น้อยคนรู้สาเหตุ 29 จังหวัด ไม่มีรถไฟวิ่งผ่าน แล้วเดินทางยังไง
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 รถไฟสายแรกของไทยคือสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งเปิดให้บริการบางส่วนในปี พ.ศ. 2439 และแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2443 จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการขยายเส้นทางรถไฟไปยังภูมิภาคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น เชียงใหม่ อุบลราชธานี และชายแดนภาคใต้
กระทั่งปี 2494) กรมรถไฟหลวงเปลี่ยนเป็น “การรถไฟแห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีอิสระในการบริหารงาน
ก พัฒนาและปรับปรุงระบบรถไฟอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการ และเทคโนโลยี ดำเนินโครงการรถไฟขนาดใหญ่หลายโครงการ เช่น รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อภูมิภาคต่าง ๆ
แต่รู้หรือไม่ว่าแม้พัฒนาไปมากแค่ไหน แต่ระบบรางก็ยังไม่ครบคลุมทุกจังหวัดในประเทศไทย
29 จังหวัดในประเทศไทย ที่ไม่มีทางรถไฟวิ่งผ่าน เหนือจรดใต้
- เชียงราย
- พะเยา
- น่าน
- แม่ฮ่องสอน
- ตาก
- กำแพงเพชร
- อุทัยธานี
- ชัยนาท
- อ่างทอง
- เลย
- เพชรบูรณ์
- หนองบัวลำภู
- บึงกาฬ
- สกลนคร
- นครพนม
- กาฬสินธุ์
- มหาสารคาม
- ร้อยเอ็ด
- มุกดาหาร
- ยโสธร
- อำนาจเจริญ
- สิงห์บุรี
- จันทบุรี
- ตราด
- ระนอง
- พังงา
- กระบี่
- สตูล
- ภูเก็ต
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้บางจังหวัดไม่มีการสร้างรถไฟโดยสารนั้น เป็นเพราะลักษณะภูมิประเทศ ประกอบกับการวางแผนเส้นทางรถไฟในอดีตอาจไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของทุกจังหวัด จะเห็นได้ว่า แผนที่เส้นทางรถไฟด้านล่าง จะเชื่อมต่อทุกภาพเข้าด้วยกันผ่านเส้นทางผ่ากลางภูมิภาค ขณะที่ประเทศรอบนอกไกลจากเส้นทางสายหลัก ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ความต้องการในการเดินทางน้อย เพราะเดินทางด้วยวิธีอื่นสะดวก ประหยัดเวลากว่า เช่น รถทัวร์ รถยนต์ หรือเครื่องบิน
ที่สำคัญการสร้างทางรถไฟมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งในเรื่องการเวนคืนที่ดิน วัสดุอุปกรณ์ และการก่อสร้าง รัฐบาลอาจมีงบประมาณจำกัดในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ต้องเลือกที่จะลงทุนในโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนหรือคุ้มค่ามากกว่า
แผนที่เส้นทางรถไฟสายเหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และสายแม่กลอง จากการรถไฟแห่งประเทศไทย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง