ข่าว

“ส่วยค่าเก็บเห็ด” ตกลงยังไงแน่ หลังชาวบ้านโพสต์แฉจน จนท.ร้อนแจงเป็นเงินช่วยพัฒนาป่า

ส่วยเก็บเห็ด ป่าเขาอังคาร บุรีรัมย์ หัวละ 20 บาท ชาวบ้านโพสต์แฉในดซเชียลร้อนถึง เลขาป่าชุมชนออกโรงยืนยันไม่ใช่ส่วย แต่เป็นกฎระเบียบชุมชนร่วมดูแลรักษาผืนป่ามาช้านานเพื่อนำเงินไปพัฒนาความเขียวขจีในพื้นที่

จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ออกมาโพสต์เนื้อหาไปเจอค่าส่วยเก็บเห็ดผ่านสื่อโซเชียล โดยจากข้อมูลดังกล่าวระบุ เป็นการตั้งด่านเก็บเงินผู้ที่เข้าไปเก็บเห็ดในป่าชุมชนป่าเขาอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

“โดนเก็บค่าเห็ดสองด่านตะวันตกกับตะวันออก พี่น้องข่อยได้เห็ดสองดอก ใครที่ยังไม่รู้โปรดรู้ ก่อนที่จะไปเด้อคะ สำหรับคนที่จะไปเก็บเห็ด มีสองด่านคนละเขต ถ้าใครจะไปเขาอังคารให้ไปอีกทางจะได้ไม่ผ่านด่านโคกพวง ถ้ามาเขาคอกให้มาทางโคกพวงได้เลยค่ะ” ข้อความจากโพสต์เจ้าของบัญชีต้นเรื่งซึ่งออกมาแนะนำคล้ายกับเป็นการแจ้งเตือนไปยังคนที่ต้องการเข้ามาเก็บเห็ดในพื้นที่ดังกล่าวให้ระวังเจอการตั้งด่านเก็บค่าผ่านทางโดยมิชอบ

ต่อมา ภายหลังจากที่โพสต์เปิดประเด็น ส่วนค่าเก็บเห็ดถูกเผยแพร่ไปเป็นวงกว้าง อาทิ บัญชีเฟซบุ๊กแฟนเจพ แชร์ข่าวบุรีรัมย์ (@BuriramKhao) มีการโพสต์ตั้งคำถามถึงเรื่องนี้ว่า “ดราม่าเก็บเห็ดใน #ป่าชุมชนเขาอังคาร..เก็บเงินเอาไปทำอะไร ใครได้ประโยชน์”

ขณะที่รายการข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ ก็มีการออกมาลงคลิปเผยแพร่ภาพบรรยยากาศของผู้คนที่ไปเข้าคิว ต่อแถวโดยมีรถยนต์จอดเต่อแถวกันเป็นแยวยาวเพื่อรอจ่ายเงินค่าผ่านทาง บริเวณหน้าปากทางเข้าพืน้ที่เขตป่าชุมชนซึ่งกำลังเป็นประเด็น โดยมีเนื้อหาอธิบายไว้ในคลิปด้วย ดังนี้

#เรื่องเล่าเช้านี้ เลขาฯ ป่าชุมชนเจริญสุข แจงดรามาด่านเก็บเงินค่าเห็ด ป่าเขาอังคาร คนละ 20 บาท เผยเป็นค่าใช้บริการ โดยจะนำไปเงินไปใช้ส่วนกลางในการพัฒนาแหล่งน้ำ ปลูกป่า ทำแนวกันไฟ และเป็นกุศโลบาย สร้างจิตสำนึกให้คนมาเก็บเห็ดที่เดินทางมาจากต่างถิ่น กลับไปบริหารจัดการให้ป่าของชุมชนตัวเองสมบูรณ์”

