แฟชั่นและความงามไลฟ์สไตล์

3 นิสัยทำแล้ว ‘ฟันเหยินตอนโต’ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก่อนเสียเงินไปดัดฟัน

สำรวจพฤติกรรมที่ทำให้ฟันเหยิน ดูดนิ้ว ใช้ลิ้นดันเพดานหรอดุนฟัน ใช้ฟันหน้ามากเกินไป เสี่ยงทำฟันยื่นแม้ไม่ได้เป็นมาแต่เกิดจากกรรมพันธุ์

ปัญหาฟันเหยิน (Overjet) ภาวะที่ทำให้ใบหน้าของคนเราถูกลดทอนความงาม เพราะฟันบนด้านหน้ายื่นออกจากปาก หรือครอบปิดฟันหน้าด้านล่าง ระดับของฟันเหยินบางครั้งก็ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ทำให้เสียความมั่นใจในรูปลักษณ์ นำไปสู่พฤติกรรมขี้อาย ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสเนื่องจากไม่กล้ายิ้มโชว์ฟันเพราะกลัวถูกล้อ กลายเป็นปมด้อยอยู่ในใจ

สำหรับภาวะฟันเหยินนั้น หลายคนอาจจะทราบดีว่าสามารถทรงต่อผ่านทางกรรมพันธุ์ได้ โดยพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายที่มีความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและกระโหลกศีรษะ ก็อาจทำให้ลูกหลานเกิดมามีปัญหาฟันไม่สบกัน แต่บางคนก็ไม่ได้มีปัญหาฟันเหยินมาตั้งแต่เกิด แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตนั้นส่งผลให้ประปัญหาฟันยื่นตอนโตได้เช่นเดียวกัน วันนี้เดอะไทยเกอร์ชวนคุณมาสำรวจว่ากิจวัตรประจำวันของคุณส่งผลกระทบให้มีโอกาสเกิดฟันเหยินหรือไม่

3 สาเหตุทำให้ฟันเหยิน แม้ไม่ได้เป็นตั้งแต่เกิด

1. การดูดนิ้ว

การดูดนิ้วถือเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้เราฟันเหยินตั้งแต่เด็ก เนื่องจากในช่วงอายุตั้งแต่ 4 เดือน เป็นช่วงที่ฟันน้ำนมกำลังงอก หากเด็กติดนิสัยดูดนิ้วจะทำให้ฟันที่เริ่มงอกออกมานั้นอยู่องศาที่ผิดปกติ เพราะแรงกดและแรงดูดนิ้วจะส่งผลต่อฟันโดยตรง ทั้งนี้พฤติกรรมดูดนิ้วก็สามารถในผู้ใหญ่ได้เช่นเดียวกัน บางคนยังคงนอนแล้วเผลอดูดนิ้วตัวเองก็มี แม้จะโตและมีกระดูกฟันที่แข็งแรงแล้ว แต่หากทำบ่อยเข้าก็ส่งผลให้ฟันเหยินตอนโตได้

ฟันเหยินตอนโต

2. การใช้ลิ้นดันเพดานหรอดุนฟัน

พฤติกรรมใช้ลิ้นดันเพดานหรือดุนฟันนั้นเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับเด็กอาจเป็นพฤติกรรมที่ทำจนติดเป็นนิสัยไม่ต่างจากการดูดนิ้วมือ หรือดูดจุกนมปลอม แต่ปัญหากันดุนฟันในผู้ใหญ่นั้นบางครั้งอาจเกิดจากความเครียดที่ทำให้มีพฤติกรรมเหล่านี้ได้โดยไม่รู้ตัว หรือลักษณะทางกายภาพบางอย่างที่ทำให้ช่วงเวลานอนหลับอาจเกิดภาวะลิ้นดุนฟัน ก็จะสามารถทำให้ผู้ใหญ่มีภาวะฟันเหยินได้เช่นเดียวกับเหล่าเด็ก ๆ

สาเหตุที่ทำให้ฟันเหยินตอนโต

3. การใช้ฟันหน้าขบกัดมากเกินไป

ปกติแล้วคนเรามักจะมีความรู้สึกว่าฟันเหยินเพิ่มขึ้นทุก เนื่องจากแรงกัดอาหารหรือการใช้หน้ากัดแทะสิ่งใด ๆ ก็ตาม ส่งผลให้ฟันหน้าบนได้รับแรงผลักจะเกิดเป็นความรู้สึกว่าเรากำลังฟันยื่นออกไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกับคนที่มักจะใช้ฟันหน้ากัดแทะอาหารอยู่บ่อย ๆ ย่อมทำให้มีปัญหาฟันเคลื่อนตามมาได้ ดังนั้นเพื่อลดโอกาสเกิดภาวะฟันเหยินตอนโตก็ควรจะใช้ฟันในการรับประทานอาหารอย่างทะนุถนอม

ฟันเหยินตอนโต เกิดจากอะไร

ปัจจุบันมีนวัตกรรมเรื่องการดัดฟันเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสำหรับคนที่มีภาวะฟันเหยิน ไม่ว่าจะฟันยื่นมากหรือน้อย เพียงแค่เข้าไปปรึกษาทันตแพทย์ที่คลินิกทันตกรรมก็จะเจอทางออกของปัญหาฟันเหยิน แต่การเลี่ยงพฤติกรรมที่กล่าวไปข้างต้นก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ไม่ทำเกิดภาวะฟันเหยินตอนโต เพราะฉะนั้นใครที่อยากมีฟันสวย ๆ ไม่อยากเสียเงินดัดฟัน ก็ห้ามทำ 3 พฤติกรรมด้านบนเด็ดขาด

Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button