หมอนิธิพันธ์ เตือน โควิด-19 ถึงหายแล้วยังมีโอกาสติดเชื้อได้อีกถึง 7 เท่า
หมอนิธิพันธ์ ได้โพสต์เตือนถึง การติดเชื้อ โควิด-19 ที่ถึงแม้จะหาย และมีอาการดีขึ้นแล้วนั้น ยังต้องป้องกันตัวเองให้มาก เพราะมีโอกาสติดเชื้อได้อีกครั้ง สูงถึง 7 เท่า
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 – รศ. นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล (หมอนิธิพันธ์) หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการโพสต์ถึงตัวเชื้อไวรัส โควิด-19 ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว
โดยเป็นการให้ความรู้ถึงสภาพร่างกายภายหลังจากที่หายจากการติดเชื้อ ที่ส่งผลกระทบตามหลังแก่ร่างกายในระบบต่าง ๆจำนวนหนึ่ง และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำได้อีก ซึ่งมีโอกาสมากถึง 3-7 เท่า
ซึ่งโพสต์ดังกล่าวนั้นมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
นอกจากผลทางร่างกายในระบบการหายใจและผลทางจิตใจแล้ว ผู้ที่รอดหรือฟื้นตัวหลังจากป่วยด้วยโรคโควิด-19 ยังจะต้องเผชิญกับปัญหาความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ตามมา โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) และ โรคสมองขาดเลือด (ischemic stroke)
ในระลอกนี้ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยทะลุหลักล้านได้ภายในสิ้นเดือนนี้ ดังนั้นแพทย์ที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก
นอกเหนือจากภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำและนำไปสู่ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดเฉียบพลัน (acute pulmonary embolism) ที่พบได้เนืองๆ กว่าโรคปอดอักเสบจากเชื้อโรคอื่น คงได้มีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือด ทั้งในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล หรือหลังออกจากโรงพยาบาลไประยะหนึ่งแล้ว
มีการศึกษาในเชิงระบาดวิทยาจากประเทศสวีเดน ที่มีระบบฐานข้อมูลสุขภาพของประชาชนในประเทศที่สมบูรณ์ครบถ้วน ได้ทำการติดตามผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 86,000+ คน พบว่ามีอัตราเสี่ยงอุบัติการณ์ (incidence rate ratio) การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและสมองขาดเลือด อยู่ระหว่าง 3-7 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไป
ภายในช่วง 2 สัปดาห์นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ (day of infection, DOI) หรือ วันที่เริ่มมีอาการ (day of symptom onset, DOS) แล้วจึงลดลงเหลือประมาณ 2 เท่าในช่วงสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ถัดมา
เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 คือ นอกจากทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานปกป้องตัวเองมากเกิน (cytokine storm) แล้ว ยังทำให้เกิดความผิดปกติหลายอย่างของเซลล์ผนังหลอดเลือด (activation, injury, dysfunction, and apoptosis of endothelial cells)
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผิดปกติที่ส่งเสริมในอีกหลากกลไกทั้ง เลือดแข็งตัวง่าย เกล็ดเลือดถูกกระตุ้น และ ACE2 receptor downregulation (Lancet 2021; 398: 599-607)
ในยามที่บ้านเมืองพึ่งพาภาครัฐไม่ค่อยได้ ประชาชนต้องดูแลปกป้องตัวเองและคนที่เรารักอย่างเต็มความสามารถ
แหล่งที่มาของข่าว : Facebook – นิธิพัฒน์ เจียรกุล
สามารถติดตามข่าวโควิด-19 เพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวโควิด-19
- นิวซีแลนด์ สั่ง ล็อกดาวน์ สามวัน หลังเจอ ปชช.ติดโควิดในประเทศ
- สติแตกหลังรู้ผลโควิด สาวใหญ่อาละวาด ก่นด่า ปาหิน จนท.ระงับเหตุสุดลำบาก