บริษัทให้ลาบวช แต่ต้อง Work From กุฏิ ชาวเน็ตถกสนั่น เหมาะสมไหม ยุลาบวชเสร็จ ลาออกเลย
เรียกเสียงฮือฮาให้ชาวออฟฟิศได้เป็นอย่างดี หลังหนุ่มโพสต์ถาม ลาไปบวชแต่บริษัทให้หอบงานไปทำด้วย หรืองานนี้จะต้อง Work From กุฏิกันนะ
วันนี้ 4 มิถุนายน 2567 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง แชร์ประสบการณ์ในกลุ่ม JobThai Official Group โพสต์ถามชาวโซเชียลว่า กรณีแจ้งบริษัทขอลาบวช บริษัทก็อนุมัติ แต่ต้องนำ Notebook ไปทำงานด้วย แบบนี้เรียกปกติหรือไม่
งานนี้เรียกเสียงฮาได้ไม่น้อย หลังชาวเน็ตเห็นข้อความดังกล่าว แห่คอมเมนต์ถาม อันนี้เรื่องจริงหรือจ้อจี้ ลาทั้งที่ยังให้ทำงาน เรียกว่าลาแบบใด บางส่วนแสดงความเห็นเชิงขบขันว่า ถ้าให้ลาแบบนี้ ลาออกเลยเสียดีกว่า เพราะการลาบวช เป็นสวัสดิการที่ลาได้ ถ้าต้องให้ทำกิจของสงฆ์ไปด้วย ทำงานไปด้วย จะเรียกว่าลาบวชได้อย่างไร
นอกจากนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางราย ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า การที่พนักงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ในองค์ขอลาไปทำธุระสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วต้องถูกเรียกตัว หรือบังคับให้ยังทำงานอยู่นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มิเช่นนั้นจะเรียกว่าลางานได้อย่างไร
“อันนี้จริงหรือจ้อจี้คะเนี่ยยยย 55555″
“ขอยาดขำนะคะ #WorkFormกุฏิ โอ้ยยยย นายแบบไหนคะเนี่ย”
“ก็เปิด Zoom ประชุมตอนสวดอภิธรรมไปเลยสิครับ”
“อันดับแรก ผมขอขำเล็กๆกับ Process ขององค์กร(ขำแบบเศร้าใจ) ซึ่งมันไม่ถูกต้องมากๆเลยครับ การลาไม่ว่ารูปแบบไหน คือต้องตัดเรื่องงานออกครับ นอกจาก Urgent work จริงๆ แต่ไม่ใช่กิจลักษณะแบบนี้”
“จริงๆแล้วการลาก็คือทิ้งเรื่องงานไปเลยนะ..แต่ถ้าคิดว่าช่วยเหลือกันและกัน..ผมว่าก็น่าจะทำได้นะสำหรับเคสนี้..
ก็แค่รับปากไป..ทำไม่ทำเป็นอีกเรื่อง..ท่านคงบวชไม่ถึงพรรษาหรอกมั้ง”
หากเปิดกฎหมาย พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2566 กำหนดให้ข้าราชการสามารถลาบวชได้ 120 วัน โดยต้องยื่นขอลาล่วงหน้าอย่างน้อย 360 วัน และต้องเข้ารับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
ส่วนเอกชน สิทธิการลาบวชนั้นไม่ได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร อยู่ที่แต่ละองค์กรกำหนดตามความเหมาะสม เช่น ลาบวชได้ต้องมีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป ลาบวชได้ 15 วัน หากเกินนั้นไม่ได้รับค่าจ้าง และลาได้กี่ครั้งตลอดอายุงาน เป็นต้น
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง