ดูดวงไลฟ์สไตล์

เปิดที่มา “ความเชื่อปีชง” ต้นกำเนิด วิธีแก้ดวงชะตา หนุนชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

เผยที่มาของ ความเชื่อเรื่องปีชง 2567 เมื่อพูดถึงความเชื่อแล้ว เรื่องนี้อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ถูกส่งต่ออิทธิพลจากจีน หลอมรวมให้เป็นความคิดที่หนักแน่น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคน มีทั้งเรื่องที่ดี และไม่ดี ช่วงอายุเท่าไหร่ที่ควรระวัง พร้อมวิธีแก้ปีชง และสถานที่ต่าง ๆ ให้ไปทำบุญกัน เช็กเลยที่นี่

ประวัติของ ความเชื่อเรื่องปีชง

ต้นกำเนิดของความเชื่อเรื่องปีชง เป็นความเชื่อพื้นบ้านของชาวจีน มาจากหลักคิดของขงจื้อ ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีปีศาจ สิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ถูกพูดถึง และอยู่คู่กับคนจีนมาอย่างยาวนาน หล่อหลอมความคิด จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประเพณีไปแล้ว

อีกทั้งความเชื่อเรื่องปีชง มีรากฐานจากลัทธิเต๋าที่เชื่อเรื่องดวงชะตาอย่างเต็มตัว ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับศาสนาพุทธ หรือแม้แต่สมัยพุทธกาล ก็ไม่ได้มีบันทึกเรื่องปีชงเอาไว้ จุดเริ่มต้นแรกที่คนไทยมีความเชื่อเรื่องปีชง คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เริ่มมีการอพยพของชาวจีน มาตั้งถิ่นฐานที่ไทย ความคิดต่าง ๆ ถูกหลอมรวม และเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จากจำนวนของคนจีนที่อพยพเข้ามา และส่งอิทธิพลไปสู่วงกว้าง ของคนไทยศาสนาพุทธ ที่แม้จะไม่เชื่อเรื่องปีชงก็ตาม

จนปัจจุบัน ความเชื่อเรื่องปีชง ก็ยังคงถูกแพร่กระจาย และมีอิทธิพลอย่างมาก คนจีนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ไทยก็มีจำนวนมากขึ้น ความเชื่อเหล่านี้ถูกส่งต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลาน เสมือนเป็นประเพณีส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตนั่นเอง

ปีชง คือ ปีอะไร

หากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ปีชงก็คือ การที่เราดวงตก ทำอะไรก็มีแต่อุปสรรค ไม่ราบรื่น มีเคราะห์ ดวงซวย อื่น ๆ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้มาจากชาวจีนที่นับถือ องค์ไท้ส่วยเอี๊ย หรือเทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา เชื่อกันว่า องค์ไท้ส่วยเอี๊ยจริง ๆ แล้วมีทั้งหมด 60 ตน แต่ละตนจะทำหน้าที่เหมือนเป็นแม่ทัพสวรรค์คอยพิทักษ์เง็กเซียนฮ่องเต้ หากบูชา หรือขอพรตามหลักของคนที่เชื่อ ก็จะทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

ปีชง ตอนอายุเท่าไหร่

ตามความเชื่อ ปีชง เรียกอีกอย่างคือ เบญจเพส อย่างที่หลายคนรู้กัน คือ ช่วงอายุ 25 ปี เหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่จำแต่อายุ 25 เพราะด้วยเป็นช่วงวัยที่กำลังโตเป็นผู้ใหญ่ การใช้ชีวิตต่าง ๆ อาจจะมีความท้าทายอยู่บ้าง เลยส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง แต่ความจริงแล้ว ตามหลักโหราศาสตร์สมัยใหม่ มีการนับเบญจเพสเป็นแบบอนุกรม คือ อายุย่าง 13, 25, 37, 49, 61 โดยการนับบวกเพิ่ม 12 จำนวน และถูกแบ่งออกเป็น 5 ช่วงอายุ ดังนี้

  • ช่วงที่ 1 อายุ 12 ย่าง 13 ปี
  • ช่วงที่ 2 อายุ 24 ย่าง 25-26 ปี
  • ช่วงที่ 3 อายุ 36 ย่าง 37 ปี
  • ช่วงที่ 4 อายุ 48 ย่าง 49 ปี
  • ช่วงที่ 5 อายุ 60 ย่าง 61 ปี

วิธีแก้ปีชง 2567

1. ไหว้องค์เทพไท้ส่วย ตามความเชื่อของชาวจีน การไหว้องค์เทพไท้ส่วย สามารถช่วยบรรเทาเคราะห์กรรมเบาบางลงได้ และควรที่จะต้องไปไหว้เป็นอย่างยิ่ง และเสริมสิริมงคลให้กับตัวเอง

2. ทำบุญช่วยชีวิตสัตว์ต่าง ๆ เช่น การไถ่ชีวิตโค – กระบือ ปล่อยนก ปล่อยปลา การบริจาคโลหิต อื่น ๆ

3. ไหว้พระ 9 วัด ช่วยเสริมสิริมงคลให้ชีวิต วัดจีนสำคัญ ๆ รวมถึงสถานที่ที่แนะนำให้เดินทางไปไหว้แก้ปีชง ได้แก่

  • วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพฯ
  • วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) จ.นนทบุรี
  • วัดทิพยวารีวิหาร (วัดกัมโล่วยี่) กรุงเทพฯ
  • วัดโพธิ์แมนคุณาราม (วัดโพวมิ้งป่ออึงยี่) กรุงเทพฯ
  • วัดมังกรบุปผาราม (วัดเล่งฮัวยี่) จ.จันทบุรี
  • วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม (ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ) จ.ชลบุรี
  • ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า กรุงเทพ ฯ

4. หากเป็นไปได ควรถือศีลกินมังสวิรัติ และปฏิบัติกรรมฐาน เข้าวัด และทำบุญเป็นประจำ

อย่างที่เรารู้กัน คนไทยมีความเชื่อเรื่องดวงชะตาอย่างมาก เวลาเกิดอะไรขึ้น ก็จะพูดถึงโชคชะตาก่อนเป็นอันดับแรก หลายคนอาจมองว่า เป็นเรื่องงมงาย หรืออุปทานหมู่ ซึ่งเรื่องแบบนี้ก็ไม่เข้าใครอออกใคร แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคล หากความเชื่อนั้นทำให้ตัวเองสบายใจ และไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ก็เป็นสิ่งที่ดี อีกทั้งความสำเร็จจะเกิดผลได้ ก็ต้องลงมือทำด้วยเช่นกัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Titan Siripong

สวัสดีครับ ผมไตตั้น นักเขียนคอนเทนต์ ฝึกหาประสบการณ์ที่ Thaiger ศึกษาอยู่คณะวิทยาการสารสนเทศ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สนใจในเรื่องข่าวบันเทิง เพลง ภาพยนตร์ และซีรีส์ ถ่ายทอดผ่านการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ และเข้าใจง่าย การเรียนรู้สิ่งใหม่เป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่พร้อมที่จะเผชิญอยู่เสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx