หมอยง เผยผลศึกษา 1,200 คน ฉีดวัคซีนสลับชนิด ไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง
ผลศึกษา 1,200 คน ไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรง หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ นั่งโต๊ะแถลงวันนี้ (13 ก.ค.) ประเด็น ฉีดวัคซีนสลับชนิด
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการแถล่งข่าวของกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 13 ก.ค.64 ประเด็น “การให้วัคซีนโควิด 19 สลับชนิด”
ในการแถลงข่าวมีประเด็นที่น่าสนใจ โดย ศ.นพ.ยง ได้ชี้แจงข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของการเข้ารับการฉีดวัคซีนแบบสลับชนิด ระบุ ในไทย ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้มีคนไทย 1,200 คน มากสุดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งได้รับการฉีด 2 เข็มต่างยี่ห้อกัน และทุกคนทำการบันทึกลงหมอพร้อม พบว่า ทั้งหมดไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง
“ความปลอดภัยของวัคซีนต้องมาก่อน แบบนี้สลับแล้วปลอดภัยไหม จำเป็นต้องมีการศึกษา เบื้องต้นออกมาแล้ว มีการฉีดสลับแบบนี้ในไทย มากกว่า 1,200 คน มากสุดที่จุฬาฯ”
“เห็นได้อันหนึ่ง ที่บันทึกลง หมอพร้อม ในบันทึกอาการข้างเคียง ไม่มีใครมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง ยืนยันอันหนึ่งได้ว่า สลับฉีดวัคซีน มีความปลอดภัยในชีวิตจริง ผลการศึกษาของเรา จะนำออกมาให้ดูอีกครั้งหนึ่ง ว่าข้อมูลในควาปลอดภัยเป็นอย่างไร ขอให้ทุกคนสบายใจ ผู้ที่จะเข้ารับการฉีดสลับไม่ใช่คนแรก”
ขณะเดียวกัน หมอยง ยังอธิบายว่า สาเหตุที่ต้องให้การฉีดวัคซีนสลับชนิดกันครั้งนี้ ปัจจัยสำคัญมาจาก การต้องบริหารวัคซีนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในปริมาณวัคซีนที่มีจำกัด
“ผลการศึษาพบว่า ซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันไม่พอที่จะต้านไวรัส เดลตา ขณะที่วัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า การจะรอครบ 2 เข็ม ก็ช้าไป จึงเป็นที่มาของการทำการศึกษาว่า ถ้าเช่นนั้น การฉีดวัคซีนเชื้อตายก่อน แล้วตามด้วย ไวรัสเวกเตอร์”
“การฉีดวัคซีนเชื้อตายก่อนเปรียบเสมือนทำให้ร่างกายคล้ายกับการติดเชื้อ แล้วไปสอนนักรบ หรือ สอนหน่วยความจำของร่างกาย เอาไว้ หลังจากนั้นประมาณ 3-4 สัปดาห์ ค่อยกระตุ้นด้วยวัคซีนที่เป็นไวรัสเวกเตอร์ที่มีอำนาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันมากกว่า ผลปราฏว่า การกระตุ้นได้สูงกว่าที่เราคาดคิดไว้”
วางแผนทางการเงินเมื่อป่วยโควิด สนใจทำประวัติโควิด-19 กับ Tadoo คลิกที่นี่