ข่าวข่าวการเมือง

เปิดประวัติจุฬาราชมนตรี 19 คนของไทย ที่มาและความเป็นไปในปัจจุบัน

จุฬาราชมนตรี ผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ถือเป็นอีกตำแหน่งสำคัญของประเทศไทย เป็นตำแหน่งฝ่ายมุสลิมให้ข้อปรึกษาด้านศาสนาอิสลามแก่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะแก่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงวัฒนธรรมในปัจจุบัน

ภาพจาก goole search จุฬามนตรี

 

ที่มาของจุฬามนตรี

ตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี เริ่มมาตั้งแต่สมัย สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำเนียบศักดินาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 – 2031 บอกว่า “จุฬาราชมนตรี” บางแห่งเรียกว่า “จุลาราชมนตรี” กรมท่าขวาเป็นหัวหน้าฝ่ายแขก ไม่ปรากฏตัวตนว่าเป็นใครแผ่นดินสมเด็จพระเอกทศรถ พ.ศ. 2148 – 2163 ว่ามีตัวตนปรากฏอยู่ แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร แต่ที่แน่ ๆ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2163 – 2171 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเฉกอะหะหมัด เข้ารับราชการ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเฉกอะหะหมัดรัตนราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวา จึงนับได้ว่าท่านเฉกอะหะหมัด เป็นปฐมจุฬาราชมนตรีแห่งกรุงสยาม ทำหน้าที่เป็นทั้งกระทรวงการต่างประเทศ ควบคุมเกี่ยวข้องกับชาวต่าง ประเทศ การรับแขกเมือง เก็บภาษีอากร สินค้าขาเข้า สินค้าขาออก เรื่องการเดินเรือพาณิชย์ระหว่างประเทศกับควบคุมดูแลเกี่ยวกับกิจการทางด้านศาสนาอิสลามในราชอาณาจักรสยาม

ในปัจจุบันจุฬาราชมนตรีทำหน้าที่อะไรบ้าง

หน้าที่ปัจจุบันของจุฬาราขมนตรี เริ่มต้นจากรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเมื่อ พ.ศ.2488 โดยให้เป็นที่ปรึกษาราชการขององค์พระมหากษัตริย์ ในด้านกิจการศาสนาอิสลาม กระทั่ง พ.ศ.2491 รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนให้จุฬาราชมนตรีเป็นที่ปรึกษากรมการศาสนาในกระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ดีหลังจากที่การประกาศใช้ พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ได้มีการระบุไว้ในกฎหมายนี้ว่า จุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย จึงมีหน้าที่ดังนี้

  • ให้คำปรึกษา และความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
  • แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติศาสนาอิสลาม
  • ประกาศผลการดูดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา
  • ออกประกาศเกี่ยวกับวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
  • เป็นประธานอำนวยการจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย

จุฬาราชมนตรี 19 คน ในประเทศไทย มีใครบ้าง

จุฬาราชมนตรี คนที่ 1

เจ้าพระยาบวรราชนายก เฉกอะหะหมัด

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดเมื่อ พ.ศ. 2086 ณ เมืองกุม ประเทศอิหร่าน

เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2174 รวมอายุ 88 ปี

ประวัติ : เมื่อ พ.ศ. 2143 รัชกาลที่ 20 แห่งกรุงเทพวารวดีศรีอยุธยา เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นปีที่ 11 ท่านเฉกอหะหมัดกับน้องชายชื่อเฉกหะหมัดสะอี๊ด ได้เดินทางเข้ามาทำการค้าขายที่ตำบลท่ากายีใกล้กรุงศรีอยุธยา การค้าขายได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเฉกอะหมัด ซึ่งมีอายุ 87 ปี เป็น เจ้าพระยาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทย

จุฬาราชมนตรี คนที่ 2

พระยาจุฬาราชมนตรี แก้ว

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

ไม่ปรากฎปีที่เสียชีวิต

ประวัติ : พระยาจุฬาราชมนตรีแก้ว ในสมัยแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช นับเป็นหัวหน้ามุสลิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาคนที่ 2 ต่อจากท่านจุฬาราชมนตรีพระยาจุฬาราชมนตรีเฉกอะหมัด นายแก้วซึ่งเคยถวายตัวเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช จนกระทั่งต่อมาได้รับการเลื่อนยศเป็นหลวงศรียศ และต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น พระยาจุฬาราชมนตรีเจ้ากรมท่าขวา

จุฬาราชมนตรี คนที่ 3

พระยาจุฬาราชมนตรี สน

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

ไม่ปรากฎปีที่เสียชีวิต

ประวัติ : พะยาจุฬาราชมนตรีสน ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในสมัยพระเจ้าบรมโกศ เป็นบุตรของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ พี่ชายของพระยาจุฬาราชมนตรี ได้เข้ารับราชการตั้งแต่สมัยพระเจ้าบรมโกศในตำแหน่ง“ หลวงศรียศ” ในกรมท่าขวาและได้รับเลื่อนเป็นพระยาจุฬาราชมนตรีเมื่ออาของท่านคือพระยาจุฬาราชมนตรี

จุฬาราชมนตรี คนที่ 4

พระยาจุฬาราชมนตรี เชน

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

ไม่ปรากฎปีที่เสียชีวิต

ประวัติ : ท่านจุฬาราชมนตรีคนที่ 4 แห่งกรุงศรีอยุธยา คือพระยาจุฬาราชมนตรีเชน เป็นบุตรเจ้าพระยาเพชรพิชัยใจ ซึ่งเป็นเชื้อสายขอท่านเฉกอะหมัด ท่านจุฬาราชมนตรีเชนนี้ได้ว่าการทั้งกรมท่ากลางและกองอาสาจาม ได้รับพระราชทานเกียรติยศเสมอเจ้าพระยา พระคลัง แต่มิได้ตั้งให้เป็นเจ้าพระยาเท่านั้น ได้สืบตำแหน่งจุฬาราชมนตรีต่อจากท่านในเวลาถัดมาซึ่งตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระยาจุฬาราชมนตรีเชนคนนี้ นับเป็นตำแหน่งสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงมีจุฬาราชมนตรีเพียง 4 ท่านเท่านั้น

จุฬาราชมนตรี คนที่ 5

พระยาจุฬาราชมนตรี ก้อนแก้ว มุฮัมมัดมะอ์ซูม

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

เสียชีวิตเมื่อในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่ออายุได้ 82 ปี

ประวัติ : พระยาจุฬาราชมนตรีก้อนแก้ว มีชื่อทางศาสนาอิสลามว่า“ มิระชาโมฮัมหมัดมะอ์ซูม” ท่านรับราชการมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ โดยถวายตัวเป็นมหาเล็ก และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย พ.ศ. 2310 ท่านได้หลบหนีข้าศึกมาได้และถวายตัวรับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็น“ หลวงศรีนวรัตน์” ครั้งต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น“ พระยาจุฬาราชมนตรี” เป็นคนที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และนับเป็นจุฬาราชมนตรีลำดับที่ 5 แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานที่ดินสร้าง“ กุฎีเจ้าเซ็น” ขึ้นที่ข้างพระราชวังเดิม เรียกว่า“ กุฎีหลวง” ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

จุฬาราชมนตรี คนที่ 6

พระยาจุฬาราชมนตรี อากาหยี่

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

เสียชีวิตลงในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

ประวัติ : พระยาจุฬาราชมนตรีอากาหยี่ เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรีเชน และเป็นน้องชายของพระยาจุฬาราชมนตรีก้อนแก้ว ท่านอากาหยี่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจุฬาราชมนตรีคนที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ต่อจากพระยาจุฬาราชมนตรีก้อนแก้วผู้เป็นพี่ชาย

จุฬาราชมนตรี คนที่ 7

พระยาจุฬาราชมนตรี เถื่อน มุฮัมมัดกาซิม

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

ไม่ปรากฎปีที่เสียชีวิต

ประวัติ : ท่านพระยาจุฬาราชมนตรีเถื่อน เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรีก้อนแก้ว ท่านเป็นทั้งนักการทหาร นักการทูต และนักการศาสนา ท่านผู้นี้คือ ผู้สืบตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ 3 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านจุฬาราชมนตรีเถื่อน มีชื่อว่า“ อามิรระชามุฮัมมัดการีม”

จุฬาราชมนตรี คนที่ 8

พระยาจุฬาราชมนตรี น้อย มุฮัมมัดบาเกร

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

ไม่ปรากฎปีที่เสียชีวิต

พระยาจุฬาราชมนตรีน้อย ชื่ออิสลามว่า“ มูสำหมัดบาเกร” รับราชการในกรมท่าขวา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยได้รับการโปรดเกล้าฯพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น“ หลวงศรีนวรัตน์” ครั้นต่อมาเมื่อพระยาจุฬาราชมนตรีนาม ถึงอสัญกรรมแล้วโปรดเกล้าฯพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าขวา นับเป็นจุฬาราชมนตรีลำดับที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นลำดับที่ 9 แห่งราชอาณาจักรไทย

