ข่าว

สำรวจเว็บไซต์ ศูนย์ต้านข่าวปลอม บิ๊กตู่เตรียมเปิดทางการ 1 พ.ย. นี้

สำรวจเว็บไซต์ ศูนย์ต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) บิ๊กตู่เตรียมเปิดทางการ 1 พ.ย. นี้

ข่าวปลอม – ในยุคสมัยที่อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนอย่างเหนียวแน่น ข้อมูลข่าวสารจำนวนมหาศาลหลั่งไหลอยู่ในโลกดิจิตอล รูปแบบของการสื่อสารรวดเร็วยิ่งขึ้นและเปิดโอกาสให้เราเป็นได้ทั้งผู้รับสาร และส่งสาร มีสื่อในมือเป็นของตนเอง ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้ที่มาจากหลายส่วนหลายฝ่ายย่อมมีทั้งจริงและเท็จปะปนกัน ปัญหาหนึ่งคือขาดตัวกลางในการกลั่นกรองข้อมูลเหล่านั้น

ทางรัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และปัญหาที่จะเกิดขึ้นหากข่าวปลอมเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือสังคมในวงกว้าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จึงได้ดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เพื่อพิสูจน์และตรวจสอบ ก่อนชี้แจงต่อประชาชนว่าข่าวไหนเป็นข่าวจริงหรือปลอม โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี จะเดินทางมาเปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 1 พ.ย. นี้

Advertisements

ทีมงาน The Thaiger ได้ตรวจสอบ พบว่าทางโครงการมีช่องทางสื่อสารข่าวกับประชาชน 2 ส่วนคือผ่านโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Facebook แฟนเพจ Anti-Fake News Center และเว็บไซต์ antifakenewscenter.com

เมื่อเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ ผู้ใช้สามารถเสิร์ชข้อความหาข่าวที่ต้องการตรวจสอบได้ว่าเป็นข่าวจริงหรือไม่ และทางเว็บได้แบ่งหมวดของข่าว ออกเป็น หมวด ประกอบด้วยการเงิน-หุ้น ข่าวอื่นๆ ความสงบและความมั่นคง นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภัยพิบัติ และ ยาเสพติด

มาตรการของการตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมนี้ ดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ

รระยะสั้น เน้นสื่อสาร ตอบโต้ข่าวปลอมได้ทันท่วงที และเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับประชาชนใช้ในการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงได้

Advertisements

มาตรการระยะยาว
1.มุ่งเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยแก่ประชาชน และสังคม

2.กำหนดความรับผิดชอบกับผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์และสื่อมวลชน มีการยืนยันตัวตนของแหล่งข่าว ใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วมาบังคับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

3.สนับสนุนให้มีองค์กรกลางทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง สร้างเครื่องมือในการวัดความน่าเชื่อถือและสนับสนุนเงินทุนเพื่อเป็นรางวัลแก่สื่อที่มีจริยธรรม

4.สนับสนุนการวิจัยและเทคโนโลยี ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการจัดการกับปัญหาการสร้างข่าวปลอมที่เป็น ขบวนการ (Deep Fakes) ที่มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือการเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning) สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้มากขึ้น

อ้างอิงจาก : facebook.com/realnewsthailand

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button