ข่าว

มุมนักวิชาการ ชี้ “วิปโยคแม่สาย” บทเรียนราคาแพง ไร้แผนรับมือ-มีแต่มาตรการบรรเทา

ดร.สนธิ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม ถอดบทเรียนราคาแพง วิปโยคแม่สาย แม่อายสะอื้น มีแต่มาตรการบรรเทาทุกข์ สิ้นไร้มาตรการป้องกันล่วงหน้าจนเจอหายนะภัยธรรมชาติเล่นงานอ่วมในรอบ 40 ปี

อีกหนึ่งความคิดเห็นที่น่าสนใจ กรณี ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย วิจาร์ถึงบทเรียนราคาแพงในอุทกภัยหนล่าสุดของประเทศ ซึ่งประสบกับปัญหาวิกฤตจากปริมาณมวลน้ำมหาศาลเอ่อล้นทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนจนได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยวันนี้นับเฉพาะในส่วนของ จ.เชียงราย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่จัน อ.เชียงแสน อ.เชียงของ และ อ.เมืองฯ รวม 24 ตำบล 71 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,499 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ผู้ได้ร้บบาดเจ็บ 2 คน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

Advertisements

โดยเนื้อหาในโพสต์เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ได้เปิดมุมมองตลอดจนชำแหละปัญหาที่เป็นต้นตอของสาเหตุวิกฤตครั้งใหญ่เพื่อถอดบทเรียนของอาจารย์สนธิ เริ่มด้วยการจั่วหัวว่า “วิปโยคแม่สาย แม่อายสะอื้น.บทเรียนราคาแพงที่ต้องได้รับการแก้ไข” ก่อนที่จะแจกแจงแนงทางเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. ฝนตกหนักมากจากอิทธิพลของ “พายุยางิ” ขณะที่มีร่องมรสุมความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงรายน้ำท่วมหนักเสียหายมากที่สุดในรอบ 40 ปี มากกว่าปี 65 และที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่เกิดดินถล่มจากภูเขาทับบ้านเรือนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน

ภาพ @เทศบาลตำบลแม่สาย

2. บทเรียนราคาแพงที่ทำให้เกิด วิปโยคที่แม่สายและแม่อายสะอื้นในครั้งนี้คืออะไร

  • 2.1.ขาดแผนการเตือนภัยที่ชัดเจน กรมอุ ตุนิยมวิทยาและ สทนช.ได้แจ้งเตือนว่าจะเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายในช่วงวันที่ 8 ถึงวันที่ 13 กันยายนจะเกิดน้ำท่วมไหลหลากและดินถล่มแต่การเตือนภัยดังกล่าวอาจลงไปไม่ถึงประชาชนในระ ดับรากหญ้าและการเตือนภัยดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนทั้งยังไม่ได้ระบุถึงสถานที่ที่เฉพาะเจาะจงว่าน้ำจะท่วมหนักเกิดขึ้นที่ ไหนบ้าง? บอกแต่เพียงกว้างๆว่าจะเกิดที่จ.เชียงรายและจ.เชียงใหม่ เป็นต้น ทำให้ประชาชนที่ได้รับข่าวสารในพื้นที่ไม่สนใจเท่าที่ควรเพราะทุกปีน้ำก็ท่วมประจำอยู่แล้วไม่ได้หนักหนาอะไร
  • 2.2. ขาดการสื่อสารความเสี่ยงที่ให้ประ ชาชนเกิดความตระหนัก ที่ผ่านมาใช้ช่องสื่อสารทางทีวี วิทยุ เฟชบุ๊คโดยใช้ภาษาทางวิชาการที่ยากจะเข้าใจทำให้ประชา ชนระดับรากหญ้าไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร

ดร.สนธิ มองว่าการสื่อสารหลังจากที่มีการคาดการณ์ว่าน้ำจะท่วมอย่างรุนแรงที่ไหนบ้าง ควรให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรืออปท. สื่อสารถึงตัวประชาชนโดยตรง โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าสถานการณ์จะเกิดรุนแรงในระดับใด ที่ไหน จะต้องเก็บข้าวของขึ้นที่สูงหรือต้องอพยพออกมาและไปพักที่จุดใดบ้าง เป็นต้น

โดยทั่วไปผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอต้องเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์หรือเป็นผู้สั่งการให้ดำเนินการทันที ยิ่งในต่างประเทศจะมีการใช้ระบบ SMS สื่อสารเตือนภัยโดยส่งเข้าไปในระบบโทร ศัพท์มือถือของที่คนที่อาศัยในพื้นที่โดยตรง เป็นต้น

Advertisements

ในปัจจุบัน นักวิชาการรายนี้ยังชี้ชัดว่าประเทศไทยยังไม่ได้การเตรียมความพร้อมและยังไม่มีมาตรการป้องกันวิกฤติดังกล่าวเลย ต้องรอให้เกิดวิกฤติก่อนจึงจะประกาศให้พื้นที่เป็นเขตภัยพิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อนำงบประ มาณออกมาแก้ไขและเยียวยาได้ ดังนั้นตามกฎหมายจึงมีแต่เพียงมาตรการบรรเทาทุกข์ แต่ไม่มีมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้า

2.3 ขาดแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ดินถล่ม ราชการจะต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติเพื่อนำงบประมาณออกมาใช้บรรเทาทุกข์ให้ประชาชนได้ ซึ่งทำได้ล่าช้ามากเนื่องจากติดที่ระบบราช การต้องมีหนังสือเป็นทางการส่งออกไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร? ต้องมีเวลาในการการเตรียมอุปกรณ์และกำลังคน

กรณีน้ำท่วมที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ประชาชนจำนวนมากติดอยู่บนหลังคาและติดอยู่อยู่ในบ้านเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 วันโดยหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของมูลนิธิจิตอาสา, สมาคมและภาคประชาสังคม ส่วนหน่วยราชการยังล่าช้าอยู่เพราะติดระบบราชการ ยกเว้นหน่วยทหารที่สั่งการและออกปฎิบัตงานได้ทันที.

ภาพ @ThaiSEALFoundation
น้ำท่วมบ้านไม้ลุงขน ซอย 4 2567
ภาพ Facebook @meechai.phattaratanakorn
ลุงเขียงหมู ตอนที่ติดอยู่ในเต็นท์สีแดง เวลาบ่ายโมงซึ่งเป็นช่วงแรก ๆ
ภาพ Facebook @แอน แม่สายมหานคร
แชมป์ จอมพลัง ขี่เจ็ตสกีเข้าไปช่วยลุงเขียงหมูเชียงราย
ภาพ Facebook @soothercool
สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ ประเทศไทย
แฟ้มภาพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button