ข่าวธุรกิจ

สงครามการค้าในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อตลาดเอเชียอย่างไร และสิ่งที่เทรดเดอร์ควรคาดหวังมีอะไรบ้าง

มาตรการภาษีของสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นและความขัดแย้งทางการค้าที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องนี้จะพลิกโฉมกลยุทธ์และความผันผวนของตลาดในเอเชียอย่างไร

บทวิเคราะห์ตลาดโดย คุณกฤษดา อยู่ในศีล นักกลยุทธ์ตลาดการเงินของ Exness

ภัยคุกคามจากสงครามการค้าในอดีต กลายเป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ มีการออกกฎหมายภาษีศุลกากรสหรัฐฯ ส่งแรงกระเพื่อมไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยตลาดเอเชียถือเป็นศูนย์กลางของความวุ่นวายครั้งนี้ สำหรับเทรดเดอร์และนักลงทุนแล้ว การรับมือกับความผันผวนระลอกใหม่นี้จำเป็นต้องใช้ 3 สิ่ง ได้แก่ การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทันที วิธีการเชิงยุทธ์ศาสตร์ในการลดความเสี่ยง และประเด็นสุดท้าย คือการเปิดรับโอกาสที่อาจเป็นไปได้แม้ในสถานการณ์ไม่แน่นอน

สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ตลาดหุ้นเอเชียตอบสนองอย่างฉับไวต่อการจัดเก็บและการปรับขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ การประกาศล่าสุด เช่น การปรับขึ้นภาษีศุลกากรสองเท่าสำหรับเหล็กและอะลูมิเนียม ส่งผลให้ตลาดต่างๆ อย่างฮ่องกง โตเกียว ซิดนีย์ และสิงคโปร์ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกง และดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นต่างประสบกับภาวะดิ่งฮวบ โดยฮั่งเส็งลดลงกว่า 13% และ Nikkei ลดลง 7.8% โดยเฉพาะในวันที่มีความผันผวน ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนอธิบายสถานการณ์นี้ว่า “การนองเลือด”

นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ไม่ใช่เหตุการณ์เฉพาะจุด แต่สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะเกิดความผันผวนที่สูงขึ้นและความกังวลของนักลงทุนในวงกว้าง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2568 การดำเนินกิจกรรมในภาคโรงงานซบเซาเนื่องจากภาษีศุลกากรสหรัฐฯ และความต้องการในประเทศจีนที่ลดลงก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อบริษัทต่างๆ เป็นการแต้มจุดด่างพร้อยแก่ภาพลักษณ์ของภูมิภาคที่ขึ้นชื่อว่ามีการตลาดโตอย่างรวดเร็ว

หัวใจของปัญหาคือการที่เอเชียพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักโดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ศูนย์กลางการผลิตในประเทศต่างๆ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม กัมพูชา ไทย และจีนต่างเผชิญกับปัจจัยลบที่เป็นอุปสรรคในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาษีศุลกากรซึ่งมีตั้งแต่ 10% ถึงสูงสุด 54% (สำหรับประเทศจีน) สำหรับสินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงสิ่งทอและยานยนต์ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศเหล่านี้

แม้ว่าจะมีการยุติสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เป็นการชั่วคราว ซึ่งเห็นได้จากการที่สหรัฐฯ ยินยอมปรับลดภาษีศุลกากรจากการนำเข้าสินค้าจากจีนจากเดิม 145% เป็น 30% และจีนมีการปรับลดเป็นการแลกเปลี่ยน ทำให้สถานการณ์ผ่อนคลายและนำมาซึ่งการปรับขึ้นของราคาในตลาดเอเชีย ชี้ให้เห็นถึงความอ่อนไหวของตลาดเอเชียต่อการพัฒนาด้านการค้า อย่างไรก็ตาม ภาวะตึงเครียดดังกล่าวและการปรับขึ้นภาษีศุลกากรในยุคใหม่ที่เป็นไปในลักษณะ “ถาวร” ชี้ให้เห็นว่าภาวะผ่อนคลายดังกล่าวอาจจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจจีนถูกระบุว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดหุ้นเอเชีย

เผชิญหน้าความท้าทาย กลยุทธ์สำหรับเทรดเดอร์

ในภาวะที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนเช่นนี้ การรอรับมืออย่างเดียวไม่เพียงพอ เทรดเดอร์จำเป็นต้องวางกลยุทธ์ที่หลากหลาย โดยต้องมองให้ไกลกว่าแค่สินทรัพย์เดิมๆ และทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของสินทรัพย์ทางเลือกด้วย

การกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนในดัชนีและกลยุทธ์ที่มีมูลค่า

วิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่งในการจัดการความเสี่ยงและความผันผวนสูงก็คือการกระจายความเสี่ยง และดัชนีตลาดหุ้นก็ปูทางไว้ให้เราสามารถทำวิธีการนี้ได้สำเร็จ ดัชนีคือกลุ่มก้อนของหุ้นที่สามารถกระจายความเสี่ยงที่มีลักษณะเฉพาะของบริษัทต่าง ๆ

ดัชนีเอเชียหลัก ๆ ที่ควรจับตา ได้แก่

  • NIFTY 50 (อินเดีย): ครอบคลุม 50 บริษัทใหญ่ที่ จาก 14 ภาคส่วนในตลาดหุ้นของอินเดีย สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจอินเดีย
  • Nikkei 225 (ญี่ปุ่น): ดัชนีราคาหุ้นของ 225 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว โดยมีน้ำหนักมากในกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก เนื่องจากญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากภาษีนำเข้ารถยนต์ของสหรัฐฯ ทำให้ต้องติดตามดัชนีตัวนี้อย่างรอบคอบ
  • ดัชนีฮั่งเส็ง (ฮ่องกง): ติดตามบริษัทรายใหญ่ที่สุด 50 แห่งในตลาดหุ้นฮ่องกง ดัชนีตัวนี้มักถูกมองว่าเป็นเครื่องวัดความเชื่อมั่นต่อจีนและภูมิภาคเอเชียในวงกว้าง แสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวต่อข่าวการค้าอย่างมีนัยสำคัญ
  • ดัชนี Straits Times (สิงคโปร์): ประกอบด้วยบริษัทชั้นนำ 30 แห่งซึ่งจะเน้นบริษัทด้านการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และโทรคมนาคมเป็นหลัก
  • KOSPI (เกาหลีใต้): เศรษฐกิจเกาหลีใต้พึ่งพาการส่งออกเช่นเดียวกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์และเทคโนโลยี ทำให้ดัชนีหลักของประเทศเปราะบางต่อภาษีศุลกากร
  • ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต (จีน): ติดตามหุ้น A และ B ทั้งหมดในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ และเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาษีศุลกากรและมาตรการค้าปลีกของสหรัฐฯ

แม้ว่าดัชนีเอเชียหลักๆ เหล่านี้จะเป็นเส้นทางสายหลักในการกระจายความเสี่ยงแบบเดิมๆ แต่ความไม่มั่นคงของเศรษฐกิจมหภาค อย่างสงครามการค้าที่จำเป็นต้องมีการจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบ ก็อาจส่งผลกระทบต่ออินดิเคเตอร์ของตลาดที่สำคัญเหล่านี้ได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปรับตัวขึ้น 0.21% สู่ระดับ 3,387 จุด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สองในรอบสัปดาห์ ความเคลื่อนไหวที่ว่านี้เกิดขึ้นในขณะที่ความเชื่อมั่นของตลาดกลับมาเป็นบวกหลังจากที่ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ซึ่งเป็นมาตรการที่ต้องการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจและลดแรงกระแทกจากความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้า เหตุการณ์นี้จะบ่งบอกถึงความเคลื่อนไหวของราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์

ในสถานการณ์ที่ระบบการเงินและตลาดการเงินต้องประสบกับความผันผวนเช่นนี้ นักลงทุนมักมองช่องทางการลงทุนที่ไม่ใช่เพียงแค่สินทรัพย์แบบเดิมๆ การมองหาเครื่องมือทางการเงินทางเลือกที่มีมูลค่าหรือมีความเสี่ยงต่ำ ทำให้มองเห็นตัวเลือกลงทุนแบบกระจายศูนย์ เช่น คริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างและมีศักยภาพในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทั่วโลก

Bitcoin ลดความเสี่ยงแบบกระจายศูนย์

ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมหภาคไม่มีความแน่นอน นักลงทุนมักมองหาสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์เดิมๆ Bitcoit มีลักษณะแบบกระจายศูนย์ จึงมักมีการชักชวนกันให้ลงทุนเนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่อ่อนไหวน้อยต่อการเปลี่ยนแปลงของนโยบายโดยตรงของรัฐบาล เว้นแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้พุ่งเป้ามาที่คริปโตเคอร์เรนซีโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังมีอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้น

