ดูดวงไลฟ์สไตล์

ฤกษ์ไหว้ คเณศจตุรถี 7 ก.ย. 67 เทศกาลขอพร 1 ปีมีครั้งเดียว

คเณศจตุรถี เทศกาลเฉลิมฉลองวันประสูติของพระพิฆเนศ เทพแห่งปัญญาและความสำเร็จของชาวฮินดู ในวันที่ 7 กันยายน 2567 นี้ แต่สำหรับชาวไทยการไหว้บูชาจะต้องยึดถือตามฤกษ์เวลาของไทย เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องและได้รับพรอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการ ห้ามมองดวงจันทร์ ในวันสำคัญนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงคำสาป “มิธยาโทษ” ที่อาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิดและเสื่อมเสียชื่อเสียง

ฤกษ์ไหว้มงคลวันคเนศจตุรถี ประเทศไทย

สำหรับผู้ศรัทธาในองค์พระพิฆเนศ เทพแห่งความสำเร็จ การบูชาในวันคเณศจตุรถีถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะได้รับพรอันเป็นมงคลยิ่ง ในปี 2567 นี้ วันคเณศจตุรถีตรงกับ วันเสาร์ที่ 7 กันยายน แต่การไหว้บูชาตามปฏิทินจันทรคติและเวลาในอินเดียนั้นมีความแตกต่างจากประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องยึดถือตาม ฤกษ์เวลาของไทย เพื่อให้การบูชาเป็นไปอย่างถูกต้องและได้รับพรอย่างเต็มที่

Advertisements

มงคลฤกษ์ในการทำพิธีบูชาพระพิฆเนศช่วงเที่ยงวัน (Madhyahna Ganesha Puja Muhurat) ตั้งแต่เวลา 11:02 น. ถึง 13:30 น. รวมระยะเวลา 2 ชั่วโมง 28 นาที

วันพิฆเนศวิสรรชน (Ganesh Visarjan) ตรงวันอังคารที่ 17 กันยายน 2024 ช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงการมองเห็นดวงจันทร์ตั้งแต่วันก่อนหน้า (6 กันยายน) ตั้งแต่เวลา 16:31 น. ถึง 20:24 น. และวันเทศกาล (7 กันยายน) ตั้งแต่เวลา 09:07 น. ถึง 20:59 น.

เทศกาลวันคเนศจตุรรถี การบูชาจะเริ่มต้นเวลา 16:31 น. ของวันที่ 6 กันยายน 2024 และสิ้นสุดในเวลา 19:07 น. ของวันที่ 7 กันยายน 2024

วันอังการกีสันคสติจตุรถี 2567 ฤกษ์ไหว้ขอพรพระพิฆเนศ สวดมนต์แบบย่อ

ที่มาวันคเนศจตุรถี

เทศกาลคเณศจตุรถี เป็นการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติของพระพิฆเนศ ในวันนี้ พระพิฆเนศจะได้รับการบูชาในฐานะเทพเจ้าแห่งปัญญา ความเจริญรุ่งเรือง และความโชคดี ตามความเชื่อ พระพิฆเนศประสูติในช่วงข้างขึ้นของเดือนภัทรปท ซึ่งปัจจุบันตรงกับเดือนสิงหาคมหรือกันยายนตามปฏิทินสากล

Advertisements

การเฉลิมฉลองเทศกาลคเณศจตุรถี หรือ คเณศัตสว จะสิ้นสุดลงหลังจาก 10 วัน ในวันอนันตจตุรถี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามวันพิฆเนศวิสรรชน ในวันนี้ เหล่าสาวกจะนำเทวรูปพระพิฆเนศไปลอยน้ำหลังจากมีขบวนแห่ตามท้องถนนอย่างยิ่งใหญ่

