ส่อง! สิทธิชดเชยประกันสังคม กรณีติดเชื้อ โควิด-19
ในวันนี้ (9 ก.พ. 2565) The Thaiger จะพาไปดูกันถึง สิทธิชดเชยประกันสังคม ตามมาตราต่าง ๆ ในกรณีที่ป่วยติดเชื้อไวรัส โควิด-19
สิทธิชดเชยประกันสังคม โควิด-19 – (9 ก.พ. 2565) The Thaiger จะพาไปดูกันในส่วนของสิทธิการชดเชย ในกรณีป่วยติดเชื้อไวรัส โควิด-19 สำหรับผู้ที่อยู่ภายในระบบประกันสังคม มาตราต่าง ๆ (ม.33 / ม.39 / ม.40) ให้ได้ทราบกันว่าจะได้รับสิทธิอะไรกันบ้าง
สิทธิการชดเชยกรณีป่วยติดเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้ประกันตนภายในระบบประกันสังคม
– ม.33 (มาตรา 33) : กรณีลาป่วย จะสามารถได้รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง
- กรณีหยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถทำการเบิกชดเชย กรณีขาดรายได้จากประกันสังคมได้ นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย : โดยทำการยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
– ม.39 (มาตรา 39) : รับเงินทดแทน การขาดรายได้ร้อยละ 50
- โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน : โดยทำการยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
– ม.40 (มาตรา 40) : รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3
- โดยต้องมีการนำส่งเงินสมทบเป็นระยะเวลา 3 เดือน ภายในช่วงระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย : โดยทำการยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)
แหล่งที่มาของข่าว : Twitter – รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล (@Rachadaspoke)
สามารถติดตามข่าวโควิด-19 เพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวโควิด-19