สงครามการค้าอาจนำไปสู่ความเสี่ยงหลายประการสำหรับ Bitcoin

ความผันผวนที่เพิ่มขึ้นและหันไปซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัยมากกว่า: หากสงครามการค้าเป็นชนวนให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก นักลงทุนอาจหนีจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงกว่า รวมถึง Bitcoin ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า อาทิ เงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น แทนที่จะทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ราคา Bitcoin อาจร่วงไปพร้อมกับอิควิตี้ อันที่จริงสงครามภาษีศุลกากรสหรัฐฯ ได้ก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดคริปโตมาอยู่แล้ว โดยราคา Bitcoin ลดลงมาก่อนที่จะดีดตัวกลับอีกครั้ง เริ่มแรกเมื่อสงครามการค้าเกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2568 ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ของ Bitcoin กับอิควิตี้เป็นไปในทางลบ แต่เมื่อความเชื่อมั่นในภาวะความเสี่ยงสูงมีมากขึ้น ความสัมพันธ์นี้ก็ดีดตัวขึ้นมา

การกลั่นกรองทางกฎหมาย: รัฐบาลที่เข้ามามีส่วนร่วมในความขัดแย้งทางการค้าอาจทำให้การควบคุมการไหลของเงินข้ามพรมแดนมีความรัดกุมมากขึ้น โดยมีความเป็นไปได้ที่จะพุ่งเป้าไปที่คริปโตเคอร์เรนซีเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรหรือเงินทุนไหลออก

ผลกระทบต่อการขุดเหมือง: สงครามการค้าอาจทำให้ห่วงโซ่อุปทานสำหรับฮาร์ดแวร์การขุดเหรียญที่จำเป็นหยุดชะงัก เช่น GPU และชิป ASIC ซึ่งส่วนใหญ่มักผลิตในต่างประเทศ ภาษีศุลกากรสำหรับชิ้นส่วนเหล่านี้อาจเพิ่มต้นทุนให้นักขุดเหมือง ทำให้กำไรลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบวกกับความผันผวนของราคา Bitcoin และความยากขในการขุดที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง มีรายงานว่านโยบายด้านการค้าสหรัฐฯ ล่าสุดทำให้ “ราคาแฮช” หรือรายได้จากการขุดต่อกำลังประมวลผล ลดฮวบเป็นประวัติการณ์ที่ 40 – 50 ดอลลาร์ต่อเพต้าแฮชต่อวินาที (PH/s) เนื่องจากการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของจีน รวมถึงฮาร์ดแวร์การขุดเหรียญด้วย

ถึงแม้จะมีความเสี่ยงอย่างที่กล่าวมาข้างต้น Bitcoin กลับแสดงให้เห็นความสามารถในการฟื้นตัว โดยสามารถทรงตัวหรือฟื้นตัวได้ ในขณะที่สินทรัพย์แบบเดิมๆ ยังมีสะดุดในช่วงภาวะชะงักจากนโยบายการค้า ความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนานของ Bitcoin กับอิควิตี้และทองคำมีความผันผวนขึ้นๆ ลงๆ บ่งชี้ว่า Bitcoin มีความเป็นอิสระระดับหนึ่ง

ในอดีต บิตคอยน์แสดงปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์สงครามการค้าอย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ในช่วงระยะแรกๆ ของความตึงเครียดด้านภาษีศุลกากรระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ราคา Bitcoin ลดฮวบกว่า 13% สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในอิควิตี้ในช่วงที่ตลาดมีความเสี่ยงสูง ล่าสุด การผ่อนคลายความตึงเครียดทางการค้า เช่น การพักภาษีศุลกากรระหว่างสหรัฐฯ-จีนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2568 ตรงกับช่วงเดียวกับที่ Bitcoin มีการปรับขึ้นราคาเกิน 105,000 ดอลลาร์ ในขณะที่อิควิตี้ก็ปรับขึ้นด้วยเช่นกัน ชี้ให้เห็นว่าช่วงเวลาที่ Bitcoin มีการเคลื่อนไหวพร้อมกับหุ้นแต่ยังสามารถแยกตัวออกมาตามปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคได้

