ข่าว

ไทยพีบีเอส เตือนภัย! อีเมลมิจฉาชีพ หลังเพจชื่อดังโดนหลอก

ช่อง ไทยพีบีเอส ประกาศเตือนภัยหลังมีอีเมลมิจฉาชีพแอบอ้างตรวจสอบเรื่องลิขสิทธิ์ถูกส่งหาเพจบล็อกเกอร์ชื่อดัง พร้อมแนะนำวิธีดูอีเมลที่ถูกต้องตามช่องจริง

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาเพจบล็อกเกอร์ชื่อดัง ReviewHere ได้ออกมาโพสต์แจ้งเหตุเกี่ยวกับมิจฉาชีพที่แฝงตัวผ่านทางอีเมล ซึ่งใช้ชื่อหัวข้ออีเมลว่า “ประกาศเกี่ยวกับการใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต” และมีเอกสารแนบเป็นไฟล์ PDF ให้เขาไปดู กลายเป็นว่าพอเข้าไปตรวจกลายเป็นเว็บ Dropbox ซึ่งอีเมลดังกล่าว ไม่ได้ถูกส่งจากช่องไทยพีบีเอส

Advertisements

โพสต์ดังกล่าวระบุว่า “ถือว่าเป็นเรื่องสยองในตอนเช้าสำหรับแอดมากเมื่อ 7 โมง 44 นาที ได้มีเมลฉบับหนึ่ง จั่วหัวว่ามาจาก Thai PBS บอกว่า เพจแอด มีการใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยมีการแนบเอกสาร PDF ให้ดูไฟล์นั้นด้วย พอแอดเข้าไป กลายเป็นว่าเข้าไปในเว็บ Dropbox แอดรีบกดออกและเปลี่ยนรหัสเมลทันทีพอมาดูชื่อผู้ส่ง ก็เหมือนไม่ใช่เมลจาก Thaipbs แต่เป็นจากไหนก็ไม่รู้เลยคิดว่า อาจจะเป็นมิจฉาชีพแน่ ๆ ฝากถึงหลายๆเพจทุกท่านนะครับ ว่ามันมีมิจฉาชีพมาในรูปแบบนี้แล้ว ยังไง เช็คให้ดี ก่อนจะทำอะไรนะครับ ว่าแต่เรารีบออกมาก่อนและรีบเปลี่ยนรหัส จะโดนอะไรไหมนะใครมีความรู้ด้านนี้ มาแนะนำเพิ่มเติมได้นะครับ”

ReviewHere ได้ออกมาโพสต์แจ้งเหตุเกี่ยวกับมิจฉาชีพที่แฝงตัวผ่านทางอีเมล ซึ่งใช้ชื่อหัวข้ออีเมลว่า "ประกาศเกี่ยวกับการใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต"

ต่อมาทางเฟสบุ๊คเพจทางการของช่อง ไทยพีบีเอส ได้มาคอมเมนต์เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ก่อนจะขอนำเรื่องดังกล่าวที่ทางเพจได้เจอไปทำภาพไว้เตือนภัย กลุ่มมิจฉาชีพที่มาในคราบอีเมล โดยมีการทำภาพอินโฟรกราฟฟิกแนะนำวิธีการในการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง

เฟสบุ๊คเพจทางการของช่อง ไทยพีบีเอส ได้มาคอมเมนต์เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ก่อนจะขอนำเรื่องดังกล่าวที่ทางเพจได้เจอไปทำภาพไว้เตือนภัย กลุ่มมิจฉาชีพที่มาในคราบอีเมล โดยมีการทำภาพอินโฟรกราฟฟิกแนะนำวิธีการในการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง

“เตือนภัย! จากกรณีเพจ #ReviewHere ได้รับอีเมลแสดงโลโก้และชื่อผู้ส่งอ้างเป็น Thai PBS โดยใช้ชื่อหัวข้ออีเมลว่า “ประกาศเกี่ยวกับการใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต” และมีเอกสารแนบเป็นไฟล์ PDF ซึ่งอีเมลดังกล่าว ไม่ได้ถูกส่งจากไทยพีบีเอสแต่อย่างใด

Advertisements

แอดมินจึงขอแนะนำ 4 จุดสังเกตสำคัญที่ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบความผิดปกติ เมื่อท่านได้รับอีเมลแปลก ๆ
1. การตั้งหัวข้ออีเมล หรือชื่อเรื่อง อีเมลหลอกลวงมักใช้ข้อความที่สร้างความตระหนก ความเสียหาย หรือสร้างความวิตกกังวล

2. สังเกตชื่ออีเมล คำสะกด และโดเมนเนม หรือที่อยู่ของอีเมลผู้ส่ง (ไม่ควรดูเฉพาะแค่ชื่อที่แสดงบนอีเมล หรือ Display Name) หากส่งมาจากองค์กร จะต้องเป็นชื่อขององค์กรนั้น ๆ เช่น webmaster@thaipbs.or.th

3. อีเมลปลอม มักมีการใช้ข้อความที่จะระบุเวลาที่เร่งรีบให้มีการดำเนินการ เช่น ให้รีบกดลิงก์ ให้รีบตอบกลับ เพื่อให้ผู้รับอีเมล ไม่ทันได้อ่านรายละเอียดและไม่ใช้เวลาในการตรวจสอบมาก

4. ห้ามคลิก! ลิงก์ใด ๆ ที่แนบมาในอีเมล แต่ควรเช็กลิงก์ที่แนบมาว่าเป็นลิงก์ที่จะเชื่อมไปที่ยังลิงก์ที่แท้จริงหรือไม่ โดยสามารถเอาเมาส์ไปชี้ที่ลิงก์ เพื่อดูที่อยู่จริง ๆ หรือคลิกขวาเพื่อ copy link และนำไปวางบน Notepad

ทั้งนี้ หากแฟน ๆ ได้รับอีเมลจากไทยพีบีเอส จะต้องเป็นการส่งจาก thaipbs.or.th หรือสามารถตรวจสอบกลับมายังองค์กรหรือผู้เกี่ยวข้อง ได้ที่ www.thaipbs.or.th/Contactus หรือทุกช่องทาง Social Media

และสามารถแจ้งปัญหาอาชญกรรมไซเบอร์ต่าง ๆ ไปยัง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) หรือแจ้งผ่านเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.go.th

..ขอบคุณภาพอีเมลหลอกลวงจากเพจ ReviewHere “

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

somkiar

นักเขียนสายรีวิว ดีกรีแอดมินเพจ ชอบเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร เนิร์ดหนังและซีรีส์ตัวพ่อ เอนจอยการถ่ายรูปและงานนิทรรศการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button