ไลฟ์สไตล์

ยัตต้า แปลว่าอะไร ศัพท์ญี่ปุ่นธรรมดา แต่โดนดราม่าว่า 18+ เฉยเลย

จู่ๆ ก็มีดราม่าแบบงงๆ เพจ Drama-Addict เล่าว่า เกิดช่องว่างระหว่างวัยกับศัพทธ์ญี่ปุ่นสามัญ แต่กลายมาเป็นคำแซว 18 บวกซะอย่างงั้น

เรื่องเริ่มต้นจากวีทูบเบอร์ไทยรายหนึ่งที่ไลฟ์สตรีมตามปกติ แล้วมีแฟนคลับตัดช่วงที่วีทูบเบอร์พูดคำว่า “ยัตต้า” (YATTA) ออกมาโพสต์ในทวิตเตอร์ พร้อมแสดงความคิดเห็นว่าเสียงนั้นน่ารักมาก โพสต์นั้นได้รับยอดวิวเป็นไวรัล

ต่อมา ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งชื่อ @NergalNear ซึ่งเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนรักอนิเมะและสื่อญี่ปุ่น ได้รีทวีตโพสต์ดังกล่าวพร้อมแซวเบา ๆ ว่า “ยัตต้า อย่างนั้นเหรอ” โดยมีเจตนาเล่นมุกล้อเลียนตัวเอง เนื่องจากเจ้าตัวมักพูดคำนี้เวลาอัดพอดแคสต์หรือคอนเทนต์เกี่ยวกับอนิเมะ จนกลายเป็นคำติดปากในกลุ่มเพื่อนฝูงกับแฟนคลับ

ทว่า แฟนคลับบางส่วนของวีทูบเบอร์กลับไม่เข้าใจบริบทดังกล่าว คิดว่า @NergalNear กำลังล้อเลียนหรือคุกคามทางเพศวีทูบเบอร์ที่ตนชื่นชอบ จึงเข้ามารุมต่อว่าอย่างรุนแรง

@NergalNear จึงออกมาโพสต์ขอโทษ พร้อมอธิบายว่าคำว่า “ยัตต้า” ไม่มีความหมายแฝงเชิงลบแต่อย่างใด เป็นเพียงคำทั่วไปในภาษาญี่ปุ่นที่สื่อถึงความดีใจจากความสำเร็จ พร้อมทิ้งท้ายว่าหากใครจะตีความในทางลบ นั่นเป็นเรื่องของแต่ละคน

แต่แทนที่ดราม่าจะจบลง แฟนคลับบางส่วนกลับเปลี่ยนท่าที กล่าวโทษว่าเขาไม่ควรเล่นมุกเฉพาะกลุ่มในพื้นที่ที่คนไม่เข้าใจ จึงทำให้เกิดความสับสนและกลายเป็นเรื่องใหญ่โต พร้อมเดินหน้าต่อว่าต่อไป

เปิดที่มาคำว่า ยัตต้า ศัพท์ญี่ปุ่น ความหมายดีมาก แต่ถูกเข้าใจผิด

แท้จริงคำว่า “ยัตตะ” (やった, Yatta) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้แสดงความดีใจหรือความสำเร็จ โดยมาจากกริยา “やる” (yaru) ซึ่งหมายถึง “ทำ” เมื่อผันเป็นรูปอดีตจะกลายเป็น “やった” (yatta) ที่แปลว่า “ทำได้แล้ว” หรือ “สำเร็จแล้ว” ​หรือ เย่ นั่นเอง

คนรุ่น 30-40 ปีคุ้นเคยดีจากเพลงดังในอดีตชื่อ “YATTA” ที่มีเนื้อหาและท่าเต้นสนุกสนาน จนกลายเป็นมีมยอดนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

คำนี้มักใช้ในสถานการณ์ที่ผู้พูดต้องการแสดงความยินดีหรือความภาคภูมิใจที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จ เช่น เมื่อนักเรียนสอบผ่าน หรือเมื่อทีมกีฬาชนะการแข่งขัน

ยัตต้า แปลว่า เย่ ทำสำเร็จแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังมานี้ คำว่า “ยัตตะ” ได้กลายเป็นประเด็นดราม่าในสื่อสังคมออนไลน์ของไทย เนื่องจากมีการนำไปใช้ในบริบทที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำนี้ ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดและการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง เช่น บางคนทึกทักเอาเองว่าเป็นความหมายเชิง 18+ ก็เอาไปใช้ผิดบริบทในเรื่องเพศ

เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด ควรใช้คำว่า “ยัตตะ” ในบริบทที่เหมาะสม สอดคล้องกับความหมายดั้งเดิมของภาษาญี่ปุ่น เราจึงควรศึกษารากศัพท์ ที่มาของคำให้ถูกต้องกระจ่างชัดเจน

อ่านคำศัพท์อื่นๆ

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button