ข่าวข่าวต่างประเทศ

ไขข้อสงสัย “ภาพคนไข้นอนท่าสะพานโค้ง” แชร์กันทั่วโลก หมอตอบให้ตกลงโดนมนต์ดำหรือไม่ ?

ไขข้อสงสัย ภาพคนไข้นอนท่าสะพานโค้ง ตกลงโดนผีสงห์หรือโดนคำสาปต้องมนต์ดำจริงไหม หลังหมอมาเฉลยเอง เป็นโรคบาดทะยัก ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

วานนี้ (26 ต.ค.66) ทวิตเตอร์ @IhabFathiSulima ได้โพสต์ภาพคนไข้รายหนึ่งนอนในท่าสะพานโค้ง โดยมีสายน้ำเกลือระโยงระยาง เปรียบเทียบกับภาพวาดสมัยก่อนของคนไข้ชายที่อยู่ในท่าสะพานโค้ง มือเกร็ง เท้าจิกเกร็ง เช่นกัน ซึ่งต่อมารูปดังกล่าถูกแชร์จต่ออย่างรวดเร็วในโลกโซเชียล

อย่างไรก็ตาม ภาพดังกล่าวที่ตอนแรกมีหลายคนเข้าใจผิด คิดเป็นตุเป็นตะไปว่า คนไข้ในรูปต้องโดนผีเข้าสิงห์หรือต้องมนต์ดำต่าง ๆ นานาเป็นแน่ ก่อนที่สุดท้ายจะมีการค้นข้อมูลจนทราบว่าที่แท้เป็นอาการป่วยด้วยโรคบาดทะยัก ซึ่งเคยมีคนไข้ป่วยด้วยโรคเช่นนี้และมีอการตามภาพจริง

อ้างอิงข้อมูลจาก บัญชีบล็อคดิทของ Healthstory – เรื่องสุขภาพ ง่ายนิดเดียว ได้เคยลงข้อมูลไว้เมื่อ 18 พ.ย.2562 ระบุ ภาพที่เห็นนั้นคือภาพที่วาดขึ้นในปี 1809 โดยแพทย์ประจำตัวคนไข้ที่ถูกพิษบาดทะยัก ซึ่งท่าดังกล่าวเรียกว่า “ออพิสโตโธมัส”

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมผู้ป่วยถึงมีท่าทางดังกล่าวนั้น ข้อมูลต้นทางระุบว่า โดยธรรมชาติ เวลาเคลื่อนไหวร่างกาย ในอิริยาบทต่าง ๆ กล้ามเนื้อจะทำหน้าที่หดตัว จากนั้นจะมีการปล่อยสารสื่อประสาทเพื่อให้กล้ามเนื้อนั้นคลายตัว แต่ผู้ที่โดนพิษบาดทะยักนั้น เชื้อจะเข้าไปยับยั้งการปล่อยสารสื่อประสาทเหล่านั้น อันเป็นผลให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยหดตัวอย่างรุนแรง และไม่ยอมคลายตัว

เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวทั้งร่าง กล้ามเนื้อหลังที่แข็งแรงกว่ากล้ามเนื้อท้อง ก็จะฉุดให้หลังของผู้ป่วยบิดงออย่างทรมาน กล้ามเนื้อขาจะหดรัดตัวจนแทบจะหักกระดูกต้นขา ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดของร่างกาย

อย่างไรก็ตาม พิษบาดทะยักจะไม่ส่งผลต่อสมองของผู้ป่วยเลย ผู้ป่วยจะตื่นและรู้สึกตัวตลอดเวลา หมายความว่า ผู้ป่วยจะรู้สึกได้ถึงความทรมานตลอดเวลา และหากมีอาหารรุนแรง กล้ามเนื้อกระบังลมจะหดตัวค้าง ทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ได้อีกต่อไป และเสียชีวิตลง

ทั้งนี้ โรคบาดทะยักรักษาให้หายได้ แต่ยังคงมีเสียชีวิตอยู่ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและความพร้อมของโรงพยาบาล แม้จะรอด แต่ผู้ป่วยต้องใช้เวลา 1-2 เดือนหรือมากกว่านั้นในการนอนโรงพยาบาล ต้องให้ยากล่อมประสาท เพื่อไม่ให้รู้สึกถึงความเจ็บปวด ใส่ท่อช่วยหายใจ และต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อบำบัดกล้ามเนื้อด้วย.

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button