iLaw คือใคร ผู้ล่ารายชื่อแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
ทำความรู้จัก iLaw องค์กรสิทธิมนุษยชน ที่มีส่วนสำคัญในการล่ารายชื่อและผลักดันให้เกิดการแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
iLaw มีบทบาททางการเมืองไทยอย่างมากในปัจจุบัน หลังเป็นผู้รวบรวมรายชื่อและผลักดันให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยการยื่นเรื่องให้สภาพิจารณา
iLaw มีชื่อเต็มว่า “โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน” เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งทำงานกับภาคประชาสังคมและคนทั่วไปในสังคม มุ่งยึดหลักการประชาธิปไตย, เสรีภาพในการแสดงออก สิทธิพลเมือง, สิทธิทางการเมือง และระบบยุติธรรมไทยที่เป็นธรรมและตรวจสอบได้
โดยเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของประชาชน รณรงค์เพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ติดตาม และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจับกุมคุมขังและการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงออก
องค์กรนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2552 ผ่านการจัดทำเว็บไซต์ http://ilaw.or.th เพื่อรวบรวมรายชื่อและการสนับสนุนจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในการผลักดันเสนอกฎหมายที่มีจุดเริ่มต้นมาจากประชาชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม
ในเวลาต่อมา iLaw พัฒนาตัวเองขึ้นเป็นองค์กรที่ทำงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้อ่านทางหน้าเว็บไซต์ และโซเชียลมีเดีย
แหล่งทุนของ iLaw ในปัจจุบัน:
- เงินสนับสนุนเป็นรายครั้งจากบริษัท Google และผู้สนับสนุนอิสระ
คณะกรรมการของ iLaw:
- กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เครือข่าย FTA Watch
- จอน อึ๊งภากรณ์ (ผู้อำนวยการโครงการ)
- จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
- ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เพ็ญวดี แสงจันทร์ มูลนิธิดวงประทีป
- ไพโรจน์ พลเพชร คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
ทีมงานของ iLaw:
- จอน อึ๊งภากรณ์ – ผู้อำนวยการ
- ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ – ผู้จัดการโครงการ
- อานนท์ ชวาลาวัณย์ – หัวหน้าศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ
- ชันษา สุพรรณเมือง – ผู้จัดการสำนักงาน
อ้างอิงข้อมูลจาก : ilaw.or.th/about