ข่าวไลฟ์สไตล์

ป้ายเตือนสึนามิในไทย นักท่องเที่ยว เจ้าของภาษา ตื่นตัวจนเป็นไวรัล

ไวรัล ป้าย เตือนสึนามิ นักท่องเที่ยวระวังสึนามิ ถ้าอ่านภาษาไทยก็ปกติ แต่พออ่านอังกฤษปุ๊บอาจจะต้องเกาหัว เจ้าของภาษาแห่คอมเมนต์เพียบ

ภาษามีความสำคัญต่อการสื่อสารอย่างไร คำถามนี้เมื่อได้รับทราบข่าว “เตือนสึนามิ” โดยการขึ้นป้ายเตือนภัยทางธรรมชาติของไทย เที่ยวล่าสุด ก็เล่นเอาเจ้าของภาษาต้องวดกลับมาอ่านและทำความเข้าใจกันอยู่หลายหนทีเดียว โดยเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา แอคเคาต์ทวิตเตอร์ที่ใช้ชื่อ @Joelwillans ได้ทวิตภาพซึ่งเป็นป้ายเตือนภัยคลื่นสึนามิในประเทศไทย ซึ่งมีความข้อแจ้งเตือนปรากฏทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมภาพประกอบที่เข้าใจง่าย

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของข้อความบนป้ายเตือนสึนามิมีอยู่หนึ่งเวอร์ชั่นที่อาจทำให้เกิความเข้าใจคลาดเคตลื่อนเอาได้ แม้เวอร์ชั่นภาษาไทย จะบุ ชัดเจนวง่า หากเกิดเหตุซึนามิซัดเข้าชายฝั่ง พร้อมระบุภาษาไทยว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ให้หนีห่างจากชายหาดและขึ้นที่สูงโดยเร็ว แต่เมื่อมาดูข้อความเตือนที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งมีการระบุว่า “IN CASE OF EARTHQAKE. GO TO HIGH GROUND OR FINLAND” ข้อความนี้ หากชาวต่างชาติ อ่านจะเข้าใจประมาณว่า

“หากเกิดแผ่นดินไหว ให้ขึ้นไปพื้นที่สูงหรือประเทศฟินแลนด์” ซึ่งตามหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษแล้ว คำที่น่าจะถูกนำมาใช้ในสถานการณ์นี้ควรเป้นคำว่า “INLAND” ซึ่งแปลความหมายว่า พื้นดิน มากกว่า และสาเหตุที่ทำให้คำเตือนนั้นเพี้ยนจนเป็นชื่อประเทศทางแถบแสกนดิเนเวียร์ อาจเป้นเพราะความผิดพลาดของกระบวนการผลิตป้าย ในขั้นตอนการสะกดคำที่อาจเกิดข้อบกพพร่องจนนำมาสู่ความคลาดเคลื่อนครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม ชาวเน็ตที่เข้ามาคอมเมนต์ยบางส่วนยังคงมีอารมณ์ขัน แอบแซวทำนองว่า ป้ายที่ขึ้นข้อความเตือนเมื่อเจอคลื่นสึนามิให้หนีไปประรเทศฟินแแลนด์ก็ถูกต้องตามคำเตือนแล้ว เพราะเวลาเกิดสึนามิขึ้นมา พวกเราก็ว่ายน้ำหนีไปฟินแลนด์เป็นปกตินะ

ทั้งนี้ จากข้อมูลของผู้ใช้ทวิตเตอร์ @Joelwillans ซึ่งให้ข้อมูลตัวเองในบัญชีโซเชียลของตัวเองไว้ว่าเป็นนักเขีนชาวอังกฤษของ Very Finnish Problems และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท Ink Tank Media ในฟินแลนด์ ได้มีชาวต่างชาติบางคน เข้ามาโพสต์ภาพจาก Google Map พร้อมกับระบุพิกัดป้ายที่พิมพ์ผิดนี้ มีอยู่จริง ๆ ที่หาดแหลมสะพานหิน จ.ภูเก็ต อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานว่า ขณะนี้ป้ายดังกล่าวได้มีการแก้ไขแล้วหรือไม่ อย่างไร ?

เตือนสึนามิ เตือนภัยธรรมชาติ
ภาพ Very Finnish Problems

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button