ตามกฎหมาย วันแรงงาน 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันหยุดของแรงงานภาคเอกชน ลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างแม้จะไม่ได้มาทำงานในวันดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ยังมีกรณีที่ลูกจ้างอาจต้องทำงานในวันแรงงาน เนื่องจากนายจ้างสั่ง หรือมีภาระติดพันที่ทำให้ไม่สามารถหยุดได้ ซึ่งกฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างเหล่านี้ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมดังนี้
1. ลูกจ้างรายเดือน หรือลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด
- ได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของค่าจ้างตามชั่วโมงที่ทำงานเทียบกับวันทำงานปกติ
- กรณีทำงานล่วงเวลาในวันแรงงาน จะได้รับค่าล่วงเวลา 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
2. ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด
- ได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานเทียบกับวันปกติ
- กรณีทำงานล่วงเวลาในวันแรงงาน จะได้รับค่าล่วงเวลา 3 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
ตัวอย่างการคำนวณค่าแรง ทำงานวันแรงงาน
พนักงานประจำเงินเดือน 30,000 บาท ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
ในวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันหยุด แต่พนักงานคนนี้ไต้องมาทำงานตามปกติ
พนักงานคนนี้จะได้รับค่าจ้างสำหรับวันแรงงาน 30,000 บาท / 30 วัน จากนั้นนำไป / 8 จะตกค่าแรงชั่วโมงละ = 125 บาท รวมเป็น 1,000 บาท
กรณีพนักงานคนนี้ต้องทำงานล่วงเวลาในวันแรงงาน 2 ชั่วโมง
พนักงานคนนี้จะได้รับค่าล่วงเวลา 3 เท่า = 125 บาท/ชั่วโมง x 3 x 2 ชั่วโมง = 750 บาท
รวมค่าจ้างสำหรับวันแรงงานและค่าล่วงเวลา พนักงานคนนี้จะได้รับ 750 บาท + 1,000 บาท = 1,750 บาท
อ่านข่าวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง