ข่าว

อ.อ๊อด ห่วง อนาคตลูกหลาน จะอยู่ยังไง เปิดหลักฐานน่ากังวล

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 อ.อ๊อด วีระชัย พุทธวงษ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เปิดเผยข้อมูลสถิติจำนวนประชากรไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ที่น่าห่วงเพราะ คนไทยตายมากกว่าเกิดมาแล้ว 3 ปีติดต่อกัน

อ.อ๊อด ระบุว่า “อนาคตลูกหลานเราจะเป็นอย่างไร ต้องช่วยกัน” ประเทศไทยมีจำนวนประชากรทั้งหมด 66,052,615 คน จากข้อมูลพบว่าจำนวนคนเกิดอยู่ที่ 517,934 คน ในขณะที่จำนวนคนตายสูงถึง 565,965 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนคนเกิดถึง 48,058 คน

ประเทศไทยมีอัตราการเกิดอยู่ที่ 7.8 ต่อประชากร 1,000 คน ขณะที่อัตราการตายอยู่ที่ 8.6 ต่อประชากร 1,000 คน ตามลำดับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่า

ทั้งนี้ Thaiger ตรวจสอบข้อมูลพบว่า อัตราการเกิดทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงจากอดีต โดยในปี 1950 อัตราการเกิดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 ครั้งต่อผู้หญิง 1 คน แต่ในปี 2021 อัตราการเกิดเฉลี่ยลดลงเหลือเพียง 2.3 ครั้งต่อผู้หญิง 1 คน

ข้อมูลประชากรโลกย้อนหลัง 5 ปี พบว่าในปี 2023 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ประมาณ 134 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 61 ล้านคนในปี 2022 มีการเกิดใหม่ประมาณ 140 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 60 ล้านคน (UN World Population Prospects) ในขณะที่ปี 2021 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ 135 ล้านคน และผู้เสียชีวิตประมาณ 59 ล้านคน ในปี 2020 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ 140 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 60 ล้านคน และในปี 2019 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ 140 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 58 ล้านคน

การที่หลายคนเป็นห่วงเรื่องอัตราการตายมากกว่าเกิดนั้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศโดยรวม ที่กลายเป็นผสังคมผู้สูงอายุ ไม่สามารถทำงานได้ ขณะที่ประชากรวัยทำงานที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีจำนวนน้อยลง รัฐมีภาระมากขึ้นในการต้องหาเงินและทรัพยากรมาช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบาง

อ่านข่าวที่เกียวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button