กรมวิทย์ฯ ตอบ กินอาหารทะเลได้ไหม? หลัง โควิด ระบาด
กรมวิทยาศาสตร์ ได้ทำการเก็บตัวอย่างอาหารทะเลและบรรจุภัณฑ์ เพื่อตอบคำถามว่า กินอาหารทะเลได้ไหม? ในช่วง โควิด ระบาด
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เก็บตัวอย่างอาหารและบรรจุภัณฑ์ เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทรายแดง ปลาซาบะ ปลาทู ปลาอินทรีย์ ปลาใบขนุน ปลาน้ำดอกไม้ หอย หมึก กุ้ง
หลังจากการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่ มีจุดเริ่มต้นมาจากแพกุ้ง จ.สมุทรสาคร และเกิดกระแสความไม่มั่นใจ ในการบริโภคอาหารทะเล ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดห่วงโซ่การผลิตสัตว์น้ำ ต่อการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำและการประกอบอาชีพชาวประมงเป็นอย่างมาก
สำหรับบรรจุภัณฑ์ เช่น กระป๋อง กล่องกระดาษ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 – เดือนมกราคม 2564 จำนวน 117 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทุกตัวอย่าง โดยเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2563 สุ่มตรวจอาหารทะเลที่จำหน่ายในตลาดสดเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 80 ตัวอย่าง
พร้อมเผยอีกว่าจากการสุ่มตรวจอาหารทะเลที่จำหน่ายในประเทศ ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสามารถรับประทานทะเลสดและอาหารทะเลแช่แข็งได้ ตามปกติและมีความปลอดภัย โดยนำมาปรุงให้สุก เพราะความร้อนสามารถทำลายเชื้อไวรัสได้ด้วยความร้อน 70 องศาเซลเซียส นาน 5 นาทีขึ้นไป
และถ้าความร้อนสูงขึ้น ก็จะใช้ระยะเวลาน้อยลง หากเป็นอาหารแช่แข็ง ควรล้างทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ สวมถุงมือเวลาประกอบอาหาร และที่สำคัญต้องล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสอาหารทะเล
- เผย วัคซีน สปุตนิก ไฟว์ ประสิทธิภาพ ต้านโควิด 91%
- เลื่อนเปิด ตลาดกลางกุ้ง สมุทรสาคร หลังผู้ป่วยโควิดพุ่ง
- โควิด-19 ไทย 3 กุมภาพันธ์ 64 พบผู้ป่วยเพิ่ม 795 ราย
- สมุทรสาคร พบผู้ป่วย โควิด 2 ก.พ. 777 ราย