ข่าว

สยอง บุกตลาด “สุ่มตรวจเนื้อวัว” พบมีสารฟอร์มาลีนปนเปื้อน

อันตรายใกล้ตัว พบ “สไบนาง” หรือ ผ้าขี้ริ้ววัว ขายในตลาดสด มีสารฟอร์มาลีนปนเปื้อน ด้านแม่ค้าอ้าง ซื้อมาจากห้างสรรพสินค้าในเมืองมาอีกที

วันนี้ (4 พ.ย.) เจ้าหน้าที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลนางรอง จ.บุรีรัมย์, สาธารณสุข และรองปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง-ศูนย์ดำรงธรรม ลงพื้นที่สุ่มตรวจเขียงจำหน่ายเนื้อวัวสด ตลาดสระหญ้าม้า หลังมีชาวบ้านร้องเรียนว่าซื้อเนื้อวัวและเครื่องในที่ร้านแห่งหนึ่งในตลอด แล้วเกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล

Advertisements

รวมถึงการดำเนินการก่อนหน้านี้ที่เจ้าหน้าที่เคยเก็บตัวอย่างเนื้อวัวและเครื่องในไปตรวจหาสารปนเปื้อนแล้วพบว่า “สไบนาง” หรือ ผ้าขี้ริ้ววัว มีสารฟอร์มาลีนปนเปื้อน โดยฝั่งแม่ค้าอ้างว่ารับต่อมาจากห้างสรรพสินค้าในตัวเมืองบุรีรัมย์ จนท. จึงตักเตือนและสั่งห้ามไม่ให้นำมาจำหน่ายอีก

เนื้อวัวแช่ฟอร์มาลีน

ด้านผลการสุ่มตรวจวันนี้นั้น เจ้าหน้าที่พบว่าไม่มีการนำสไบนางแช่ฟอร์มาลีนมาขายเหมือนครั้งก่อน มีเพียงเนื้อวัวและเครื่องที่ชำแหละจากโรงฆ่าสัตว์ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น และการใช้น้ำยาสุ่มตรวจเนื้อวัว-เครื่องในก็ไม่พบสารฟอร์มาลีนหรือสารปนเปื้อนอย่างอื่นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จึงอธิบายแก่แม่ค้าว่าหากนำเนื้อหรืออาหารที่ปนเปื้อนมาจำหน่ายนั้น อาจต้องโทษจำคุก 2 ปี ปรับถึง 20,000 บาท หากมีการร้องเรียนเกิดขึ้น ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ความสะอาด ปี 2522

แม่ค้าตลาดสด ขายสไบ แช่ฟอร์มาลีน
ภาพไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

ขณะที่ นางบัวเรียง อายุ 60 ปีเจ้าของร้านเนื้อวัวดังกล่าว ระบุว่า ตนเพิ่งเช่าร้านต่อจากเจ้าของเดิม โดยปกติเนื้อวัวที่นำมาขายผ่านการชำแหละจากโรงฆ่า แต่ช่วงหนึ่งลูกค้ามาถามหาสไบนาง ตนจึงตัดสินใจซื้อจากห้างสรรพสินค้าในตัวเมืองมาขาย แต่ไม่รู้ว่ามีการแช่ฟอร์มาลิน และเพิ่งทราบตอนเจ้าหน้าที่ขอตัวอย่างไปตรวจแล้วรับทราบว่ามีสารดังกล่าวปนเปื้อน ทำให้ตั้งแต่นั้นตนก็ไม่รับมาขายอีก

Advertisements

ทั้งนี้ฟอร์มาลีน (Formalin) คือสารละลายใส ไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน เกิดจากการละลายก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ในน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้โมเลกุลของฟอร์มาลดีไฮด์รวมตัวกันเป็นโพลิเมอร์ โดยฟอร์มาลีนมักนิยมใช้ในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนด้านการแพทย์จะใช้ในการรักษาสภาพศพไว้ไม่ให้เกิดการเน่าเปื่อย รวมทั้งยังใช้เป็นยาดับกลิ่นฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่เนื่องจากเมื่อใช้ในการคงความสดของอาหารเพื่อให้เกิดความน่ากินก็อาจเกิดผลอันตรายต่อผู้บริโภคได้

อันตรายของฟอร์มาลีน (หากสัมผัสหรือสูดดม)

  • มีอาการระคายเคืองที่ผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นชนิดต่าง ๆ หรือผื่นลมพิษชนิดเฉียบพลัน
  • ปวดศีรษะรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว
  • ปากและคอแห้ง มีอาการคลื่นไส้
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง ปัสสาวะไม่ออก
  • เกิดภาวะหลอดลมตีบ หายใจลำบาก
  • ความดันเลือดต่ำ จนทำให้ช็อกหรือหมดสติ เลือดเป็นกรดและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

ฟอร์มาลีน

ขอบคุณข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

yo

First jobber Gen z ใหม่แกะกล่องส่งตรงจาก อักษรศาสตร์ สาขาวิชาปรัชญา มศก. งานอดิเรกชอบท่องโลกออนไลน์ เล่นกับแมว เที่ยวกับครอบครัว อ่านมังงะ เล่นเกม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button