ข่าว

รมช.ศึกษาธิการ แนะใช้ “เครดิตบูโร” แก้หนี้ครู-เปิดช่องกู้ข้ามจังหวัด

สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แนะใช้เครดิตบูโร แก้หนี้ครูเร่งเจรจาลดดอกเบี้ย เปิดช่องกู้ข้ามจังหวัด

นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยวันนี้ (30 ต.ค.66) ว่า ขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการ หรือ ศธ. ได้ส่งหนังสือเชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการเงิน สำนักงานอัยการสูงสุด ฯลฯ เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้ว โดยอยู่ระหว่างรออนุมัติอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานต้นสังกัด

Advertisements

อย่างไรก็ตาม รมช. กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ระหว่างนี้ได้ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินครู ในช่วงที่ นางสาวตรีนุช เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ได้ดำเนินการไว้ ซึ่งมีการลงพื้นที่ มีข้อมูลที่สามารถนำมาต่อยอดได้เลยไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่

สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล (แฟ้มภาพ Facebook @MOE360degree)

ทั้งนี้ การแก้การแก้ปัญหาหนี้สินครูจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

  • สีเขียว คือ ครูที่มีสภาพคล่อง
  • สีเหลือง คือ ครูที่มีหนี้บ้างเล็กน้อย
  • สีแดง คือ เป็นหนี้เสีย (อาจถูกฟ้องล้มละลาย)
กระทรวงศึกษาธิการวันนี้ 30 ต.ค.66
แฟ้มภาพ Facebook @MOE360degree

นายสุรศักดิ์ ระบุ เมื่อมีการตั้งคณะอนุกรรมการฯ เรียบร้อยแล้ว จะมีการหารือเพื่อวางมาตรการแก้ไขปัญหาในแต่ละกลุ่มต่อไป คาดว่าจะได้ชื่อคณะอนุกรรมการฯครบ และเริ่มนัดประชุมอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้

นายสุรศักดิ์กล่าวต่อว่า เบื้องต้นต้องมีการให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงิน เพื่อปรับพฤติกรรมทางการเงินของครูและบุคลากรทางการศึกษา การเจรจาลดดอกเบี้ยจากสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ หากลดได้ก็จะทำให้ครูมีเงินเหลือมากขึ้น

ขณะเดียวกันอาจจะต้องมาทบทวน มาตรการหักเงินเดือน ตามระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการหักเงินเดือนเงินบำเหน็จบำนาญ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ.2551 ข้อ 7 (5) ที่บัญญัติให้ การจะให้ส่วนราชการหักเงิน ณ จ่ายเพื่อชำระหนี้เงินกู้นั้น จะต้องมีเงินเดือนสุทธิหลังจากหักชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือน ซึ่งออกมาเมื่อปี 2555 นั้น

Advertisements

ในทางปฏิบัติพบว่าบางหน่วยงานมีการหักเงินนอกรอบ มีการกู้เงินจากสถาบันการเงินอื่น หรือไปกู้นอกระบบเพื่อมาโปะหนี้เพิ่ม ดังนั้นจึงคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำข้อมูลสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศเข้าเครดิตบูโร เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถตรวจสอบสถานะทางการเงินของผู้กู้แต่ละราย ประกอบการพิจารณาปล่อยกู้ เนื่องจากที่ผ่านมาข้อมูลการกู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์จะไม่ปรากฏในฐานข้อมูลเครดิตบูโร.

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button