ข่าวข่าวการเมือง

แบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 งวด “ครม.เศรษฐา” เจอสับเละ ไหนหาเสียงลั่น ! จะขึ้นให้ 25000

รัฐบาลแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 งวด ครม. เศรษฐาถูกวิจารณ์ยับแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ออกมาตราการแบบนี้นักวิชาการมองแรงไม่ต่างซ้ำเติม เกาไม่ถูกที่คัน อยากยกระดับหรือช่วยจริงต้องขึ้นค่าตอบแทนผลงานไม่ใช่ทยอยจ่ายเดือนละครึ่งไม่เข้าท่า สิ้นเดือนคนมีหนี้ผูกพันเอกชนเอาตัวรอดยังไง

วันที่ 14 กันยายน 2566 ภายหลังจากรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงการคลัง แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรกที่เห็นชอบให้เปลี่ยนระบบการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ จากเดือนละ 1 รอบ เป็นเดือนละ 2 รอบ โดยจะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

นายกรัฐมนตรี ให้เหตุผลถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเงินเดือนข้าราชการดังกล่าว เนื่องจากต้องมีการแก้ไขระบบหลายอย่างจึงยังทำทันทีไม่ได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เพื่อให้ข้าราชการหนี้จะเป็นการช่วยบรรเทาทุกข์ให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยมีเงินเดือนใช้เพียงพอกระจายทั้งเดือน “ลดการกู้” ไม่ต้องเป็นหนี้สิน

เศรษฐา
แฟ้มภาพ

หัวอกคนทำงาน ลั่นจากใจอยากได้เพิ่ม ไม่ใช่ได้ทีละครึ่ง

ต่อมาประเด็น เงินเดือนข้าราชการแบ่งจ่าย จากเดือนละ 1 รอบ เป็นครบ จ่ายเที่ยวละ 2 รอบ ปรากฏ เวลาไม่นานก็ได้รับเสียงจิจารณือย่างหนัก โดยเฉพาะนักวิชาการและข้าราชการที่ปฏิบัติงานจริงกลุ่มใหญ่ มองว่ามาตรการดังกล่าวของนายเศรษฐา และคณะรมต. ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แถมยังจะสร้างภาระเพิ่มด้วยหรือไม่ในอนคาตหากเกิดการปรับจ่ายเงินเดือนที่มีมติออกมาล่าสุด

สมชัย ศรีสุทธิยากร นักวิชาการ-อดีตกกต.
สมชัย ศรีสุทธิยากร นักวิชาการ-อดีตกกต. (แฟ้มภาพ Facebook @somchaivision)

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร นักวิชาการ และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คือหนึ่งในนักวิชาการที่ออกมาวิพากษ์วจารณ์มาตรการดังกล่าวที่เตรียมปรับจ่ายค่าตอบแทนในส่วนนี้ให้กับพนักงานลูกจ้างรัฐอย่างตรงไปตรงมา โดยเป็นการอกมาตั้งคำถามและข้อสังเกตไว้ 5 ประเด็น ผ่านบัญชีเฟซบุ๊ก @somchaivision ซึ่งรายละเอียดของทั้งห้าประเด็นประกอบด้วย

  1. เป็นการคิดแบบเร็ว ๆ หรือมีการศึกษาวิจัยอยู่เบื้องหลัง และสอบถามความเห็นจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง หรือยัง
  2. ระบบการเบิกจ่ายเงินเดือนของกรมบัญชีกลาง ต้องมีการปรับใหม่และ ทำเพิ่มเป็นสองรอบต่อเดือน เป็นภาระทางธุรการแก่ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น คลังจังหวัด กองคลังของทุกหน่วยงานหรือไม่
  3. ระบบเงินเดือนข้าราชการ ยังผูกกับเงินหักหนี้สินต่าง ๆ เช่น เงินกู้สหกรณ์ เงินหักส่งสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งหักเป็นรายเดือน ระบบดังกล่าวต้องแบ่งเป็นสองงวดตามด้วย หากแบ่งไม่ได้ จะเป็นการสร้างภาระแก่ข้าราชการในครึ่งเดือนแรก
  4. ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ เงินกู้ธนาคาร หนี้บัตรเครดิต ทั้งหมดชำระเป็นรายเดือน และเป็นของเอกชน ที่อาจไม่สามารถขอผ่อนผันจ่ายเป็น 2 งวดต่อเดือนได้
  5. คิดใหม่ ทำเร็ว ควรมีการศึกษาวิจัย และถามความเห็นจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องก่อน เพราะที่นี่ ไม่ใช่แสนสิริ และใครผ่อนคอนโดแสนสิริ อย่าลืมขอใช้สิทธิผ่อนเป็น 2 งวดต่อเดือนด้วย

