ข่าว

กรมสรรพากร 67 สอบบรรจุราชการ 350 อัตรา นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ

กรมสรรพากร ประกาศข่าวดีสำหรับผู้ใฝ่ฝันงานราชการ เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่ง “นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ” จำนวน 350 อัตรา ถือเป็นโอกาสทองของผู้ที่สนใจงานด้านภาษีและต้องการความมั่นคงในชีวิต รับสมัครตั้งแต่ 11 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม 2567 ใครที่สนใจเตรียมตัวให้พร้อม แล้วรีบมาสมัครกันได้เลย

การสมัครสอบ “นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ” กรมสรรพากร

นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ เปิดรับสมัครจำนวน 350 อัตรา มีอัตราเงินเดือน 16,500 – 18,150 บาท ผู้ที่สนใจสามารถสมัครสอบข้าราชการ นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร หรือที่ ตั้งแต่ที่ 11 มิถุนายน 2567 – 2 กรกฎาคม 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

สมัครผ่านเว็บไซต์

– เข้าไปที่ https://www.rd.go.th >ข่าวกรมสรรพากร > ข่าวสารการเข้ารับราชการ > ข้าราชการ ระดับปฏิบัติการ > หัวข้อ “รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตําแหน่งนักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ”

– เข้าไปที่ https://tax.thaijobjob.com > หัวข้อ “รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุ และแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตําแหน่งนักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการที่กําหนด

สามารถอ่านรายละเอียดขั้นตอนการสมัครสอบอย่างละเอียดได้ที่นี่ >> คลิก

ผู้สมัครจะต้องกรอกข้อความในใบสมัครให้ถูกต้องครบถ้วน และปฏิบัติตามขั้นตอน และเมื่อยืนยันข้อความที่กรอกแล้ว ระบบจะออกใบสมัครและแบบฟอร์มการชําระเงินค่าสมัครสอบ ผ่าน บมจ. ธนาคารกรุงไทย ให้โดยอัตโนมัติ

ระบบจะกําหนดแบบฟอร์มการชําระเงินที่มี QR Code ให้ผู้สมัครสอบสแกนชําระเงิน ผ่านแอปพลิเคชัน “Krungthai NEXT” หรือ “เป๋าตัง” ได้ทันที หรือสามารถพิมพ์แบบฟอร์มการชําระเงิน ลงในกระดาษขนาด A4 เพื่อชําระเงินภายหลัง หรือหากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น ให้ทําการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ ในรูปแบบ File ลงในสื่อบันทึกข้อมูล

คุณสมบัติผู้สมัครสอบทั่วไป

1. สัญชาติไทย หัวใจรักชาติ พร้อมรับใช้ประเทศ

2. อายุ 18 ปีขึ้นไป (นับถึงวันปิดรับสมัคร) เริ่มต้นชีวิตการทำงานราชการได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

3. เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ยึดมั่นในระบอบการปกครองของไทย

4. ไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เป็นบุคคลล้มละลาย เคยต้องโทษจำคุก เป็นต้น

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี

ลักษณะต้องห้าม

(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(2) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กําหนดในกฎ ก.พ.

(3) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น

(4) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม

(5) เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง

(6) เป็นบุคคลล้มละลาย

(7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทํา ความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษของรัฐ หรือตามกฎหมายอื่น ในหน่วยงานของรัฐ

(8) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น

(9) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทําผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้

(10) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทําผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้

(11) เป็นผู้เคยกระทําการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงาน ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้าม ตาม (๔) หรือ (๔) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงาน หรือออกจากราชการ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ สําหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ ข. (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองแล้ว

สําหรับพระภิกษุหรือสามเณรทางราชการไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2501 และตามความในข้อ 4 ของคําสั่งมหาเถรสมาคม ที่ 1/2564 ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564

3.2 ผู้สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งของตําแหน่งนักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ (ดังรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายประกาศ)

3.3 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสํานักงาน ก.พ. ในระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า ภายในวันปิดรับสมัครสอบ

การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

กรมสรรพากรจะประกาศการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยเรียงลําดับที่จากผู้สอบได้ คะแนนรวมของการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตําแหน่ง และการสอบแข่งขันเพื่อวัด ความเหมาะสมกับตําแหน่ง สูงสุดลงมาตามลําดับ

ในกรณีที่มีผู้สอบได้คะแนนรวมเท่ากันให้ผู้สอบได้คะแนน การสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลําดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนการสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งเท่ากันอีก ให้ผู้ที่ได้รับเลขประจําตัวสอบก่อนเป็นผู้อยู่ในลําดับที่สูงกว่า

การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะขึ้นบัญชีไว้เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันขึ้นบัญชี แต่ถ้ามีการสอบแข่งขันอย่างเดียวกันนี้อีก และได้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ใหม่แล้ว บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ครั้งนี้
เป็นอันยกเลิก

การบรรจุและแต่งตั้ง

ผู้สอบแข่งขันได้จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามลําดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยได้รับอัตราเงินเดือนตามที่ ก.พ. กําหนด และเป็นไปตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การกําหนดปัจจัย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อกําหนดอัตราเงินเดือนสําหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง เพื่อบรรจุและแต่งตั้ง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญของกรมสรรพากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ และที่จะแก้ไขเพิ่มเติม

กรมสรรพากร ดำเนินการสอบแข่งขันด้วยความโปร่งใส ยุติธรรมและเสมอภาค ดังนั้น หากมีผู้ใด แอบอ้างว่าสามารถช่วยเหลือให้ท่านได้เข้ารับราชการ หรือมีพฤติการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ โปรดอย่าได้หลงเชื่อ และโปรดแจ้งให้กรมสรรพากรทราบด้วย ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2272 8515-6, 0 2272 8135

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : เว็บไซต์กรมสรรพากร

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button