สิ่งสำคัญที่ทำให้ยืนยันได้ว่า Bitcoin เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยนั้น เป็นเพราะ Bitcoin สามารถรักษาความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับอิควิตี้ไว้ได้โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยนโยบายกีดกันทางการค้าและความไม่แน่นอน ในระยะสั้น ภาษีศุลกากรสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และความผันผวนใน Bitcoin ที่สูงขึ้น ส่วนในระยะยาว บทบาทของ Bitcoin ในฐานะสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำอาจแข็งค่าขึ้น หากนโยบายภาษีศุลกากรนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อยาวนาน

น้ำมัน ตัวขับเคลื่อนทางเลือก

ตลาดน้ำมันได้รับผลกระทบอย่างมากจากสงครามการค้าในรูปแบบที่ซับซ้อนเช่นเดียวกัน ความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ กับจีน (ผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก) อาจทำให้ตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกลดลง นำไปสู่ความต้องการน้ำมันที่ลดลงและราคาที่ต่ำลง

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ได้ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกประจำปี 2568 โดยอ้างอิงจากผลกระทบของภาษีจากสหรัฐฯ และมาตรการตอบโต้จากประเทศคู่ค้า โดยคาดการณ์การเติบโตช้าที่สุดในรอบห้าปี ราคาน้ำมันดิบร่วงลงก่อนหน้านี้อย่างมีนัยสำคัญหลังจากจีนประกาศเก็บภาษีตอบโต้ ด้วยกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนอาจกระตุ้นให้เกิดการร่วงลงของราคาน้ำมันทั่วโลก

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นขอเรียนชี้แจงว่า ขณะนี้ IEA คาดการณ์ตัวเลขความต้องการน้ำมันทั่วโลกประจำปีเพิ่มขึ้นเพียง 730,000 บาร์เรลต่อวันสำหรับปี 2568 ปรับลดลง 300,000 บาร์เรลต่อวันจากการประเมินก่อนหน้านี้อันเนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าที่มากขึ้น ฟิวเจอร์สน้ำมันดิบเบรนท์ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 64 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อต้นเดือนเมษายน 2568 ลดลง 12% นับตั้งต้นปีจนถึงปัจจุบันและอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบสี่ปี

หากประธานาธิบดีทรัมป์กลับมาเดินหน้าผลิตน้ำมันในประเทศตามคำมั่น กลุ่มเทรดเดอร์บางส่วนอาจมองเห็นโอกาสจากซัพพลายล้นตลาด ซึ่งจะกดดันราคาน้ำมันให้ลดลงต่อไป

อย่างไรก็ตาม IEA กล่าวว่า แม้ว่าจะมีการเรียกร้องเชิญชวนด้วยสโลแกน “drill baby drill” แต่กิจกรรมในภาคน้ำมันของสหรัฐฯ อาจลดลงอันเนื่องจากผลกระทบจากภาษีศุลกากรและราคาที่ต่ำลง บทวิเคราะห์สำหรับตลาดน้ำมันปี 2568 มีการนำเสนอในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกัน ด้วยมีความไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายของสหรัฐฯ ที่อาจมีขึ้นรวมถึงผลกระทบจากความไม่แน่นอนดังกล่าวทั้งต่ออุปสงค์และอุปทาน

คาดว่าความวุ่นวายจะดำเนินต่อไป

สงครามการค้าที่กำลังเกิดขึ้นเป็นสัญญาณบอกถึงช่วงเวลาของความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อสำหรับตลาดหุ้นเอเชีย แม้การเจรจาอาจทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้ชั่วคราว แต่ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างและท่าทีที่เน้นกีดกันทางการค้าชี้ว่า ความผันผวนจะยังไม่จบลงง่ายๆ ประเทศเศรษฐกิจในเอเชียซึ่งมีการพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ยังคงมีความเปราะบางโดยเฉพาะต่อการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และภาษีศุลกากรเหล่านี้อาจนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นวงกว้าง

เทรดเดอร์จะต้องมีความยืดหยุ่น ติดตามข้อมูลข่าวสาร และวางกลยุทธ์ให้หลากหลาย แม้การเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยแบบเดิมจะยังใช้ได้อยู่ แต่การพิจารณาทางเลือกใหม่ เช่น ฺBitcoin หรือสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ก็อาจเป็นแนวทางที่ช่วยฝ่าคลื่นเศรษฐกิจยุคสงครามการค้านี้ไปได้ หากเข้าใจความเสี่ยงและโอกาสของสินทรัพย์เหล่านี้อย่างแท้จริง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx