แต่ละช่วงวัย “นอนตอนไหนดีที่สุด” เสริมสุขภาพดี ยืดอายุให้ยาวนาน
เกร็ดไม่ลับสุดน่ารู้ นอนเวลาไหนดีที่สุด เช็กเวลานอนกี่ชั่วโมงถึงเหมาะสม สุขภาพดีง่าย ๆ ปรับรูทีนก่อนหลับ งีบสบาย ตื่นสดชื่น พร้อมลุยตลอดทั้งวัน
การนอน เป็นหนึ่งในกิจกรรมจำเป็นและสำคัญสำหรับมนุษย์ เพราะการนอนไม่ใช่เป็นแค่การชาร์จแบตให้ร่างกาย ปล่อยฮอร์โมนสำคัญออกมาในเวลากลางคืน แต่ยังช่วยทำให้สภาพจิตใจปลอดโปร่ง ไม่ฟุ้งซ่าน อีกด้วย ทีม Thaiger จึงอาสาพาไปไขคำตอบของคำถาม “นอนตอนไหนดีที่สุด” นอนอย่างไรให้มีคุณภาพการหลับที่ดี พร้อมแล้ว อ่านต่อได้ข้างล่างนี้เลย
เวลาไหนดีและเหมาะกับการนอนที่สุด?
อ้างอิงจากมูลนิธิการนอนแห่งชาติ (National Sleep Foundation) โดยพื้นฐานแล้วการนอนจะมีความเหมาะสมของระยะเวลาชั่วโมงการนอนที่แตกต่างกันไปในช่วงอายุวัย เริ่มต้นที่วัยเด็ก
- วัยเด็กแรกเกิดถึงสามเดือน : 14 – 17 ชั่วโมง (รวมงีบหลับ)
- วัยทารก : 12 – 15 ชั่วโมง (รวมงีบหลับ)
- วัยหัดเดิน : 11 – 14 ชั่วโมง (รวมงีบหลับ)
สำหรับวัยผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 18 จนถึง 64 ควรมีชั่วโมงนอนประมาณ 7 – 9 ชั่วโมงต่อวัน แต่ด้วยปัจจัยส่วนตัวต่าง ๆ อาจจะส่งผลให้เราทุกคนไม่สามารถกำหนดเวลาที่ควรนอนอย่างเหมือนกันทุกคนได้ ทางเหมาะสมจึงกลายเป็นว่าเราต้องตั้งเวลาการเข้านอน โดยอิงจากเวลาที่เราต้องการจะตื่น ฉะนั้น ในแต่ล่ะช่วงวัยของการใช้ชีวิต ก็จะมีตารางการนอนที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น
หากอยากตื่นประมาณ 7 – 8 โมงเช้า แต่ล่ะช่วงอายุสามารถเรียงได้ตามนี้
- ทารก สามารถเข้านอนเมื่อเริ่มง่วงนอนได้เลย โดยจะอยู่ราว ๆ 1 – 2 ทุ่ม
- เด็กเล็ก ควรเข้านอนประมาณ 1 – 3 ทุ่ม
- เด็กวัยอนุบาล ควรเข้านอนช่วง 2 – 3 ทุ่ม
ขยับมาเป็นวัยเรียนและวัยทำงานเสียหน่อย หากตารางงานหรือเรียนนั้นเริ่มช่วง 5 – 7 โมงเช้า สามารถพิจารณาเวลาเข้านอนได้ประมาณนี้
- เด็กวัยประถม ควรเข้านอนระหว่าง 2 – 3 ทุ่ม
- วัยรุ่น ควรพยายามเข้านอนระหว่าง 3 – 4 ทุ่ม
- ผู้ใหญ่ ควรเข้านอนระหว่าง 4 ทุ่ม – เที่ยงคืน
ประโยชน์ของการนอนเต็มอิ่มที่คนมักมองข้าม
รู้หรือไม่ ขณะที่เรานอนหลับ นอกจากสมองของเราจะผลิต โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ฮอร์โมนที่คอยช่วยในการเจริญเติบโต ผลิตจากต่อมใต้สมอง ส่งเข้าสู่กระแสเลือด ไม่ว่าจะช่วยเสริมความสูง กล้ามเนื้อ และการเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ภายในตัวของเรา (โดยเฉพาะในวัยเด็ก) ยังมีสารเมลาโทนิน (Melatonin) ที่คอยช่วยป้องกันเซลล์ผิวหนังจากอนุมูลอิสระ
ทว่าในทางตรงกันข้าม หากเรานอนดึก ตื่นสาย สารเคมีในสมองอย่าง เซโรโตนิน (Serotonin) ที่คอยสร้างความสุขสดชื่นจะพลอยน้อยตามไปด้วย และก็เช่นกันกับสาร ฮอร์โมนเลปติน ที่เกี่ยวข้องกับการอยากอาหาร นั้นทำงานผิดปกติ ทำให้อาจจะเกิดปัญหาเรื่องสุขภาพการกินที่แย่ตาม ส่งผลลูกโซ่จนไปถึงระบบความจำในส่วน ฮิปโปแคมปัส ซึ่งทำงานได้ไม่เต็มที่
พบปัญหานอนไม่หลับ ทำยังไงดี
โดยธรรมชาติ ปัญหาการนอนหลับมักจะเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวยต่อการนอน เช่น อุณภูมิของห้องนอน แสง สภาพของหมอนและเตียง ทำให้การจัดให้ห้องนอนเย็น ๆ อากาศถ่ายเท หลับแสงธรรมชาติได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากปรับเปลี่ยนแล้วอะไรก็แล้ว ยังนอนไม่หลับ ทางทีมงาน Thaiger ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถึงอาการดังกล่าว เพื่อหากพบความผิดปกติในการทำงานของสารเคมีสมอง จะได้รับประทานยาบรรเทาอาการได้ทันที *ไม่แนะนำให้ทานยานอนหลับ โดยไม่ปรึกษาแพทย์*
อ้างอิง: What Time Should You Go to Bed?