เกร็ดความรู้ปฏิทินสากล วันอธิกวาร และ ปีอธิกสุรทิน คืออะไร เผยกลไกอันชาญฉลาดเพื่อเรียงร้อยและคำนวณวันเวลาต่าง ๆ ให้แม่นยำยิ่งขึ้น ผ่านปฏิทินที่เราคุ้นเคย ที่หลายคนอาจเคยสังเกตเห็นว่าบางปีมี 366 วัน แทนที่จะเป็น 365 วันปกติ แต่ปีพิเศษที่มี 366 วันนี้ (29 กุมภาพันธ์ 2567) ทำไมถึงต้องเป็น ปีอธิกสุรทิน เข้ามาอ่านในนี้กันได้เลยครับ
เปิดที่มา วันที่ 29 กุมภาพันธ์ วันอธิกวาร-ปีอธิกสุรทิน คืออะไร
สำหรับที่มาของ “ปีอธิกสุรทิน” อ่านว่า [อะ-ทิก-กะ-สุ-ระ-ทิน] (อธิก (เกิน) + สุร (พระอาทิตย์) + ทิน (วัน) ภาษาอังกฤษ Leap Years คือ ปีที่มี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วันเหมือนปีปกติ โดยเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เข้ามาอีกหนึ่งวัน เพื่อชดเชยเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งจริง ๆ แล้วใช้เวลาประมาณ 365.2422 วัน ปฏิทินปกติมี 365 วัน หมายความว่า 0.2422 วันที่เหลือสะสมไปเรื่อยๆ ทุกๆ ปี ส่วนวันอธิกวาร จะเป็น วันที่ 29 กุมภาพันธ์ หรือ Leap Day โดยในปีนี้วันอธิกวาร จะตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024)
ย้อนไปเมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์ กำหนดให้ปี ค.ศ. 46 เป็นปีอธิกสุรทิน และเพิ่ม 1 วันในเดือนกุมภาพันธ์ ต่อมา ปี ค.ศ. 1582 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 ปฏิรูประบบปฏิทิน เปลี่ยนจากปีจูเลียนเป็นปีเกรกอเรียน และใช้จนถึงปัจจุบัน
ดังนั้นแล้ว ปีอธิกสุรทิน จึงเป็นกลไกสำคัญในการปรับเวลาให้สอดคล้องกับธรรมชาติ สะท้อนภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของมนุษย์ ส่งผลต่อระบบปฏิทิน ฤดูกาล และระบบการคำนวณต่าง ๆ ทั้งนี้ การเข้าใจปีอธิกสุรทิน ช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของโลก เข้าใจระบบปฏิทิน และเข้าใจวัฒนธรรมต่าง ๆ บนโลก
วิธีหาปีอธิกสุรทิน 366 วัน
ให้นำปี ค.ศ. ตั้งหารด้วย 4 หากว่าหารลงตัว เป็นปีอธิกสุรทิน ถ้าหารไม่ลงตัว เป็นปีปกติ เช่น 2024 / 4 = 506 (หารลงตัวไม่มีเศษ)
ปีที่มี วันที่ 29 กุมภาพันธ์
- ค.ศ. 2000 / พ.ศ. 2543
- ค.ศ. 2004 / พ.ศ. 2547
- ค.ศ. 2008 / พ.ศ. 2551
- ค.ศ. 2012 / พ.ศ. 2555
- ค.ศ. 2016 / พ.ศ. 2559
- ค.ศ. 2020 / พ.ศ. 2563
- ค.ศ. 2024 / พ.ศ. 2567
- ค.ศ. 2028 / พ.ศ. 2571
- ค.ศ. 2032 / พ.ศ. 2575
- ค.ศ. 2036 / พ.ศ. 2579
- ค.ศ. 2040 / พ.ศ. 2583
- ค.ศ. 2044 / พ.ศ. 2587
- ค.ศ. 2048 / พ.ศ. 2591
สรุปว่า ปีอธิกสุรทิน คือปีที่มี 366 วัน เพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เพื่อชดเชยเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ วิธีการหาปีอธิกสุรทิน คือ นำปี ค.ศ. ตั้งหารด้วย 4 หารลงตัว ปีนั้นเป็นปีอธิกสุรทิน ปีอธิกสุรทินส่งผลต่อปฏิทิน ฤดูกาล และระบบการคำนวณต่าง ๆ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
- เดือนกุมภาพันธ์ 2567 มี 29 วัน สาเหตุทำไมมีแค่ 4 ปีครั้ง
- รู้แล้ว คนเกิดวันที่ 29 กุมภาพันธ์ นับอายุอย่างไร ในปีที่มีแค่ 28 วัน