ข่าวข่าวการเมือง

นักวิชาการ ชี้เป็นหน้าที่ ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ขาด วาระนายก ‘ประยุทธ์’

อดีตที่ปรึกษา กมธ. ออกมาแสดงความเห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ชี้ขาด วาระนายก ‘ประยุทธ์’ หลัง ฝ่ายกฎหมาย กฎหมายสภา เสนอให้เริ่มนับปี 62

นาย เจษฎ์ โทณะวณิก อดีตที่ปรึกษากรรมาการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ให้สัมภาษณ์กรณีที่ ฝ่ายกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎร กำหนดให้วาระการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มต้นในปี กล่าวคือ พล.อ.ประยุทธ์ สามารถดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯได้ถึงปี 2570 หากได้รับเลือกให้เป็นนายกฯในการเลือกตั้งครั้วหน้า

โดยนาย เจษฎ์ ระบุว่า ส่วนตัวคิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเชื่อมโยงกับนายกรัฐมนตรี ไม่ควรมีความเห็นเรื่องนี้ออกมาเป็นทางการ เพราะกรณีนี้สามารถตีความได้ 3 แนวทาง คือ

  • เริ่มนับเดือนสิงหาคม 2557 ตั้งแต่เป็น นายกฯ ครั้งแรก
  • เริ่มนับ 6 เมษายน 2560 ตั้งแต่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้
  • เริ่มนับเดือน มีนาคม หรือ มิถุนายน 2562 หลังการเลือกตั้ง

ดังนั้น จึงไม่ใช่สิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมาแสดงทัศนะหรือระบุความคิดเห็นแบบนี้ได้ มันไม่เหมาะสม ยิ่งมีความเห็นออกมาแบบนี้คนจะคิดได้ว่ามันต้องเป็นแบบนี้หรือไม่ การออกมาเพื่อสนับสนุนนายกฯในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับเสียงข้างมากในสภาฯหรือไม่ เป็นการชี้นำหรือจะทำให้มีแรงกดดันอะไรหรือไม่ โดยรวมไม่เหมาะสม เพราะหน่วยงานที่จะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดควรเป็นศาลรัฐธรรมนูญ

ส่วนจะสามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวในช่วงเวลานี้ได้หรือไม่ นายเจษฎ์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าทางวิชาการและทางปฏิบัติในการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายตามรัฐธรรมนูญได้ 2 ลักษณะ คือ การควบคุมความชอบเชิงนามธรรม และการควบคุมความชอบเชิงรูปธรรม โดยรูปธรรมเรื่องต้องเกิดก่อน ส่วนนามธรรมเรื่องยังไม่เกิด แต่หากปล่อยให้เรื่องนั้นเกิดอาจเกิดความเสียหายที่ไม่สามารถเยียวยาได้ หรือเกิดประเด็นปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้น กรณีนี้ต้องยื่นก่อนและศาลรัฐธรรมนูญสามารถรับไว้วินิจฉัยได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือความเสียหายตามมา

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button