ทั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าวไทยพีบีเอส ระบุจากการลงพื้นที่สอบถามทราบคณะกรรมการของหมู่บ้าน ก็ได้รับทราบข้อมูลต่อมาว่า กรณีดังกล่าวจะเก็บค่าผ่านทางคนละ 20 บาท โดยในแต่ละวันก็จะมีรถพาคนมาเก็บเห็ดประมาณ 80 – 100 คัน มีคนประมาณ 800 -1,000 คนต่อวัน ที่เข้าไปเก็บเห็ดในป่านี้

นายพลภัทร ชัสวิเศษ เลขาป่าชุมชนเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ป่าเขาอังคารแห่งนี้ มี 6 ชุมชน ที่รับผิดชอบร่วมกัน มีการเก็บเงินค่าเข้าไปเก็บเห็ดจริง เป็นค่าใช้บริการเงินที่ได้ไปจะเข้าคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนกลาง ซึ่งแต่ละหมู่บ้าน แต่ละป่า จะมีคณะกรรมการคนละชุด ซึ่งแต่ละคณะกรรมการ จะไปวางระเบียบการจัดการบริหารอย่างไร

ส่วนใหญ่จะเอาไปพัฒนาป่าในพื้นที่ เช่นการพัฒนาแหล่งน้ำ การปลูกป่าเพิ่ม การทำแนวกันไฟ รวมถึงชุดลาดตระเวน ที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ออกไปอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่ในช่วงที่เห็ดออกเยอะ คือช่วงนี้ เจ้าหน้าที่จะต้องออกลาดตระเวนคืนละ 1-2 ครั้ง แต่ถ้าเงินเหลือก็จะเอาเข้าไปพัฒนาชุมชนของตัวเอง

นายพลภัทร กล่าวอีกว่า เท่าที่สอบถามผู้ที่มาเก็บเห็ดจะมาจากที่อื่น พบว่าแต่ละพื้นที่มีป่าเหมือนกันหมด แต่ไม่มีเห็ดให้เก็บ ส่วนตัวคิดว่าชุมชนนั้นไม่มีความสามารถ บริหารจัดการให้สิ่งแวดล้อม ให้กลับคืนมาได้ สิ่งที่เราอยากจะสื่อสารในการเก็บค่าบริการคือ อยากให้ทุกคนที่มาเก็บเห็ด ได้สร้างจิตสำนึก ให้เขากลับไปคิดว่าบ้านเขาก็มีป่า ทำไมไม่ไปบริหารจัดการ ให้ป่าของตัวเองมีเห็ดแบบนี้บ้าง ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเก็บถึงที่นี่ บางคนเดินทางมาไกลกว่า 80 กม. ซึ่งพื้นที่เขาอังคาร มีเนื้อที่ประมาณ 3,430 ไร่ เห็ดของป่านี้ จะมีความพิเศษกว่าเห็ดป่าที่อื่น เพราะเป็นป่าภูเขาไฟ ลักษณะเห็ดจะล้างดินออกง่าย รสชาติอร่อย สารบางอย่างที่ดีต่อสุขภาพ แบบเห็ดที่อื่นไม่มีโดยในแต่ละปี เห็ดจะออกในช่วงเดือน เม.ย.- พ.ค.และเดือน ก.ย.-ต.ค.ทุกปี

ส่วนกรณีข้อถกเถียงบนสื่ออไนลน์ที่บอกว่ามีค่าส่วยเก็บเห็ด นายพลภัทร ในฐานะเลขาป่าชุมชนเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ ขอยืนยันว่า กรณีนี้ “ไม่ใช่การเก็บส่วย แต่เป็นกฎระเบียบของชุมชน” ที่มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าแห่งนี้ เพื่อนำเงินดังกล่าวไปบริหารจัดการรักษาป่า บริเวณทางขึ้นเขาอังคาร ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นป่าที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของ จ.บุรีรัมย์ มีเห็ดหลายชนิดงอกขึ้นตามธรรมชาติจำนวนมาก.

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button