ข่าว

ระวัง 5 บัญชีอันตราย ตำรวจเตือน ห้ามรับแอด-คุยแชต-โอนเงิน

ร้อนถึง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนประชาชน ระวังภัย 5 รูปแบบบัญชีโซเชียล แก๊งมิจฉาชีพ หลอกทำให้สูญทรัพย์ หนุ่มหล่อสาวสวย อวดร่ำอวดรวย แอคหลุม แอคปลอม ไปจนหน่วยงานรัฐปลอม ขอรับช่วยเหลือ

ดูแล้วไปเช็ก เคยหรืกำลังเจอ เพื่อนในบัญชีโซเชียลเข้าข่ายพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย ดั่งเช่นที่ล่าสุด สำนักงาตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมาให้ข้อมูลเตือนภัยของเหล่มิจฉาชีพ ที่มักสร้างบัญชีปลอมขึ้นมา เพื่อไว้ติดต่อและหลอกลลวงเหยื่อนผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งงานนี้ พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้เปิดเผยถึง รูปแบบของบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ที่ต้องระวัง เพราะอาจเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งมี 5 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

5 บัญชีโซเชียลมิจฉาชีพ
ภพาประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

1. หนุ่มหล่อสาวสวย แอดมาขอเป็นเพื่อน

  • มิจฉาชีพแนวนนี้มักเป็นบุคคลที่เหยื่อไม่เคยรู้จักกันมาก่อน โดยจะพยายามสานสัมพันธ์ในเชิงชู้สาว ซึ่งจะนำไปสู่การหลอกลวงเอาทรัพย์สิน หรือหลอกให้ส่งภาพลามก

2. บัญชีโซเชียล อวดร่ำอวดรวย

  • มักจะมีการโพสต์ในทำนองว่า “ได้เงินจากการลงทุน” หรือทำธุรกิจบางอย่าง ซึ่งได้ผลตอบแทนสูง ซึ่งจะนำไปสู่การหลอกลวงชวนลงทุน หรือ Hybrid Scam

3. ต่างชาติวัยเกษียณ

  • ส่งข้อความมาหาหรือแอดท่านเป็นเพื่อน เพื่อสานสัมพันธ์เชิงชู้สาว จากนั้นอ้างว่าจะย้ายมาอยู่ประเทศไทย และจะส่งทรัพย์สินมาให้ แต่ติดอยู่ที่ศุลกากร หลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อโอนเงินให้มิจฉาชีพ

4. หน่วยงานรัฐ(ปลอม)รับช่วยเหลือ

  • ลงโฆษณาผ่านช่องทางต่าง ๆ อ้างหน่วยงานของรัฐเปิดบริการรับแจ้งความ หรือให้ความช่วยเหลือในการติดตามทรัพย์สินจากคนร้าย จากนั้นจะหลอกลวงให้เหยื่อโอนเงิน โดยอ้างว่าเป็นขั้นตอนในการติดตามเงินคืน หรือค่าใช้จ่ายในการติดตามคดี

5. “แอคหลุม แอคปลอม”

  • แชร์แต่ข่าว ร้านอร่อย ที่เที่ยวสวย แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร แอดท่านมาเป็นเพื่อน ต้องระวัง เพราะอาจเป็นมิจฉาชีพที่ฉวยโอกาสเข้ามาส่องบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของท่าน หรือเอาภาพของท่านไปใช้ในการสร้างบัญชีปลอมของมิจฉาชีพ

5 บัญชีโซเชียลอันตราย

เช็คก่อนโอน! วิธีเช็กว่าชื่อบัญชีนี้เป็นมิจฉาชีพหรือไม่

ในยุคดิจิทัล การโอนเงินออนไลน์เป็นเรื่องสะดวก แต่ก็แฝงไปด้วยอันตรายจากมิจฉาชีพที่ใช้บัญชีธนาคารเพื่อหลอกลวง หลายคนอาจเคยเจอประสบการณ์โอนเงินไปแล้วไม่ได้สินค้า หรือถูกหลอกให้ลงทุนสูญเสียเงิน

เพื่อป้องกันตัวจากมิจฉาชีพ Thaiger ขอแนะนำวิธีเช็กว่าชื่อบัญชีที่เรากำลังจะโอนเงินไปนั้น เป็นมิจฉาชีพหรือไม่

1. เช็คผ่านเว็บไซต์ “blacklistseller”

เว็บไซต์ https://www.blacklistseller.com/ รวบรวมรายชื่อบัญชีมิจฉาชีพจากผู้ใช้งานทั่วไป เพียงค้นหาชื่อบัญชีหรือเลขบัญชี เว็บไซต์จะแสดงข้อมูลว่าบัญชีนั้นถูกแจ้งเตือนว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่

2. เช็คผ่านเว็บไซต์ “ฉลาดโอน”

เว็บไซต์ [URL ที่ไม่ถูกต้องถูกนำออกแล้ว] เป็นเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย พัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันอาชญากรรมออนไลน์ สามารถค้นหาชื่อบัญชี เบอร์โทรศัพท์ หรือ URL เว็บไซต์ เพื่อตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับมิจฉาชีพหรือไม่

3. ค้นหาข้อมูลใน Google

ลองค้นหาชื่อบัญชี เบอร์โทรศัพท์ หรือชื่อผู้ขายใน Google บ่อยครั้งจะพบข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการโกงของมิจฉาชีพ

4. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้านค้า

ก่อนโอนเงิน ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้านค้า เช่น

  • มีหน้าร้านจริงหรือไม่
  • มีรีวิวจากลูกค้าจริงหรือไม่
  • ช่องทางการติดต่อสะดวก รวดเร็ว

5. อย่ารีบโอนเงิน

หากรู้สึกไม่มั่นใจ อย่ารีบโอนเงิน ควรติดต่อสอบถามกับผู้ขายเพิ่มเติม หรือขอโอนเงินแบบปลอดภัยผ่าน escrow service

6. แจ้งเบาะแสเมื่อพบมิจฉาชีพ

หากพบเบาะแสของมิจฉาชีพ สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่

  • ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) โทร. 1599
  • เว็บไซต์ https://thaipoliceonline.go.th/

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button