จุฬาราชมนตรี คนที่ 9

พระยาจุฬาราชมนตรี นาม มุฮัมมัดตะกี

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

ถึเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 74 ปีในราวกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระยาจุฬาราชมนตรีนาม เป็นจุฬาราชมนตรี คนที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นคนที่ 8 แห่งราชอาณาจักรไทย มีชื่ออิสลามว่า“ มิรซามุฮัมมัดตะกี” ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จเพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระราชเศรษฐี และต่อมาอีก 2 ปีก็ได้เลื่อนเป็นพระยาจุฬาราชมนตรี แต่ยังมิได้ว่าที่จุฬาราชมนตรีเพราะบิดายังมีชีวิตอยู่และยังดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีอยู่ด้วย ต่อมาบิดาถึงแก่อนิจกรรมแล้ว จึงได้เลื่อนเป็นพระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้ว่าการคลังวิเศษในส่วนราชการต่างประเทศในกรมท่าหลวง

จุฬาราชมนตรี คนที่ 10

พระยาจุฬาราชมนตรี สิน กุลาฮูเซ็น

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

เสียชีวิตเมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน ร.ศ.129 (2453)

ประวัติ : พระยาจุฬาราชมนตรี สิน มีชื่ออิสลามว่า “มิรชากุลามฮูเซ็น” เมื่ออายุได้ 18 ปี ก็ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็นนายฉลองไนยนารถ มหาดเล็กเวรศักดิ์ ต่อมาในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชเศรษฐี และในระยะหลังท่านได้ศึกษาวิชากฎหมายเพิ่มเติมด้วย จึงมีโอกาสได้รับราชการในกระทรวงยุติธรรมและได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระราชเศรษฐี” เมื่ออายุเพียง 30 ปีเท่านั้น ได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารแผ่นดินเป็น กระทรวง ทบวง กรม ตามแบบอย่างอารยประเทศ (รัชกาลที่5) และมีการตั้งศาลยุติธรรม พระราชเศรษฐีสิน ก็ได้เลื่อนเป็นพระยาจุฬาราชมนตรี และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างๆในกระทรวงยุติธรรม และท่านได้ว่าที่จุฬาราชมนตรี

จุฬาราชมนตรี คนที่ 11

พระยาจุฬาราชมนตรี สัน อหะหมัดจุฬา

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดเมื่อ พ.ศ.2411

เสียชีวิตเมื่อ วันศุกร์ที่22 เมษายน 2466 อายุได้57 ปี

ประวัติ : พระยาจุฬาราชมนตรีสัน เมื่อครั้งเยาว์วัยได้ไปศึกษาอบรมระเบียบงานราชการกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) ซึ่งต่อมาท่านสันได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็น “หลวงราชเศรษฐี” สังกัดกรมท่าขวากระทรวงการต่างประเทศ ครั้นเมื่อกระทรวงยุติธรรมได้ตั้งศาลยุติธรรมขึ้น หลวงราชเศรษฐีจึงได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งพนักงานดูเงิน (ฝ่ายการเงิน) แล้วเลื่อนขึ้นเป็นจ่าศาลต่างประเทศ

จุฬาราชมนตรี คนที่ 12

พระจุฬาราชมนตรี กษม อหะหมัดจุฬา

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2469 อายุเพียง37ปี

ประวัติ : เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นคนที่ 12 แห่งราชอาณาจักรไทย มีชื่อทางศาสนาอิสลามว่า “มูฮัมหมัดระชา” ท่านเจ้าคุณบิดาได้นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สังกัดกรมท่าขวา กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาในรัชกาลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ย้ายมารับราชการอยู่กระทรวงยุติธรรมในตำแหน่งรองเจ้ากรมกองแสตมป์ เป็นหลวงศรีนวรัตน์เกษม แล้วเป็นรองอำมาตย์เอกและเมื่อพระยาจุฬาราชมนตรีสัน ถึงแก่อสัญกรรมจึงได้เลื่อนเป็นเจ้ากองแสตมป์ กระทรวงยุติธรรมและได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาจุฬาราชมนตรีว่าที่จุฬาราชมนตรีอีกตำแหน่ง

จุฬาราชมนตรี คนที่ 13

พระจุฬาราชมนตรี สอน อหะหมัดจุฬา

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2479

ประวัติ : เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นคนที่13แห่งราชอาณาจักรไทย พระจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรีสัน กับคุณหญิงถนอม ได้ถวายตัวเป็นหมาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ได้รับราชกาลและโปรดเกล้าให้เป็น หลวงราชเศรษฐีรับราชการในกระทรวงมหาดไทยในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ได้เลื่อนเป็น พระจุฬาราชมนตรี สอน อะหมัดจุฬา

จุฬาราชมนตรี คนที่ 14

จุฬาราชมนตรี แช่ม พรหมยงค์ (ซัมซุดดีน มุสตาฟา)

