มีระเบียบวินัย ถ้าทุกคนช่วยกันก็จะสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับอุบัติการณ์ที่สัมพันธ์กับวัคซีนโควิด เมื่อเปรียบเทียบแล้ว อยู่ที่ 1 ราย ต่อการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 1 แสนโดส – 1 ล้านโดส นั่นคือ วัคซีนที่ฉีดไป 1 แสน – 1 ล้านโดส มีโอกาสที่จะเกิดเกี่ยวข้องกับโรคนี้ 1 คน และส่วนใหญ่แล้วโรคนี้เป็นในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 55 ปี ที่สำคัญคือเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือคนที่กินยาคุมกำเนิด และจะเกิดในผู้ชายน้อยมากๆ ถึงแม้จะมีความเสี่ยงแต่ประโยชน์มีมากกว่า ดังนั้นขอให้ทุกคนสบายใจเรื่องอาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีน
ถ้าคนไทยฉีดวัคซีนทั้งประเทศวันละ 1 หมื่นโดส จะใช้เวลา 30 ปี ในการสร้างความคุ้มกันแบบกลุ่มเกิดขึ้น ดังนั้น หากเราเปลี่ยนมาฉีดวัคซีน 1 แสนโดสต่อวัน จะใช้เวลาประมาณ 3 ปี เพื่อเกิดภูมิคุ้มกันกลุ่ม แต่หากฉีดได้วันละ 3 แสนโดสต่อวัน เราจะใช้เวลาเพียง 1 ปี เพื่อยุติโรคร้ายได้ จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด
หมอยง กล่าวต่อว่า สถานการณ์ในตอนนี้ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มักเกิดกับคนอายุน้อย ซึ่งจะแสดงอาการน้อย จึงเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าใครป่วยหรือไม่ป่วย การฉีดวัคซีนเป็นการลดอาการของโรคให้น้อยลง ป้องกันการนอนโรงพยาบาล ป้องกันการตายได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ป้องกันการติดเชื้อไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แม้จะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ยังมีโอกาสติดเชื้อแต่อาการจะน้อยลง
จากการศึกษาพบว่า เมื่อฉีดวัคซีนซิโนแวคไปแล้ว 1 เข็ม ก่อนการฉีดเข็มที่ 2 ประมาณ 3 สัปดาห์ พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนมีภูมิต้านทานวัดได้แล้ว และเชื่อว่าหลังจากฉีดครบ 2 เข็ม จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น และจะป้องกันได้ดีคือ หลังได้รับเข็มที่ 2 ไปแล้ว 14 วัน
- ศูนย์ไวรัส จุฬาฯ ชี้ โควิด ‘คลัสเตอร์ทองหล่อ’ เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ระบาดเร็วขึ้น 1.7 เท่า!
- เพจดังแฉกลุ่มดาราไล่ลบรูป หลังพบผู้ติดเชื้อโควิดในงานปาร์ตี้ที่ภูเก็ต
- โควิดไทย 7/4/64 พบผู้ป่วยเพิ่ม 334 ราย
- ‘ศักดิ์สยาม’ หยุด ฉีดวัคซีน หลังป่วยเป็นโควิด