ทั้งนี้ ในการปราศรัยของครอบครัวเพื่อไทย ณ ศาลากลางหลังเก่า อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ปราศรัยหาเสียงตอนหนึ่งว่า “เงินเดือนข้าราชการเริ่มต้น 25,000 บาท เอาไหมคะ ข้าราชการทั้งหลายเงินเดือนขึ้น เริ่มต้น 25,000 บาท ถ้าขึ้นทุกตำแหน่งอีก 70% เงินเดือนที่จะขึ้นแบบนี้ต่อไป เอาหรือไม่คะ”

เพื่อไทยหาเสียงเงินเดือนข้าราชการ 25000
แฟ้มภาพ Facebook@pheuthaiparty

ล่าสุดประเด็นดังกล่าวได้มีการหยิบยกมาพูดถึงอีกครั้ง หลังจากมติแรกของครม.เศรษฐา คือเปลี่ยนระบบการจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็นทุกครึ่งเดือนนั้น ผิดจากนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเคยประกาศไว้กับประชาชนก่อนที่จะจัดตั้งรัฐบาลเต็มรูปแบบเช่นปัจจุบัน

นโยบายพรรคเพื่อไทยทำทันที

พรรคเพื่อไทย เงินเดือนข้าราชการ 25000
ภาพ Facebook@pheuthaiparty

พาส่องเงินเดือนข้าราชการไทย ปัจจุบัน ยุค 5G รับกันเท่าไหร่

อ้างอิงข้อมูล พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 “เงินเดือนข้าราชการ” หรือ เงินเดือนพื้นฐาน (Base Salary) คือค่าตอบแทนที่จะจ่ายให้กับข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนตามประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง เพื่อสะท้อนถึงขนาดของงาน (Job) ผลงาน (Performance) และสมรรถนะ (Compentency)

สำหรับปัจจุบันเงินเดือนหรือค่าตอบแทนดังกล่าว ได้แบ่งบัญชีเงินเดือนออกเป็น 4 บัญชี ตามประเภทตำแหน่ง ได้แก่

  1. ประเภทบริหาร
  2. ประเภทอำนวยการ
  3. ประเภทวิชาการ
  4. ประเภททั่วไป

*** หมายเหตุ แต่ละประเภทได้มีการกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของแต่ละระดับไว้

เงินเดือนข้าราชการ ตำแหน่งประเภทบริหาร

  • ระดับสูง 29,980 – 76,800 บาท
  • ระดับต้น 24,400 – 74,320 บาท

เงินเดือนข้าราชการ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ

  • ระดับสูง 24,400 – 70,360 บาท
  • ระดับต้น 19,860 – 59,500 บาท

เงินเดือนข้าราชการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ

  • ระดับปฏิบัติการ 7,140 – 26,900 บาท
  • ระดับชำนาญการ 13,160 – 43,600 บาท
  • ระดับชำนาญการพิเศษ 19,860 – 58,390 บาท
  • ระดับเชี่ยวชาญ 24,400 – 69,040 บาท
  • ระดับทรงคุณวุฒิ 29,980 – 76,800 บาท

เงินเดือนข้าราชการ ตำแหน่งประเภททั่วไป

  • ระดับปฏิบัติงาน 4,870 – 21,010 บาท
  • ระดับชำนาญงาน 10,190 – 38,750 บาท
  • ระดับอาวุโส 15,410 – 54,820 บาท
  • ระดับทักษะพิเศษ 48,220 – 69,040 บาท.
ครมศรษฐา แบ่งจ่ายเงินเดือนราชการ
แฟ้มภาพ

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button