ข่าว

แห่แชร์ “แปลนอาคารสตง.” ที่เพิ่งถล่ม 30 ชั้น พร้อมไฟล์ตัวเต็ม ชี้เพื่อกรณีศึกษา

แบบก่อสร้างอาคารสตง โซเชียลแห่แจก แปลนอาคารก่อสร้างสำนักงานสตง. ที่ถล่มจากเหตุแผ่นไหว เพจดังชี้ช่องโหลดได้ในไดร์ฟ ย้ำเพื่อเป็นกรณีศึกษา โศกนาฏกรรมตึกโครงการก่อสร้างความร่วมมือรัฐบาลไทยจีน อัปเดตยอดผู้สูญหายตอนนี้ 78 ชีวิต

สืบเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวเมียนมา “ขนาด 8.2” ทำให้โครงสร้างอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างกว่า 30 ชั้น พังถล่มลงมาทั้งหมด ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก Sketchup & Civil Engineer โพสต์เปิดเผยแบบแปลนของอาคารสำนักงาน สตง. โดยเป็นไฟล์เอกสารกว่า 50 ชุด ดูเอกสารทั้งหมดได้ที่ ซึ่งมีตั้งแต่ แบบแปลนในส่วนต่างๆ ของใช้ภายในอาคาร เช่น เก้าอี้ ผ้าม่าน ที่กั้นระหว่างโต๊ะทำงาน ตู้เก็บเอกสาร

  • แบบงานภูมิสถาปัตยกรรม, แบบงานระบบขนส่งภายในอาคาร (ลิฟต์), โครงสร้างงานออกแบบและติดตั้งระบบโสตทัศนูปกรณ์, แบบงานวิศกรรมโครงสร้าง
  • แบบแสดงรายการ ปริมาณงาน และราคา มีตั้งแต่ งานโครงสร้าง ระบบโสตทัศนูปกรณ์
  • สรุปผลการประมาณราคาก่อสร้าง โดยมีงบค่าก่อสร้างงานโครงสร้าง 570,521,262.63 บาท
  • ค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องมี
  • เอกสารแบ่งงวดงาน การจ่ายเงิน และกำหนดเวลาแล้วเสร็จ ซึ่งแบ่งออกเป็นกว่า 36 งวด เป็นต้น

ดาวโหลดน์แบบแปลนของอาคารสำนักงานสตง. ที่เพิ่งถล่มกว่า 30 ชั้น (คลิก)

ขณะเดียวกันเฟซบุ๊ก Ctar Boonkrai โพสต์ระบุข้อความว่า หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวผ่านมา 3 วันแล้วเชื่อว่าหลายท่านก็ยังสงสัยเรื่องอาคาร สตง.ที่พังถล่มลงเพียงตึกเดียว ตัวผมเองก็สงสัยเช่นกัน ในฐานะวิศวกรคนหนึ่ง ผมได้รวบรวมข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แบบแปลนที่ไม่แน่ใจว่าใช่อาคารเดียวกันหรือเปล่า ภาพถ่ายต่างๆ ฯลฯ และลองจำลองอาคารคร่าวๆดู ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง เป็นเพียงแต่การทดลองเท่านั้น เพราะค่าต่างๆที่กำหนดนั้นย่อมมีความแตกต่างในช่วงเวลา

อาคารนี้ผมได้เลือกใช้ มาตรฐาน มยผ. 1301/1302-61 ซึ่งแน่นอนว่าอาคารที่เป็นเหตุในข่าว เริ่มก่อสร้างปี 63 และถ้าคิดย้อนไปแบบก่อสร้างอาจจะออกแบบก่อนปี 61 ซึ่งอาจจะใช้ข้อกำหนดการออกแบบตามกฎกระทรวงปี 50 ในการออกแบบตามเวลานั้น

ศูนย์พักพิงชั่วคราว ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2568 เวลา 19.00 น
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2568 เวลา 19.00 น (แฟ้มภาพ Fb.@bangkokbma)
แฟ้มภาพ @AP
แฟ้มภาพ @AP

เหตุที่ไม่ได้ใช้ กฎกระทรวงปี 50 ในทดลองคือ โปรแกรมที่ใช้ไม่มีมาตรฐานนั้นครับ

สิ่งแรกเลยที่หลายท่านมองเห็นด้วยตาเปล่าของอาคารที่ผมทดลองนี้คือช่วงชั้นที่ยาวในช่วงต้นและช่วงปลายของอาคาร ในลักษณะการพิจารณาเพื่อออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว เราเรียกว่า ความไม่สม่ำเสมอของสติฟเนส หรือมีชั้นที่อ่อน (Stiffness-Soft Story Irregularity) ซึ่งเห็นได้ในอาคารขนาดใหญ่ทั่วไป แน่นนอน นอกเหนือจากความแข็งแรงแล้วอาคารย่อมต้องมีความสวยงามทางสถาปัตยกรรมไปพร้อมกัน การให้ช่วงชั้นที่สูงนั้นจะทำให้ความรู้สึกกว้างใหญ่แก่ผู้ที่เข้ามาภายในอาคารไม่ดูอึดอัด

