การเงิน

บสย. เปิด มาตรการพักชำระหนี้ สูงสุด 6 เดือน และอื่น ๆ

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิด มาตรการพักชำระหนี้ สูงสุด 6 เดือน และอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือลูกค้า และลูกหนี้ในเวลานี้

บสย. ออกมาตรการพักชำระหนี้ และอื่น ๆ ต่อลมหายใจ ผ่อนปรนและบรรเทาให้ผู้ประกอบธุรกิจ ขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 เดือน พักชำระหนี้สูงสุด 6 เดือน ผ่อนจ่ายเบา 20% ขั้นต่ำ 500 บาท

Advertisements

นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย. ได้ออกมาตรการต่อลมหายใจธุรกิจ ผ่อนปรนและบรรเทา ความเดือดร้อนผู้ประกอบธุรกิจที่ใช้บริการ “ค้ำประกันสินเชื่อ” กับ บสย. สอดคล้องตามนโยบายและมาตรการของรัฐ เร่งลดผลกระทบของผู้ประกอบธุรกิจให้มากที่สุด ได้แก่

  1. มาตรการพักชำระค่าธรรมเนียม 2 เดือน ผ่อนปรนขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสำหรับลูกค้าปัจจุบัน บสย. ทุกประเภทโครงการค้ำประกัน ทุกกลุ่มธุรกิจ ทั่วประเทศ ที่ครบกำหนดชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2564 – 30 กันยายน 2564
  2. มาตรการลดค่างวด สำหรับลูกหนี้ประนอมหนี้กับ บสย. ลดค่างวดผ่อนชำระเหลือ 20% หรือชำระขั้นต่ำ 500 บาท/เดือน สูงสุด 6 เดือน แต่ไม่เกินงวดเดือนธันวาคม 2564 ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ตุลาคม 2564
  3. มาตรการพักชำระหนี้ สูงสุด 6 เดือน สำหรับลูกหนี้ที่ประนอมหนี้กับ บสย. ในกลุ่มที่เป็นลูกหนี้ประเภทธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจภาคท่องเที่ยว และโรงแรม และกลุ่มธุรกิจที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการภาครัฐ ระยะเวลาการพักชำระไม่เกินค่างวดเดือนธันวาคม 2564 ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ตุลาคม 2564

ภายใต้ มาตรการให้ความช่วยเหลือครั้งนี้ คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบธุรกิจได้มากกว่า 10,000 ราย วงเงินค้ำประกันรวมกว่า 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้ บสย. ยังได้เร่งศึกษาผลกระทบและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจมีความต่อเนื่อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บสย. Call Center 02-890-9999

บสย. มาตรการพักชำระหนี้

 

Advertisements

แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย

สามารถติดตามข่าวการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวการเงิน

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button