แฉประวัติ แก๊งมีรยัง 44 คน รุมข่มขืนเด็ก ม.ต้น ไม่ได้รับโทษ ปัจจุบันชีวิตดี ร่ำรวย
มันยัง ไม่ชดใช้! ยูทูบเบอร์ปริศนา โพสต์คลิป เปิดโปงตัวตน 44 อาชญากร ผู้ก่อเหตุข่มขืนเหยื่อเด็กสาวมัธยมต้น แต่ไม่ได้รับโทษ เมื่อ 20 ปีก่อน หวังเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเหยื่อ และตั้งคำถามต่อสังคมถึงกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เหมาะสม
คดีข่มขืนอันโด่งดังที่สุดของเกาหลีที่คนยังไม่ลืม ย้อนกลับไปในปี 2004 นักเรียนมัธยมชาย 44 คน ในเมืองมีรยัง ได้ก่อเหตุ ข่มขืนนักเรียนหญิงมัธยมต้น อายุ 14 ปี มาราธอน 1 ปี นักเรียนชายเหล่านี้มาจากหลายโรงเรียนในพื้นที่ โดยพวกเขาร่วมมือกัน “ส่งต่อ” เวียนเทียนเหยื่อ ข่มขืนเป็นหมู่หลายครั้ง ผู้ต้องหายังถ่ายคลิปเหยื่อและข่มขู่ว่าจะแพร่คลิปหากเธอพยายามแจ้งความกับตำรวจ
เนื่องจากในเวลานั้น ผู้กระทำผิดยังเป็นผู้เยาว์ซึ่งไม่เคยก่ออาชญากรรมมาก่อน คนร้ายส่วนใหญ่ถูกตัดสินให้เป็นอาสาสมัครหรือส่งตัวไปยังศูนย์กักกันเยาวชน หมายความว่าผู้ต้องหาทุกคนพ้นโทษไปโดยไม่มีประวัติอาชญากรรม
คำตัดสินของศาลในเวลานั้นยังระบุว่า “ระดับการข่มขืนไม่รุนแรง” และ “บางคนอาจกระทำไปเพราะความอยากรู้อยากเห็นทางเพศหรือแรงกดดันจากเพื่อน” รวมถึง “เยาวชนเหล่านี้มีแผนการศึกษาหรืออาชีพในอนาคต”
อย่างไรก็ตาม ความแค้นของประชาชนยังไม่เลือนหาย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ช่องยูทูบช่องหนึ่งได้เปิดเผยตัวตนของอดีตนักเรียนชาย 44 คน ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในสังคมเกาหลีใต้
คลิปแรกเป็นการเปิดเผยตัวตนตัวตนของผู้ต้องหา ‘A’ ถูกเปิดเผยพร้อมกับบัญชี SNS ของเขา ตามข้อมูลของยูทูบเบอร์ ‘A’ ทำงานที่ร้านอาหารชื่อดังที่เป็นของญาติ ภาพของเขาที่ถ่ายคู่กับนักธุรกิจอาหารชื่อดัง แบค จอง วอน ถูกแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวเน็ตเกาถกเถียงสนั่นทันที
ในคลิปต่อมา ตัวตนของ ‘B’ ซึ่งทำงานที่ “Volvo Korea” ทั้ง ‘A’ และ ‘B’ แต่งงานและมีลูกใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ขณะเหยื่อยังต้นทนทุกข์ทรมานกับฝันร้าย
ขณะที่ ‘C’ เพื่อนสนิทของ ‘B’ ก็ถูกเปิดเผยว่าแต่งงานกับลูกสาวของตระกูลที่ร่ำรวยและทำงานในบริษัทชื่อดัง
การเปิดเผยตัวตนของอดีตนักเรียนชายเหล่านี้ทำให้องค์กรที่พวกเขาทำงานอยู่ได้ออกแถลงการณ์ไล่ออกจากงานทันที และร้านอาหารที่ ‘A’ ทำงานก็ประกาศปิดทำการตั้งแต่มีเหตุการณ์เผยแพร่ข้อมูลของผู้ก่อเหตุในคดีดังกล่าว
ตัวแทนของ ศูนย์บรรเทาความรุนแรงทางเพศแห่งเกาหลี (KSVRC) กล่าวว่าช่องยูทูบนี้ไม่ได้ขออนุญาตจากครอบครัวของเหยื่อก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูล ทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างรุนแรงในสังคม บางคนเชื่อว่าคนร้ายควรถูกเปิดเผยตัวตนเพื่อความยุติธรรม ขณะที่บางคนกังวลว่าการเปิดเผยตัวตนอาจทำให้เหยื่อและครอบครัวของเธอได้รับความเสียหายอีกครั้ง
กลุ่ม The “cyber wrecker” หรือยูทูบเบอร์ปริศนาที่เผยแพร่ตัวตนของอาชญากรทั้ง 44 คน อ้างว่า พวกเขาตั้งใจที่จะเปิดเผยตัวตนของผู้โจมตีทั้ง 44 คนจาก ‘คดีมีรยัง’ ทีละคน แม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศแน่ชัดของจุดประสงค์ในการกระทำนี้ แต่มีความเป็นไปได้ว่า ทั้งหมดนี้คือการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเหยื่อคดีข่มขืนเมื่อ 20 ปี ก่อน
หมายเหตุ : คดีดังกล่าวได้ถูกนำไปดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ เรื่อง Han Gong Ju ฉายเมื่อปี 2013
อ้างอิง : allkpop
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ขุดคดีเก่า ไอ้แซน ขยี้กามเด็ก 13 ทุ่มพื้นจนภาพดับ เหยื่อฮึดเฮือกสุดท้ายหนีตาย
- คดีพลิก ผัวกอดเมียลากดิ่งตึก 16 ชั้นดับ ความจริงเฉลย คนแห่สงสารผู้ชาย