ชำแหละ พ.ร.บ .ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามโพสต์เหล้า เบียร์?
ชำแหละ พ.ร.บ .ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามโพสต์เหล้า เบียร์
เหล้า เบียร์ – จากที่มีกระแสร้อนแรงในโลกออนไลน์ช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้ เกี่ยวกับมีผู้ถูกจับจากการโพสต์รูปเหล้าเบียร์และหรือแสดงให้เห็นยี่ห้อของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเด็นที่มีการถกเถียงและกังวลกันในหมู่ประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ คือการกำหนดนิยามหรือพฤติกรรมความผิด รวมถึงบทลงโทษ วันนี้เราจะพามาอ่านรายละเอียด พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อไม่ให้นักดื่มทุกคนตกเป็นผู้ต้องหาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มีมาตราสำคัญ ที่ประชาชนควรรู้ดังนี้
สำหรับผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา 26 จัดให้มีบรรจุภัณฑ์ หรือฉลาก พร้อมข้อความเตือน
มาตรา 27 ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัด สถานบริการสาธารณสุข สถานที่ราชการ หอพัก สถานศึกษา ปั๊มน้ำมัน สวนสาธารณะ
มาตรา 28 ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวันและเวลาที่รัฐกำหนด
ตรงนี้ส่วนสำคัญ
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปราฏภาพของสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกระทรวง บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร
ดังนี้ ทำให้เกิดคำถามว่า หาก”บุคคล”โพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ถือเป็นการโฆษณา อวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่ม “โดยตรงหรือโดยอ้อม” หรือไม่ และ “ไม่มีการปรากฎภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น” รวมถึงการไม่มีฉลากในภาพด้วยหรือไม่
“มิให้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร” จะเป็นช่องโหว่ให้ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีช่องทาง ศักยภาพหาทางโฆษณาโดยกฎหมายไม่สามารถเอาผิดได้หรือไม่
ที่สำคัญบทลงโทษของมาตรานี้คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