สุขภาพและการแพทย์ไลฟ์สไตล์

10 ปีก่อนเสียชีวิต ร่างกายเตือน 3 สัญญาณนี้ เช็กก่อนสาย

รู้เท่าทันปัญหาสุขภาพ เปิด 3 สัญญาณเตือนจากร่างกาย ก่อนถึงวาระสุดท้ายใน 10 ปีข้างหน้า พร้อมแนะนำวิธีสังเกตพฤติกรรมลางร้าย บ่งบอกอายุขัย

คนหนุ่มสาวมักคิดว่าตัวเองยังคงแข็งแรงดีจึงอาจเผลอละเลยเรื่องสุขภาพ กลับกันเมื่อใดที่เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน หรือเข้าใกล้วัยสูงอายุ บรรดาความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทั้งหลายก็จะพากันถาโถมเข้ามา แม้มีอาการผิดปกติเล็กน้อยก็อาจกังวลถึงขั้นเสียชีวิต แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว ร่างกายของเรามักส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เพียงแต่หลายคนมองข้ามไป

10 ปีก่อนตาย ร่างกายส่งสัญญาณเตือน 3 อย่าง

บทความหนึ่งในวารสาร Natural Medicine ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า กระบวนการแก่ชราของมนุษย์มีจุดเปลี่ยนสำคัญ 3 ช่วง คือ เมื่อเช้าสู่อายุ 34, 60 และ 78 ปี โดยช่วงวัยที่สำคัญที่สุดคือ อายุระหว่าง 60 – 70 ปี เพราะถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการมีอายุยืนยาว ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงที่สมรรถภาพร่างกายจะเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ก็จะลดลงด้วยเช่นกัน

คนแก่

ในขณะเดียวกัน งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน British Medical Journal ก็ได้ระบุถึงรายละเอียดสัญญาณเตือนจากร่างกาย ช่วงระหว่าง 4-10 ปีก่อนเสียชีวิตที่จะช่วยให้ทุกคนรู้เท่าทันปัญหาสุขภาพ ดังนี้

  • 10 ปีก่อนถึงวาระสุดท้าย : ความสามารถในการยืนและนั่งด้วยตนเองลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  • 7 ปีก่อนหมดอายุขัย : ทักษะการเคลื่อนไหวแย่ลง ไม่คล่องแคล่วงเหมือนก่อน
  • 4 ปีก่อนเสียชีวิต : ทำกิจวัตรประจำวันยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ เดิน รวมถึงการกินข้าว

เช็กสัญญาณสุขภาพ บอกอายุขัย

นอกจากสัญญาณเตือนจากร่างกาย บ่งบอกถึงวาระสุดท้ายที่ใกล้เข้ามาแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังได้รวบรวม 4 สัญญาณสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอายุขัย เพื่อให้ทุกคนหาทางรับมือกับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป

 1. ความเร็วในการเดิน

คนที่เดินเร็วมีแนวโน้มอายุยืนยาวกว่าคนเดินช้า โดยเฉลี่ย 15-20 ปี เพราะการเดินเร็วช่วยเผาผลาญไขมัน กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และเสริมสร้างการทำงานของหัวใจและปอด ควรเดินให้ได้ความเร็ว 0.9 เมตรต่อวินาที ซึ่งหากต่ำกว่า 0.6 เมตรต่อวินาที แสดงว่ากล้ามเนื้อลีบอย่างรุนแรง

ความเร็วในการเดิน

 2. ความสามารถในการลุกนั่ง

ทดสอบสมรรถภาพของร่างกายได้ด้วยการลองลุกจากเก้าอี้และนั่งลงโดยไม่ใช้มือช่วย หากทำได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอะไรเลย จะได้ 10 คะแนน หากต้องใช้มือช่วยพยุงเล็กน้อย จะได้ 5 คะแนน แต่ถ้าลุกเองไม่ได้เลย จะได้ 0 คะแนน ซึ่งนั่นแปลว่าร่างกายเริ่มขั้นสู่วิกฤต

การทำเช่นนี้บ่งบอกถึงความยืดหยุ่นของเอ็นขาและสุขภาพของข้อเข่า คนที่มีเอ็นยืดหยุ่นดีและข้อต่อแข็งแรง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาอ่อนแรงน้อยลง และมีโอกาสอายุยืนยาวมากขึ้น

ความสามารถในการลุกนั่ง

 3. แรงบีบมือ

แรงบีบมือบ่งบอกถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและสุขภาพของหัวใจ โดยทั่วไปผู้สูงอายุควรมีแรงบีบมืออย่างน้อย 18.5 กิโลกรัมสำหรับผู้หญิง และ 28.5 กิโลกรัมสำหรับผู้ชาย

แรงบีบมือถือเป็นตัวชี้วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรวม ทั้งยังสะท้อนถึงคุณภาพของหัวใจ คนที่มีการทำงานของหัวใจปกติจะมีแรงบีบมือที่ดีกว่า

แรงบีบมือ

 4. กิจวัตรประจำวัน

หากทำกิจกรรมประจำวันต่าง ๆ ได้ยากลำบาก อาทิ แต่งตัว เข้าห้องน้ำ ทำอาหาร ไปตลาด แสดงว่ากระบวนการชราภาพกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมวลกล้ามเนื้อในร่างกายกำลังลดลง ซึ่งจะนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง การหกล้ม และส่งผลต่ออายุขัย

กิจวัตรประจำวัน

ทั้งนี้ การสังเกตสัญญาณเตือนจากร่างกาย และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยให้เรารับมือกับความเสื่อมถอยของร่างกายได้อย่างทันท่วงที และหากพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

ข้อมูลจาก phunuphapluat

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button