ท่องเที่ยว

ลงทะเบียนชิมช้อปใช้ เฟส 2 เต็มแล้ว รอลุ้นเปิดชิมช้อปใช้เฟส 3

ลงทะเบียนชิมช้อปใช้ เฟส 2 เต็มแล้ว รอลุ้นเปิดชิมช้อปใช้เฟส 3

ชิมช้อปใช้ – ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์การลงทะเบียน “ชิมช้อปใช้ เฟส 2” โควต้า 3 ล้านคน แจกเงินเที่ยว 1,000 บาท เพื่อใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ที่พัก เดินทาง ใช้สอยในจังหวัดที่ลงทะเบียน นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิคืนเงินสูงสุด 20% หากใช้เงินผ่าน G-Wallet ที่ 2 โดยวันที่ 31 ตุลาคม เว็บไซต์ ชิมช้อปใช้.com ขึ้นข้อความว่า “ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนสิทธิมาตรการฯ ชิมช้อปใช้ ครบตามจํานวนที่กําหนดแล้ว ขอบพระคุณอย่างยิ่งที่ท่านสนใจในการเข้าร่วมมาตรการฯ”

สำหรับผู้ได้รับสิทธิโครงการชิมช้อปใช้ทั้ง 2 เฟส 13 ล้านคน สามารถใช้เงินได้ถึง 31 ธ.ค.2562 นี้ ซึ่งทางรัฐบาลจะมีการประเมิณผลโครงการเฟส 1 และ 2 จากนี้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งมีข่าวดีมาจากนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่ามีแผนจะเปิดชิมช้อปใช้เฟส 3 แต่ยังไม่สรุปรูปแบบว่าจะมีการแจกเงิน 1,000 บาทเช่นเดิมหรือไม่

Advertisements

โดยก่อนหน้านี้ นายอุตตม สาวนายน ได้กล่าวถึงผลของโครงการชิมช้อปใช้ไว้ว่า “ชิมช้อปใช้” ประโยชน์เกิดขึ้นกับคนไทยทั้งประเทศไม่ใช่แค่ 13 ล้านคน

ประโยชน์จากมาตรการระยสั้นนี้ มีจุดประสงค์ คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี ผ่านการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ของชุมชนจังหวัดต่างๆ ด้วยการท่องเที่ยว การซื้อสินค้าและบริการ ผ่านผู้ได้รับสิทธิ์จำนวน 13 ล้านคน จากคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เม็ดเงินที่อัดฉีดลงไปจำนวน 1.3 หมื่นล้านบาท จะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินประมาณ 5-6 เท่าในระบบเศรษฐกิจ ผ่านร้านค้า ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน โฮมสเตย์ จำนวนกว่า 1.7 แสนราย ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่ คาดว่าจะมีเม็ดเงินหมุนลงสู่ระบบเศรษฐกิจฐานราก 2-3 หมื่นล้านบาท

ภาพของการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบ เริ่มต้นจาก ผู้มีสิทธิ์ 13 ล้านคน ใช้สิทธิ์ในร้านค้าประเภท “ชิมช้อปใช้” ซึ่งก็คือ ร้านอาหาร OTOP ร้านค้าชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการายย่อย ที่พัก โฮมสเตย์ รวมทั้งสิทธิ์จาก Cash back 15-20% ในกระเป๋า 2

เม็ดเงินนี้จะพุ่งเป้าตรงไปสู่ชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจของเศรษฐกิจฐานราก ผ่านภาคแรงงาน ภาคบริการ ภาคการผลิต ซึ่งได้แก่ ชาวบ้าน เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ที่จะจับจ่ายใช้สอยในครัวเรือนผ่าน สินค้าอุปโภค บริโภค ไปสู่ภาคการผลิต ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เม็ดเงินจากโรงงานจะกระจายไปยัง แรงงานและครอบครัว ก่อนที่จะหมุนกลับไปที่ ร้านค้า ร้านอาหารในชุมชนอีกครั้ง เป็นเช่นนี้ประมาณ 5-6 รอบการหมุนเวียน หรือมากกว่านั้น

ก่อนที่เม็ดเงินจากระบบการหมุนเวียนจะกลับมายังภาครัฐผ่านระบบภาษี ซึ่งถือเป็นงบประมาณส่วนหนึ่งของรัฐ ที่จะใช้ในการกำหนดนโยบายและโครงการเพื่อการพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

Advertisements

ดังนั้น มาตรการ “ชิมช้อปใช้” จึงไม่ใช่การแจกเงินเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์จำนวนเพียงแค่ 13 ล้านคนได้รับประโยชน์เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงการเชื่อมโยงภาคเศรษฐกิจฐานรากทั้งประเทศ ร่วมกับโครงการต่างๆของรัฐบาลต่อจากนี้ที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึงในทุกกลุ่มและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศ ด้วยการใช้จ่ายเงินงบประมาณทุกบาทอย่างคุ้มค่าที่สุด

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button