การบูชาพระพิฆเนศนิยมทำในช่วงมาธยายนะ (Madhyahna) เนื่องจากเชื่อกันว่าพระพิฆเนศประสูติในช่วงเวลานี้ ซึ่งมาธยายนะหมายถึงช่วงเที่ยงวันตามการแบ่งช่วงเวลาของศาสนาฮินดู

ตามระบบการนับเวลาของฮินดู ช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกดินจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ช่วงเวลาเท่าๆ กัน ได้แก่ ปราตะกาล (ช่วงเช้ามืด), สังควะ (ช่วงสาย), มาธยายนะ (ช่วงเที่ยง), อปราห์ณะ (ช่วงบ่าย) และ สายัญกาล (ช่วงเย็น) การตั้งพระพิฆเนศและทำพิธีบูชาในวันคเณศจตุรถีจะกระทำในช่วงมาธยายนะ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดตามหลักโหราศาสตร์พระเวท

ในช่วงเที่ยงวัน เหล่าสาวกของพระพิฆเนศจะทำพิธีบูชาอย่างละเอียดตามแบบแผน ซึ่งเรียกว่า โษฑโศปจาร คเณศ ปูจา (Shodashopachara Ganapati Puja)

วิธีไหว้พระพิฆเนศที่ถูกต้อง

ห้ามมองพระจันทร์ในวันคเนศจตุรถี

มีความเชื่อว่าไม่ควรมองดวงจันทร์ในวันคเณศจตุรถี การมองเห็นดวงจันทร์ในวันนี้จะทำให้เกิดมิธยาโทษ หรือ มิธยาโกลงค์ (Mithya Kalank) ซึ่งหมายถึงการถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมว่าขโมยสิ่งของ

ตามตำนานปุราณะ พระกฤษณะถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมว่าขโมยอัญมณีล้ำค่าชื่อศยามันกะ (Syamantaka) หลังจากเห็นความทุกข์ของพระกฤษณะ ฤษีนารถจึงแจ้งว่าพระกฤษณะมองเห็นดวงจันทร์ในวันจตุรถีข้างขึ้นของเดือนภัทรบท และด้วยเหตุนี้จึงถูกสาปด้วยมิธยาโทษ

ฤษีนารถยังแจ้งพระกฤษณะอีกว่า พระจันทร์ถูกพระพิฆเนศสาปว่าใครก็ตามที่มองเห็นดวงจันทร์ในวันจตุรถีข้างขึ้นของเดือนภัทรบทจะถูกสาปด้วยมิธยาโทษ และจะถูกทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงในสังคม ตามคำแนะนำของฤษีนารถ พระกฤษณะจึงถือศีลอดในวันคเณศจตุรถีเพื่อขจัดมิธยาโทษ

หากใครมองเห็นดวงจันทร์ในวันคเณศจตุรถีโดยไม่ได้ตั้งใจ (ตามวันและเวลาที่กล่าวไปข้างต้น) ควรสวดมนตร์ต่อไปนี้เพื่อขจัดคำสาป

มนตร์ป้องกันมิธยาโทษ

सिंहः प्रसेनमवधीत्सिंहो जाम्बवता हतः।
सुकुमारक मारोदीस्तव ह्येष स्यमन्तकः॥

Simhah Prasenamavadhitsimho Jambavata Hatah।
Sukumaraka Marodistava Hyesha Syamantakah॥

” สิงหะ ประเสนมวธิตสิงโห จามฺพวตา หต
สุกุมารก มาโรทีสตวะ หฺยེษ สฺยมนฺตก ”

เลขเด็ดพระพิฆเนศ 1 9 65

อ้างอิง: timeanddate.com , drikpanchang.com

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

New Nidhikant

จบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักเขียนสายมูเตลู และนักอ่านไพ่ทาโรต์ โหราศาสตร์ มีความสนใจด้านข่าวการเมือง ศิลปะวัฒนธรรม แฟชั่น และสายดูดวงมูเตลู งานเขียนเน้นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย อ่านสนุก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button