ข่าวภูมิภาค

เป็นไปได้แค่ไหน เร่งฉีดวัคซีนคนกรุงเทพ 70% ภายในเดือน ก.ค.

เป็นไปได้แค่ไหน รัฐเผยเร่งฉีดวัคซีนกทม. 70% ใน 2 เดือน (มิ.ย. – ก.ค. 64)

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เริ่มมีผู้ติดเชื้อทะลุหลักพันมาตั้งแต่ต้นเดือน เมษายน 2564 และตั้งแต่นั้นมายอดผู้ติดเชื้อรายวันของไทย ก็แทบไม่เคยต่ำกว่าพันเลย โดยเฉพาะช่วง สัปดาห์ล่าสุด สถานการณ์การติดเชื้อยิ่งตึงเครียดมากขึ้น เมื่อกรมราชทัณฑ์เพิ่งเผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อในสถานที่ต้องขัง เรือนจำ ซึ่งจำนวนสูงมากรวมกันเป็นหลักหมื่นราย

Advertisements

โดยวานนี้ 17 พ.ค. 2564 ข้อมูลจากศบค. ระบุว่า มีการตรวจเชิงรุกเรือนจำ 8 แห่ง ในหลายจังหวักทั้งกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ฉะเชิงเทรา และเชียงใหม่ เชียงใหม่ พบยอดผู้ติดเชื้อรสวมสูง 10,748 ราย คิดเป็น 49% ของจำนวนที่ตรวจ

เมื่อมองออกมาในพื้นที่นอกเรียนจำ กรุงเทพมหานครเอง ก็เป็นหนึ่งในจังหวัดที่พบการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างน่าเป็นห่วง เป็นจังหวัดที่มียอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุด และล่าสุดจากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษก กทม.ระบุว่า มีจุดเฝ้าระวังโควิด-19 ถึง 28 จุด โดยแบ่งเป็น ชุมชน 8 จุด ที่ทำงาน 7 จุด ตลาด 8 จุด ที่พักคนงาน 4 จุด เรือนจำ 1 จุด ดังนี้

กลุ่มเฝ้าระวังสูงสุด 15 คลัสเตอร์ ในพื้นที่เขตดินแดง ราชเทวี บางกะปิ ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย คลองเตย หลักสี่ พระนคร ประเวศ บางรัก สาทร
• กลุ่มเฝ้าระวัง 3 คลัสเตอร์ ในพื้นที่เขตวัฒนา สวนหลวง และจตุจักร
• กลุ่มที่มีแนวโน้มควบคุมการระบาดได้ 8 คลัสเตอร์ ในพื้นที่เขตทวีวัฒนา ปทุมวัน สาทร ป้อมปราศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ จตุจักร ลาดพร้าว และสวนหลวง
• กลุ่มที่พบใหม่ 2 คลัสเตอร์ ในตลาดพื้นที่บางกอกน้อย และชุมชนในเขตห้วยขวาง

ร.ต.อ.พงศกร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากจะเร่งตรวจหาเชื้อเชิงรุกแล้ว กทม. ยังได้เร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุด เมื่อได้รับจัดสรรมา

วัคซีนโควิดคือตัวแปรสำคัญที่ช่วยในการยับยั้งการแพร่ระบาดและการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด ซึ่งเป็นที่สังเกตว่าในการระบาดรอบล่าสุด มีผู้เสียชีวิตเพิ่มทุกวันหลักหลายสิบราย แสดงถึงภาวะของโรคที่รุนแรงขึ้น

Advertisements

ปัจจุบันไทยดำเนินการฉีดวัคซีน 2 ยี่ห้อคือ แอสตราเซเนก้า และ ซิโนแวค โดยในภาพรวม การแบ่งสรร จะฉีดซิโนแวคให้คนอายุตั้งแต่ 18-59 ปี และแอสตราฯให้กับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

ข้อมูล ณ วันที่ 18 พ.ค. 2564 ตั้งแต่ 28 ก.พ. – 17 พ.ค. 2564 คนไทยได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 2,340,995 โดส แบ่งเป็น 1 เข็มา 1,521,034 ราย และ 819,961 ราย เมื่อตรวจสอบกับข้อมูลจำนวนประชากรไทย จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ปี 2563 ประเทศไทยมีประชาชนทั่วประเทศทั้งสิ้น 66,186,727 คน

ดังนั้น ขณะนี้ มีประชากรไทยเพียง 1.23% ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส โดยที่ตามทฤษฎีแล้ว ประชากรในประเทศควรได้รับวัคซีนที่ 70% ถึงจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และภูมิคุ้มกันจากวัคซีนก็ไม่ได้คงทนถาวร ต้องฉีดใหม่เรื่อย ๆ ดังนั้น เป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาล โดย ผอ.สถาบันวัคซีน ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะเร่งฉีดวัคซีนให้ได้ 50 ล้านคนภายใน 2563 จะทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่

ฝั่งกรุงเทพมหานครเอง ที่เริ่มมีคลัสเตอร์ใหม่ ๆ ผุดขึ้นมา ท่ามกลางการติดเชื้อที่ยังไม่ซา รัฐบาลจึงเริ่มปรับแนวทางในการให้วัคซีนเป็นแบบปูพรมเพื่อควบคุมการระบาด ตั้งเป้าหมายไว้ว่าในพื้นที่ กทม. จะต้องมีประชาชนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างน้อย 70% หรือประมาณ 5 ล้านคน ภายใน 2 เดือน (มิ.ย. – ก.ค. 64)

ข้อมูล ณ วันที่ 18 พ.ค. 2564 จากสำนักประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร ระบุว่า มีผู้ฉีดวัคซีนสะสมแล้ว 1 เข็ม 20,6047 ราย ครบ 2 เข็ม 133,822 ราย เมื่อดูประสิทธิภาพการฉีดรายวัน พบว่า ฉีดเพิ่มเข็มที่ 1 ได้ 13,586 ราย และเข็มที่ 2 8,054 ราย รวมแล้วประมาณ 2.1 หมื่นเข็มใน 1 วัน

เป็นที่น่าจับตาดูอย่างยิ่ง ว่าแผนการฉีดวัคซีนโควิดให้คนกรุงเทพมหานคร 70% ภายใน 2 เดือน จะสำเร็จหรือไม่ เนื่องจากกทม. เป็นจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เมื่อเกิดการระบาดจึงมีโอกาสที่จะแพร่ระบาดรุนแรงได้ง่ายกว่าพื้นที่อื่น วัคซีนโควิด จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยรักษาชีวิตประชาชน และแบ่งเบาสถานการณ์การรับมือของฝ่ายปฏิบัติการสาธารณสุข ไม่ให้หนักจนเกินรับไหว

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button