เครื่องดื่มชูกำลัง เสี่ยงหัวใจวายจริงหรือ?
เครื่องดื่มชูกำลัง มีกาเฟอีนและน้ำตาลสูง ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น กัวรานา ทอรีน คาร์นิทีน และโสม ซึ่งล้วนแต่เป็นสารกระตุ้น เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ หากดื่มติดต่อเป็นเวลานาน
เครื่องดื่มชูกำลัง หรือ energy drink คนไทยคุ้นเคยมานานในหมู่คนทำงานหนัก ต้องการพลังงาน แต่ล่าสุดกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นสหรัฐอเมริกา สำรวจพบว่ามีวัยรุ่นถึง 30% ดื่มเป็นประจำ
ถึงแม้ว่าเครื่องดื่มเหล่านี้มักจะถูกโฆษณาว่าช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ แต่การดื่มมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และภาวะหัวใจวาย
ภัยเงียบในเครื่องดื่มชูกำลัง
เครื่องดื่มชูกำลังไม่ได้มีเพียงแค่กาเฟอีนและน้ำตาลเท่านั้น แต่ยังมีส่วนผสมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น กัวรานา ทอรีน คาร์นิทีน และโสม ซึ่งล้วนแต่เป็นสารกระตุ้น เมื่อรวมกับคาเฟอีนแล้ว ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหัวใจได้หลายเท่าตัว
ผลกระทบร้ายแรงต่อหัวใจ
1. หัวใจเต้นผิดจังหวะ
การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมากเกินไป อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือที่เรียกว่า “หัวใจเต้นพลิ้ว” (Atrial Fibrillation) ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ อาการที่พบได้บ่อยคือ ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หรืออัมพาตได้
2. ความดันโลหิตสูง
คาเฟอีนและสารกระตุ้นอื่นๆ ในเครื่องดื่มชูกำลังสามารถเพิ่มความดันโลหิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต
3. ภาวะหัวใจล้มเหลว
มีรายงานพบผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวจากการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเป็นประจำ ซึ่งเกิดจากการที่หัวใจทำงานหนักเกินไป และไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ
4. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
เครื่องดื่มชูกำลังส่วนใหญ่มักมีปริมาณน้ำตาลสูง ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคอ้วน และโรคเบาหวาน
สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม
หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจไม่อิ่ม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือรู้สึกอ่อนเพลียผิดปกติ หลังจากดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
วิธีดื่มเครื่อดื่มชูกำลังให้ปลอดถัย
ดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเกินวันละ 1 กระป๋อง และควรหลีกเลี่ยงการดื่มร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารกระตุ้นอื่นๆ
หากจำเป็นต้องดื่ม ควรเลือกเครื่องดื่มชูกำลังที่ไม่มีน้ำตาล หรือมีปริมาณน้ำตาลต่ำ พร้อมกับ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้
ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู และลดความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ อย่าปล่อยให้เครื่องดื่มชูกำลังทำลายสุขภาพหัวใจของคุณ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- แพทย์เตือน “นอนคว่ำ” ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ยิ่งต้องระวัง
- แฟนคลับห่วง ‘บอลลูน พินทุ์สุดา’ ป่วยโรคหัวใจ ต้องเช็กคลื่นไฟฟ้า 24 ชม.
- “หมอธีระวัฒน์” แนะผู้สูงอายุ เดินอย่างรู้สังขาร ลดสมองเสื่อม-เสียชีวิตจากโรคหัวใจ