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดเมื่อปีใดไม่ปรากฏ

เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2534 อายุประมาณ 92 ปี

ประวัติ : นับตั้งแต่การสิ้นสุดท่านจุฬาราชมนตรีสอน ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีก็ร้างราไปนานร่วม10 ปี ไม่มีการสืบทอดตำแหน่ง แต่ต่อมาในสมัยประชาธิปไตยยุคแรก และเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ก็ได้เป็นจุฬาราชมนตรี คนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกานี้ คือนายแช่ม พรหมยงค์ ซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับหัวหน้ากองสังกัดกรมโฆษณาการ โดยรัฐบาลได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ นายแช่ม พรหมยงค์ หรือชื่อตามศาสนาอิสลามว่า “ซำซุดดิน บิน มุสตอฟา” เป็นจุฬาราชมนตรีตามข้อกำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จุฬาราชมนตรีแช่ม พรหมยงค์ เป็นชาวจังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรท่านอาจารย์มุสตอฟา พรหมยงค์ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามและยังเป็นอาจารย์วิชาการทางศาสนา

จุฬาราชมนตรี คนที่ 15

จุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสตร์ (อิสมาแอล ยะห์ยาวี)

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432

เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2524

ประวัติ : ท่านอาจารย์ต่วน สุวรรณศาสน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นอาจารย์สอนวิชาการทางศาสนาโรงเรียนอันยูมันอิสลาม ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนต่อไป ขณะมีอายุ 60 ปี จุฬามนตรีต่วน สุวรรณศาสน์ มีชื่อทางอิสลามว่า อิสมาแอล ยะห์ยาวี ท่านได้รับเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากของบรรดาประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และท่านอาจารย์ต่วน ก็ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพระนครอยู่ด้วย ผลงานสำคัญของท่านจุฬาราชมนตรีต่วน คือท่านได้แปลและจัดพิมพ์อัลกุรอานไว้ได้ครบสมบูรณ์และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานงบประมาณในการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มได้เรียบร้อย

จุฬาราชมนตรี คนที่ 16

จุฬาราชมนตรีประเสริฐ มะหะหมัด (อะหมัด บินมะหะหมัด)

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2470

เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2540

ประวัติ : หลังจากสิ้นจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ เมื่อปี พ.ศ. 2524 รัฐบาลได้เชิญบรรดาประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มาประชุมที่กระทรวงมหาดไทยเพื่อคัดเลือกตัวบุคคลที่จะกราบบังคมทูลให้ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีคนต่อไป ผลการคัดเลือกปรากฏว่า นายประเสริฐ มะหะหมัด ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนต่อไป โดยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรี เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2524 นับเป็นการดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นคนที่ 16 แห่งราชอาณาจักรไทย

จุฬาราชมนตรี คนที่ 17

จุฬาราชมนตรี สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดเมื่อ 27 มกราคม พ.ศ. 2459

เสียชีวิตวันที่ นที่ 24 มีนาคม 2553 อายุ 94 ปี

ประวัติ : ท่านได้รับเลือกให้เป็นจุฬาราชมนตรีหลังจากนายประเสริฐ มะหะหมัด ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2540 ท่านได้เป็นจุฬาราชมนตรีขณะอายุได้ 81 ปีเศษ เป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม ฉบับ พ.ศ. 2540 และเป็นประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง

จุฬาราชมนตรี คนที่ 18

จุฬาราชมนตรี อาศิส พิทักษ์คุมพล

ภาพจาก จุฬาราชมนตรี

เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2490

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ประวัติ : ท่านจุฬาราชมนตรี (อาศิส พิทักษ์คุมพล) ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีสืบต่อจาก นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ โดยเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 จากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ซึ่งนับเป็นคนที่ 2 ต่อจากนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 18 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จุฬาราชมนตรี คนที่ 19

จุฬาราชมนตรี อรุณ บุญชม (จุฬาราชมนตรีคนปัจจุบัน)

ภาพจาก เพจจุฬาราชมนตรี

อรุณ บุญชม” จุฬาราชมนตรี คนที่ 19 ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร อาจารย์ผู้สอนอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ วิทยากรบรรยายศาสนธรรม ด้วย นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีคนที่ 18 แห่งราชอาณาจักรไทย ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2566 จึงเป็นเหตุให้ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีว่างลง วันนี้ 22 พ.ย.สำนักจุฬาราชมนตรีมีการประชุมสรรหา โดยประกาศ นายอรุณ บุญชม ตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งเป็น จุฬาราชมนตรี คนที่ 19

Lirisa Muanlamai

หยก ค่ะ ศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี คณะนิเทศศาสตร์ เอกการออกแบบเพื่อการสื่อสาร มีความสนใจคอนเทนต์ต่างๆในปัจจุบันชอบตามข่าว เพลง ศิลปิน แฟชั่น ในประเทศและต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button