ข่าว

มีหวัง ไทยกำลังพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ต้นแบบเพื่อทดสอบในสัตว์ทดลอง

ไทย เร่งสร้างการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรค COVID-19

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข รายงาน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เร่งสร้างการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้ประเทศไทย ทั้งการพัฒนาวัคซีนต้นแบบในประเทศ โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างพัฒนาวัคซีนต้นแบบเพื่อทดสอบในสัตว์ทดลอง และอยู่ระหว่างการเจรจาสร้างความร่วมมือในการวิจัยวัคซีนกับจีน

วันนี้ (19 เมษายน 2563) ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางสร้างการเข้าถึงวัคซีนให้กับประเทศไทยให้เร็วที่สุด โดยการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในการศึกษาวิจัยวัคซีนมาทดสอบในประเทศไทย ได้ประสานกับสถานทูตจีนติดตามความก้าวหน้าการทำข้อตกลงความร่วมมือกับประเทศจีนร่วมศึกษาวิจัยทดสอบวัคซีนในคนระยะที่ 2 ขณะเดียวกัน ในประเทศได้มีความร่วมมือพัฒนาวัคซีนต้นแบบระหว่างหน่วยงาน ได้แก่ การวิจัยของคณะแพทยศาสตร์จุฬา กับบริษัทไบโอเนท-เอเชีย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ อยู่ระหว่างการทดลองในสัตว์ก่อนเข้าสู่การทดสอบในคน นำไปสู่การผลิตวัคซีนได้เองภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้เร็วขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการรับมือโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในอนาคตได้อีกด้วย

ดร.สุภาพร ภูมิอมร ผู้อำนวยการสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ระหว่างการตรวจระดับภูมิคุ้มกันในเลือดของสัตว์ทดลองที่ได้รับการฉีดวัคซีนต้นแบบ 2 ครั้ง ในการการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์จุฬา กับบริษัทไบโอเนท-เอเชีย ส่วนการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างการเพิ่มจำนวนไวรัส เพื่อนำไปฆ่าเชื้อเป็นวัคซีนเชื้อตาย นำไปฉีดในสัตว์ทดลอง

โควิด-19 20 เมษายน ไทยติดเชื้อ 27 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเป็นวันที่ 3 | News by The Thaiger

ทั้งนี้ การพัฒนาวัคซีนหลังจากการทดสอบในสัตว์ทดลอง จะทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนในคนอีก 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ทดสอบความปลอดภัยในคน 30-50 คน ระยะที่ 2 การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน กลุ่มเล็ก 100 – 150 คน และระยะที่ 3 ให้ผลในการป้องกันโรคในกลุ่มใหญ่ 500 คนขึ้นไป

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button