ถัดมาคือการวางโครงสร้างในแนวดิ่งส่วน core wall (ปล่องลิฟท์) ในโมเดลที่ผมทดลองไม่ได้อยู่ตรงกลางอาคารและชิดไปทางด้านบนในแนวแกน Y ซึ่งสิ่งที่จะตามมาคือ center of gravity และ center of rigidity ไม่ได้อยู่จุดเดียวกันส่งผลให้โครงสร้างเกิด ความไม่สม่ำเสมอเชิงการบิด (Torsional Irregularity)

ความไม่สม่ำเสมอของอาคารทั้ง 2 ตัวนี้เราก็จะเห็นในอาคารอยู่มากมายเพราะการที่จะไม่ให้โครงสร้างอาคารเกินความไม่สม่ำเสมอ อาคารจะต้องมีความสมมาตรทั้งในแนวราบ และแนวดิ่ง ผลที่ตามมาคืออาคารจะไม่มีมิติขาดความสวยงาม แต่แน่นอนหากโครงสร้างมีความไม่สม่ำเสมอในจุดใด ในการออกแบบโครงสร้างย่อมสามารถเสริม เพิ่ม ปรับ รูปแบบโครงสร้างนั้นให้สามารถรับแรงได้ซึ่งเป็นไปตามหลักวิศวกรรม

และสิ่งที่เห็นได้ชัดจากแผ่นดินไหวในครั้งนี้อีกเรื่องคือ คาบการสั่นแผ่นดินไหวที่เป็นคาบยาว (long period ) จะมีผลกระทบต่ออาคารสูงตั้งแต่ 10 ชั้นขึ้นในพื้นที่แอ่งกรุงเทพฯ (แอ่งกรุงเทพฯ คือแอ่งดินเหนียวขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วย กรุงเทพฯและปริมณฑล) เมื่อพูดถึงคาบการสั่นแล้ว เรื่องที่ผู้ออกแบบโครงสร้างกลัวภายใต้แรงแผ่นดินไหวคือ การสั่นพ้อง (Resonance) หรือความถี่ธรรมชาติของอาคารนั้นตรงการความถี่ของแผ่นดินไหวซึ่งทำให้อาคารนั้นเกิดการสั่นไหวในช่วงเวลาที่ยาวขึ้นและเพิ่มการสั่นมากขึ้น.

(แอ่งกรุงเทพฯ คือแอ่งดินเหนียวขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วย กรุงเทพฯและปริมณฑล) ในส่วนของวัสดุและขั้นตอนการก่อสร้าง อาจจะต้องมีการตรวจสอบกันอีกที ซึ่งในตอนนี้หลายท่านที่ติดตามข่าวก็เริ่มจะเห็นวัสดุที่นำมาก่อสร้างกันแล้ว และคิดว่าคงมีข้อมูลที่ทำให้เราๆได้ทราบกันในไม่ช้า หากเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นจากปัจจัยพ้อง กล่าวคือปัจจัยที่ ปะเดปะดังที่มาพร้อมกัน เหมือนโรคที่คนเป็นที่เกิดขึ้น 1 ใน แสน หรือ 1 ใน ล้าน ปัจจัยที่ประจวบเหมาะทำให้เกิดเหตุในครั้งนี้

อย่างไรก็ตามแต่ เหตุการณ์นี้ย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ การศึษาในวงการวิศวกรรมไทยเพื่อเป็นบทเรียนให้เหล่าวิศวกร

สุดท้ายนี้แสดงความเสียใจกับผู้คนที่ประสบเหตุในครั้งนี้ ซึ่งนำมาในการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และหวังว่าปาฏิหาริย์จะเกิดให้มีผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์นี้.

ข้อมูล ณ วันที่ 30 มี.ค.68 เวลา 18.00 น. (แฟ้มภาพ Fb.@bangkokbma)
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มี.ค.68 เวลา 18.00 น.
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มี.ค.68 เวลา 18.00 น. (แฟ้มภาพ Fb.@bangkokbma)
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มี.ค.68 เวลา 18.00 น. (แฟ้มภาพ Fb.@bangkokbma)
แฟ้มภาพ @AP
แฟ้มภาพ @AP
ข่าวตึกถล่ม
แฟ้มภาพ @AP
แฟ้มภาพ @AP
แฟ้มภาพ @AP

อ่านข่าวฉบับเต็ม

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button