ข่าวยานยนต์

ซูซูกิ ประกาศ ปิดโรงงานผลิตในไทย เน้นนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า-ไฮบริด

ซูซูกิ ประกาศปิดโรงงาน ยุติการผลิตในไทย สิ้นปี 2568 เตรียมปรับแผนธุรกิจนำเข้ารถยนต์จากประเทศแถบอาเซียนแทน พร้อมนำรถไฟฟ้า-ไฮบริด เข้าสู่ตลาดในอนาคต

วันนี้ (7 มิ.ย. 67) ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น บริษัทที่ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นชื่อดัง ออกประกาศยุติการผลิตโรงงานรถยนตร์ในประเทศไทย (เครือ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย) ภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2568 นี้ โดยจะเปลี่ยนเป็นการนำเข้ารถยนต์จากโรงงานใน ภูมิภาคแถบอาเซียน รวมถึงประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดียแทน

ทางซูซูกิให้สาเหตุของการยุติครั้งนี้ว่า มาจากการที่บริษัทได้ริเริ่มสมัครเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการลงทุนรถยนต์อีโคคาร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ของรัฐบาลไทย ทำให้เกิดการส่งออกมากถึง 60,000 คันต่อปี และต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับโลก รวมทั้งต้องการส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอนและการใช้ยานยนต์ พลังงานไฟฟ้าของทั่วโลก โดยในอนาคตจะเริ่มมีการแนะนำรถยนตร์ไฟฟ้ารุ่นต่าง ๆ รวมถึง HEVs เข้าสู่ท้องตลาด เพื่อตอบสนองนโยบายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนของรัฐบาลข้างต้น

รถยนต์ในรุ่นการผลิตของเครือ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย)

  • Swift ซูซูกิ สวิ๊ฟ
  • Ciaz ซูซูกิ ซีแอสซ์
  • Celerio ซูซูกิ ซีลีริโอ

ซูซูกิ ประกาศ เลิกผลิตรถยนต์ในไทย เปลี่ยนเป็นนำเข้าแทน

“7 มิถุนายน 2567 – ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น มีประกาศถึงการตัดสินใจยุติการผลิตที่โรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัทในเครือใน ประเทศไทย “บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จํากัด” (ซึ่งต่อไปนี้จะถูกเรียกว่า “SMT”) ภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2558 โดยการ ตัดสินใจในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนโครงสร้างการผลิตของซูซูกิทั่วโลก

ตามที่รัฐบาลไทยได้มีการส่งเสริมการลงทุนรถยนต์อีโคคาร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ในเวลาดังกล่าวซูซูกิได้สมัครเข้าร่วมโครงการและ ก่อตั้ง SMT ขึ้น ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งหลังจากที่ได้รับการอนุมัติจึงได้มีการเริ่มดําเนินการผลิตขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา โดย สามารถผลิตและส่งออกได้มากถึง 60,000 คันต่อปี ทั้งนี้ด้วยการส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอนและการใช้ยานยนต์ พลังงานไฟฟ้าของทั่วโลก ซูซูกิได้มีการพิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับโลก จึงได้ตัดสินใจยุติการดําเนินการของ โรงงาน SMT ภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2568 นี้

แม้จะมีการยุติการดําเนินการของโรงงานในประเทศไทย แต่ SMT จะยังคงมุ่งมั่นที่จะดําเนินธุรกิจในการจําหน่ายและให้บริการ หลังการขาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวไทยต่อไป ซึ่งจะมีการปรับแผนธุรกิจเป็นการนําเข้ารถยนต์จากโรงงานใน ภูมิภาคแถบอาเซียน รวมถึงประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย

นอกจากนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนและให้สอดคล้องในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนตามนโยบายของภาครัฐ บริษัทฯ จะมีการแนะนํารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นต่างๆ รวมถึง HEVs เข้าสู่ตลาดในอนาคตด้วยเช่นกัน”

วิเคราะห์ สาเหตุหลักที่ซูซูกิ ประกาศปิดโรงงานในปี 2568

ในปัจจุบันกระแสรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทางเลือก ส่งผลให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์ไฮบริด (HEV) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โรงงานของซูซูกิในไทยไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อผลิตรถยนต์ประเภทนี้ ทำให้บริษัทต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อให้ทันกับเทรนด์โลก

อีกทั้งตลาดรถยนต์ในประเทศไทยมีการแข่งขันที่สูงมาก จำนวนผู้ผลิตรถยนต์มีหลายราย ทั้งแบรนด์จากญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ทำให้ซูซูกิต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

การปรับโครงสร้างการผลิตทั่วโลก ซูซูกิต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในระดับโลก เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น การยุติการผลิตในบางประเทศที่ไม่สามารถทำกำไรได้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างนี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button