รู้จัก กระเจี๊ยบแดง พืชมหัศจรรย์ใกล้ตัวที่มาพร้อมคุณประโยชน์ ทั้งชะลอแก่ บำรุงตับ หลับง่าย
สรรพคุณ ดอกกระเจี๊ยบแดง พืชมหัศจรรย์ใกล้ตัว ช่วยชะลอวัย บำรุงตับ แนะนำวิธีการต้มง่าย ๆ ใน 15 นาที การแปรรูปแบบอื่น ๆ และข้อควรระวัง
ดอกกระเจี๊ยบแดง หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อดอกอาร์ติโช้คสีแดง เป็นพืชที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการบำรุงตับ ดอกไม้สีแดงสดนี้ไม่เพียงช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารและขับปัสสาวะตามธรรมชาติ แต่ยังช่วยปรับปรุงการทำงานของถุงน้ำดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้นกระเจี๊ยบแดงเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น หลายพื้นที่นิยมปลูกเพื่อเก็บดอกมาทำชา แยม หรือไซรัป วันนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับสรรพคุณที่ยอดเยี่ยมของดอกกระเจี๊ยบแดง ที่ไม่ควรพลาด
สรรพคุณของดอกกระเจี๊ยบแดง
1. ลดไขมันในเลือด และคอเลสเตอรอล
ศาสตราจารย์ หวัง จิ้นคุน อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทย์จงซาน และประธานกิตติมศักดิ์สมาคมโภชนาการไต้หวัน (จีน) กล่าวว่า ทีมวิจัยของเขาได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 40 คน ทั้งชายและหญิง อายุเฉลี่ย 48 ปี ซึ่งมีภาวะไขมันในเลือดสูง
โดยให้ผู้เข้าร่วมดื่มชาดอกกระเจี๊ํยบแดงอุ่น ๆ วันละ 200 ซีซี ผลปรากฏว่า 1 เดือนต่อมา ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงจาก 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เหลือ 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และหลังจากดื่มต่อเนื่อง 6 เดือน ผิวพรรณมีความชุ่มชื้น เปล่งปลั่ง ริ้วรอยลดลงกว่า 50%
2. ต้านการอักเสบ ชะลอวัย
ศาสตราจารย์ หวัง จิ้นคุน ชี้ว่า ดอกอาร์ติโช้คสีแดง ไม่เพียงแค่ช่วยลดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ อีกมากมาย อุดมไปด้วยสารไฟโตเคมิคอลจากธรรมชาติ ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ เพิ่มประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณจึงฟื้นฟูได้เร็ว
จากการทดลองในสัตว์พบว่า ดอกอาร์ติโช้คสีแดง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ และผลการทดลองทางคลินิกในมนุษย์ ก็ยืนยันว่า ดอกอาร์ติโช้คสีแดง มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีสารแอนโทไซยานิน และฟลาโวนอยด์ ซึ่งช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ไม่ควรดื่มชาอาร์ติโช้คสีแดงมากเกินไป ควรดื่มแบบอุ่น ๆ ไม่ควรดื่มแบบเย็น เพื่อป้องกันผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร และไม่ควรดื่มตอนท้องว่าง เพราะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ
3. บำรุงตับ ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
สารโพลีฟีนอลในดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยลด oxidative stress ที่ตับ ลดการอักเสบ และการตายของเซลล์ตับ จึงมีส่วนช่วยบำรุง และปกป้องตับ นอกจากนี้ ยังมีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร
4. บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้นอนหลับสบาย
นำดอกกระเจีญบแดงมาแช่น้ำ ใช้ล้างหน้า จะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ คล้ายกุหลาบ น้ำจะมีสีแดงอ่อนๆ ช่วยให้ผิวหน้าเนียนนุ่ม หรือจะนำดอกอาร์ติโช้คสีแดงมาตากแห้ง ใช้ทำไส้หมอน กลิ่นหอม ๆ จะช่วยให้หลับสบายขึ้น
วิธีต้มน้ำกระเจี๊ยบแดง และการใช้กระเจี๊ยบแดงบำรุงร่างกาย
ส่วนผสมที่ต้องเตรียม
- ดอกกระเจี๊ยบแดงแห้ง: 1 ถ้วยตวง
- น้ำสะอาด 2 ลิตร
- น้ำตาลทรายหรือน้ำผึ้ง ตามชอบ (เพื่อเพิ่มรสชาติ)
ขั้นตอนการต้มน้ำกระเจี๊ยบแดง
1. ล้างกระเจี๊ยบแดง นำดอกกระเจี๊ยบแดงแห้งมาล้างน้ำสะอาด เพื่อขจัดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ในดอกกระเจี๊ยบ
2. ต้มดอกกระเจี๊ยบแดง ต้มน้ำสะอาดในหม้อด้วยไฟกลางจนเดือด จากนั้นใส่ดอกกระเจี๊ยบแดงลงไป ต้มต่อประมาณ 10-15 นาที จนน้ำเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม
3. กรองน้ำกระเจี๊ยบ ใช้ผ้าขาวบางหรือกระชอนกรองน้ำกระเจี๊ยบ เพื่อแยกกากออก
4. เติมรสชาติ (ถ้าต้องการ)
เติมน้ำตาลทรายหรือน้ำผึ้งตามความชอบ คนให้ละลาย แล้วพักให้เย็น หรือจะดื่มแบบอุ่นก็ได้
5. จัดเสิร์ฟ โดยสามารถเสิร์ฟแบบร้อนหรือเติมน้ำแข็งเพื่อดื่มแบบเย็นสดชื่น
การใช้กระเจี๊ยบแดงในรูปแบบอื่น
- ชากระเจี๊ยบ ต้มน้ำกระเจี๊ยบแบบเข้มข้นแล้วนำมาชงดื่มร้อน คล้ายชา
2. แยมกระเจี๊ยบ ใช้ดอกกระเจี๊ยบแดงสดหรือต้มสุก ผสมกับน้ำตาล เคี่ยวจนข้น เหมาะสำหรับทาขนมปัง
3. ไซรัปกระเจี๊ยบ ใช้ดอกกระเจี๊ยบต้มกับน้ำตาลจนเหนียว ใช้ผสมเครื่องดื่มต่างๆ
ทั้งนี้ เคล็ดลับเพื่อสุขภาพที่ดี ควรดื่มน้ำกระเจี๊ยบในปริมาณที่พอเหมาะ (วันละ 1-2 แก้ว) เพื่อป้องกันการขับแคลเซียมออกจากร่างกายมากเกินไป และหลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาลมากเกินไปเพื่อควบคุมปริมาณแคลอรี
ข้อควรระวังในการใช้ดอกกระเจี๊ยบแดง
- ไม่ควรใช้มากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ตับทำงานหนัก ท้องอืด อ่อนเพลีย
2. ดอกกระเจี๊ยบแดง มีขนเล็ก ๆ หากสัมผัสมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการแพ้ คัน หรือผื่นแดง
3. ผู้ที่มีภาวะท่อน้ำดีอุดตัน หรือมีนิ่วในถุงน้ำดี ไม่ควรใช้
4. ผู้ที่กำลังรับประทานธาตุเหล็ก ไม่ควรใช้ เพราะกระเจี๊ยบแดงอาจขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก
5. สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
- แจกคัมภีร์ “อาหารดี” คู่มือกินดี ตายช้า ปีใหม่เริ่มต้นสุขภาพแข็งแรง
- แพทย์เตือน 4 เครื่องดื่มอันตราย ห้ามดื่มก่อนนอน เสี่ยงภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
- เช็ก 5 สัญญาณไตดี หลังตื่นนอนง่าย ๆ ตามตำราแพทย์จีน
อ้างอิง: soha vn