สุขภาพและการแพทย์

เตือนโรคร้ายที่มากับฝน พบผู้ป่วยฉี่หนูดับแล้ว 8 ราย

เตือนโรคร้ายที่มากับฝน พบผู้ป่วยฉี่หนูแล้วกว่า 600 ราย : ข่าวสุขภาพ

 

โรคฉี่หนู หน้าฝน – วันที่ 4 มิ.ย. เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว นอกจากความชุ่มฉ่ำแล้วยังแฝงด้วยโรคภัยที่เราอาจไม่ทันระวัง นอกจากโรคไข้เลือดออกซึ่งมียุงลายเป็นพาหะแล้ว โรคหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือ “โรคฉี่หนู”

Advertisements

 

โรคฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) คนอาจคิดว่ามีแค่ฉี่ของหนูเป็นพาหะ แต่แท้จริงแล้วยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ด้วย เช่น สุนัข แมว แพะ เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ผิวหนังที่แช่น้ำซึ่งปนเปื้อนเชื้อโรคฉี่หนู หรือสามารถผ่านเข้าทางอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน

 

สำนักระบาดวิทยา รายงานว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม – 24 พฤษภาคม 2562 พบผู้ป่วโรคฉี่หนูจำนวน 622 ราย เสียชีวิต 8 ราย ผู้ป่วยส่วนใกญ่ผู้ประกอบอาชีพ ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่

 

Advertisements

อาการของผู้ป่วยโรคฉี่หนู

 

มีไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่น่องและโคนขา บางรายมีอาการปวดหัว ตาแดง บางส่วนมีอาการรุนแรง เช่น ไตวาย (ปัสสาวะไม่ออก) ตับวาย (ตัวเหลือง ตาเหลือง) อาจมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด และช็อค (ไม่รู้สึกตัว) ในคนที่รอให้มีอาการมากแล้วจึงมารักษามักจะเสียชีวิต จึงขอให้รีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการลุยน้ำให้ทราบ เพื่อประเมินการรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต้องระวังเป็นพิเศษเนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงติดโรคสูง **อย่าซื้อยากินเองเพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้

 

การรักษาผู้ป่วยโรคฉี่หนู

การรักษาการรักษาโรคควรประกอบด้วยการให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและเหมาะสม การรักษาตามอาการเพื่อแก้ไขความผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับการรักษาประคับประคอง การให้ยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด จะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคได้ penicillin ถือเป็นปฏิชีวนะที่ให้ผลการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด สำหรับรายที่แพ้ penicillin อาจให้ doxycyclineยาปฏิชีวนะ cephalosporins และ lincomycin มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อนี้ในห้องทดลองได้ดี แต่ยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยการทดลองในสัตว์ โดยใช้ยา doxycycline ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อ (bacteriostatic) มากกว่าการฆ่าเชื้อ (bacteriocidal) ยานี้จะถูกดูดซึมเร็วในเนื้อเยื่อต่างๆรวมทั้งไต สมองและน้ำไขสันหลัง

 

ผลการเพาะเชื้อไม่พบการดื้อยา และในลิงพบว่า สามารถลดระยะพบเชื้อในเลือดลงได้ รวมทั้งป้องกันการติดเชื้อในน้ำไขสันหลังและในปัสสาวะได้ด้วย ผลการทดลองในหนูตะเภา พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อในปัสสาวะและป้องกันการตายได้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคช้า และ/หรือ มารับการรักษาช้า (โดยมากมีอาการตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป) และ/หรือ เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีดีซ่านและ serum creatinine สูง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงพบมีอัตราป่วยตาย (CFR) สูงถึง 15-40 % แต่ถ้าได้รับการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน (ซึ่งอย่างน้อยต้องให้การรักษาด้วย peritoneal dialysis) อาจช่วยลด CFR ลงเหลือเพียง 5% ได้Penicillin G ถือเป็นยาที่ให้ผลดีที่สุด ขนาดของ Penicillin G ที่ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ใช้ในขนาดสูงคือ 6 ล้านยูนิต/วัน โดยแบ่งให้ 1.5 ล้านยูนิต ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน

 

อย่างไรก็ตามถ้าพบว่าภายหลังจากให้ Penicillin G แล้ว 3 วัน ยังมีอาการไข้สูง ต้องพิจารณาว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อนหรือให้การวินิจฉัยผิดหรือไม่ ถ้าแน่ใจว่าการวินิจฉัยถูกต้องและไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรพิจารณาถึง bioavailability ของ Penicillin G ที่ใช้Ampicillin ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดที่ใช้ 4 กรัมต่อวัน โดยแบ่งให้ 1 กรัม ทุก 6 ชั่วโมง ติดต่อกัน 7 วัน กรณีผู้ป่วยอาการรุนแรงที่แพ้ Penicillin อาจพิจารณาเลือกใช้ Doxycycline ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดที่ใช้ 100 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง นาน 7 วันสำหรับ Cephalosporins และ Lincomycin มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อนี้ได้ในหลอดทดลองได้ดี แต่ยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยผู้ป่วยอาการอ่อนถึงปานกลาง อาจเลือกใช้ยาดังนี้

  • Doxycycline กิน 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน (กรณีที่ไม่สามารถแยกได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อเลปโตสไปโรซิสหรือสครับทัยฟัส ควรเลือกใช้ Doxycycline แทนการใช้ Penicillin)
  • Amoxycillin กิน 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน
  • Ampicillin กิน 500-750 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน

 

 

 

อ้างอิงจาก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button