วิธีสังเกตหมึกบลูริง ลักษณะคล้ายหมึกสาย แต่มีพิษรุนแรงกว่าพิษงู 20 เท่า
หมึกบลูริง เป็นสัตว์มีพิษที่รุนแรง แต่น้อยคนที่จะรู้จัก วิธีสังเกตหมึกบลูริง ว่ามีลักษณะอย่างไร อันตรายแค่ไหน ทำไมถึงต้องระวัง แท้จริงแล้วกินได้จริงหรือเปล่า วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว
หมึกบลูริง มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า หมึกสายวงน้ำเงิน เป็นสัตว์สายพันธุ์ยักษ์ แต่ที่จัดอยู๋ในหมึกขนาดเล็ก มีจุดเด่น คือ สีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงิน หรือสีม่วง ซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม พื้นลำตัวเป็นสีขาว หรือสีเขียว ภายนอกที่มีความสวยงาม แต่แฝงไปด้วยพิษร้ายในตัว
วิธีสังเกต หมึกบลูริง
เป็นหมีกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร มีลายวงแหวนสีฟ้าสะท้อนแสงเล็ก ๆ ตามลำตัว และหนวด ซึ่งไม่เหมือนกับ “หมึกอิกคิว” ที่จะมีลายวงแวหวานที่ลำตัวเพียง 1 -2 วง และแตกต่างจากหมึกสาย หมึกกระดอง หรือหมึกกล้วย ที่เราคุ้นเคยแน่นอน
พิษของหมึกบลูริง มีชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) มีลักษณะที่คล้ายกับพิษของปลาปักเป้า สามารถพบได้ในต่อมน้ำลาย ปาก หนวด ลำไส้ และต่อมหมึก ทำให้มีผลต่อระบบประสาทโดยตรง ทำให้เป็นอัมพาต ระบบหายใจล้มเหลว และอาจทำให้เสียชีวิตได้
ถึงแม้จะบอกว่า หมึกบลูริง สามารถทานได้ โดยการผ่านความร้อน แต่จริง ๆ แล้วพิษสามารถทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียสไม่ควรทานเลยด้วยซ้ำ หากได้รับสารพิษเพียง 1 มิลลิกรัม เข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลถึงชีวิตได้ เพราะพิษของหมึกบลูริง มีความรุนแรงมากกว่าพิษจากงูเห่า 20 เท่า เลยทีเดียว เหตุผลเหล่านี้ หมึกบลูริง จึงไม่ควรนำมารับประทานกัน
อีกทั้ง วงการอาหารทะเลช่วงหลังมีการนำ หมึกบลูริง มาทำเป็นวัตถุดิบมากขึ้น เมื่อได้ข้อรับมูลแล้ว ช่วยเป็นหูเป็นตา ช่วยเตือนให้ระวังกัน ทางที่ดี ควรสังเกตให้ออกว่า หมึกตามท้องตลาดที่เขาขายกัน เป็นหมึกทั่วไปที่กินได้ หรือเป็นหมึกบลูริง ที่มีพิษอันตรายนั่นเอง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อ.เจษฎ์ โพสต์เตือน พิษหมึกบลูริง อันตรายถึงชีวิต ห้ามกินเด็ดขาด!
- อย่าสับสน! จ่าพิชิตเผยความต่าง ‘หมึกบลูริง’ กับ ‘หมึกอิคคิว’
อ้างอิง : คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง, วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