ล้มเหลวทางการศึกษา! เด็กนักเรียนโดนกล้อนผมหัวแหว่ง ระเบียบวินัยสร้างได้จากความกลัว?
ล้มเหลวทางการศึกษา! เปิดเทอมวันแรก เด็กโดนกล้อนผมหัวแหว่ง ระเบียบวินัยสร้างได้จากความกลัว?
วันที่ 18 พ.ค. เกิดกระแสและการตั้งคำถามต่อการศึกษาไทยอีกครั้งเมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์รูปภาพเด็กชาย 2 คนซึ่งศีรษะมีสภาพโดนแบตตาเลียนไถเกรียนกลางหัว พร้อมข้อความประกอบว่า
“เปิดเทอมวันแรก
สมแล้ว ที่การศึกษาไทย อยู่รั้งท้ายอาเซียน
น่าจะเป็นประเทศเดียวในโลก ทีการแต่งตัว ไว้ผม นักเรียน หนักหัวคู — ที่ New York“
ทั้งนี้เมื่อเปิดระเบียบว่าด้วยเรื่องทรงผมพบว่า
“เปิดช่องให้นักเรียนชายไว้ทรงผมรองทรงได้ โดยระบุว่า ให้ “นักเรียนชายให้ไว้ผมด้านข้างและด้านหลังยาวไม่เลยตีนผมหรือผมรองทรงก็ได้“ และให้นักเรียนหญิงสามารถเลือกไว้ทรงผมสั้นหรือยาวได้ โดยระบุว่า “นักเรียนหญิงให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ยาวก็ให้รวบให้เรียบร้อย และได้ตัดคำว่าห้ามนักเรียนซอยผมออก” (อ้างอิงจาก : ทรงผมนักเรียน moe.go.th)
“นักเรียนชายไว้ผมยาว โดยไว้ผมข้างหน้าและกลางศีรษะยาวเกิน 5 เซนติเมตร และชายผมรอบศีรษะไม่ตัดเกรียนชิดผิวหนัง หรือไว้หนวดเครา” (อ้างอิง กฎระเบียบการไว้ทรงผมของกระทรวงศึกษาธิการ 2556)
โดยกฎกระทรวงดังกล่าวมีการร่างปรับปรุงขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 แล้ว เท่ากับว่าทรงผมนักเรียนได้ปรุงพัฒนามากว่า 6 ปีแล้ว คำถามต่อมาคือ ทัศนคติของคุณครูได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงตามบ้างหรือยัง
การลงโทษด้วยการกล้อนผมนักเรียนเข้าใจว่าเป็นดุลยพินิจของครูว่านักเรียนนั้นทำผิดกฎระเบียบเรื่องทรงผม แต่เมื่อตรวจสอบกับ “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. 2548” ระบุวิธีการลงโทษว่า
ข้อ 5 โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระท าผิดมี 4 สถาน ดังนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือน
(2) ทำทัณฑ์บน
(3) ตัดคะแนนประพฤติ
(4) ท ากิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ข้อ 6. ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้งหรือลงโทษด้วยความโกรธ
หรือด้วยความพยาบาท โดยคำนึงถึงอายุนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการ
ลงโทษด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียน
หรือนักศึกษาให้รู้ส านึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไปให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา
หรือ ผู้ที่บริหารโรงเรียน หรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอ านาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
ไม่มีข้อใดที่ให้อำนาจของคุณครูละเมิดเหนือสิทธิร่างกายของนักเรียน และโดยเฉพาะวรรคแรกของข้อ 6 “ด้วยวิธีรุนแรง” การกล้อนผมแม้ไม่ได้ส่งผลรุนแรง เกิดความเจ็บปวดร่างกาย แต่ก็สามารถสร้างความอับอายให้แก่เด็กผู้ถูกกระทำต่อสายตาผู้คนรอบข้างที่มองมาในสภาพผมถูกกล้อน อันจะทำให้เกิดบาดแผลทางด้านจิตใจแก่นักเรียนได้
“ความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของนักเรียน” มักถูกมองข้ามเสมอมาด้วยการครอบทับด้วย “กฎระเบียบ” ที่เถรตรงแต่ไร้ซึ่งเหตุผลที่ดีพอรองรับ ครูลงโทษนักเรียนที่ผิดกฎด้วยการละเมิดกฎ? แล้วเด็กจะหาตัวอย่างของการเคารพกฎระเบียบได้จากที่ไหน เพราะสุดท้ายแล้วดูเหมือนว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการลุแก่อำนาจ ใช้อำเภอใจของผู้ถืออำนาจเป็นที่ตั้ง
ระเบียบวินัยที่เกิดจากความหวาดกลัว กดทับด้วยความรุนแรง สามารถสร้างพลเมืองที่ดีของชาติได้จริงหรือ
เราลืมมองหรือเปล่าว่านักเรียนคือมนุษย์คนหนึ่ง มีชีวิตจิตใจและมีสมองไตร่ตรองวิเคราะห์ สามารถใช้ความคิดอย่างมีเหตุและผลได้
แต่ทำไมเด็กไทยถึงอ่อนเรื่องเหตุและผลการคิดวิเคราะห์
ครู ผู้เป็นแม่พิมพ์ ได้เปิดโอกาสหรือสั่งสอนเขาได้เป็นเช่นนั้นหรือเปล่า
อย่างคำที่เขาเปรียบว่าครูเป็นแม่พิมพ์ แม่พิมพ์เป็นอย่างไร ผลผลิตที่ออกมาย่อมได้อย่างนั้น
เราควรตั้งคำถามอย่างจริงจังได้แล้วยังกับระบบการศึกษาไทยที่เคร่งครัดระเบียบอันดับต้น ๆ แต่วินัยยังหย่อนยานสู้ญี่ปุ่นไม่ได้
ซ้ำด้านวิชาการก็รั้งท้ายอาเซี่ยน
เราจะเอาดีสักด้านไม่ได้เลยจริงหรือ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2245227008930568&set=a.113346208785336&type=3&permPage=1
#บทวิจารณ์การศึกษา #ข่าวการศึกษาไทย #นักเรียนชายตัดผม #กล้อนผมนักเรียนหัวแหว่ง #ครูตัดผมนักเรียน #ระเบียบทรงผมนักเรียน #เครื่องแบบนักเรียน #ครู