ประวัติ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ตำนาน ผบ.สูงสุด

นับเป็นอีกหนึ่งความสูญเสียของวงการรั้วของชาติ เมื่อ “บิ๊กเต้” พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล เสียชีวิตแล้วอย่างสงบด้วยอายุ 91 ปี วันนี้ Thaiger จึงขอแสดงความไว้อาลัย ย้อนประวัติของท่านให้คนรุ่นหลังได้รับทราบ
เส้นทางกว่าจะมาเป็น เกษตร โรจนนิล
บิ๊กเต้ เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2476 สมรสกับ คุณหญิงวันทนา โรจนนิล ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 3 คน คือ ผศ.เกศินี บูชาชาติ ดร.กษมา โรจนนิล ยุกตะทัต และ กนิษฐา กอวัฒนา
เมื่อเรียนจบ ได้เข้ารับราชการทหารครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 ตอนนั้นท่านมีอายุได้ 25 ปี สังกัดทหารอากาศ ยศนาวาอากาศเอก ก็ได้เลื่อนเป็นเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
ไม่นานเพียง 18 ปีต่อมา ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2520 จึงเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่ก้าวเข้ามาสู่เส้นทางการเมือง อันเนื่องมาจากผลของเหตุการณ์รัฐประหาร 6 ตุลาคม
ส่วนเส้นทางทหารก็ดำเนินควบคู่ไปด้วย พลอากาศเอก เกษตร ได้เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ ในปี พ.ศ. 2532 เมื่ออายุ 56 ปี
กระทั่งสองปีต่อมา บิ๊กเต้มีบทบาทในการรัฐประหาร พ.ศ. 2534 ด้วยการเป็นสมาชิกและหัวหน้าคณะของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ฐานะผู้บัญชาการทหารอากาศ ต้องบัญชาการการควบคุมตัว พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่สนามบินกองทัพอากาศ (บน.6) เพื่อให้การก่อการสำเร็จได้ด้วยดี
บทบาทการเมือง
หลังจากนั้นมา พล.อ.อ. เกษตร ก็ได้มีบทบาทในทางการเมืองอย่างสูงผู้หนึ่ง ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ให้การก่อตั้งและสนับสนุนพรรคสามัคคีธรรม และมีโอกาสจะได้เป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ถัดจากอานันท์ ปันยารชุน กรณี พล.อ. สุจินดา คราประยูร ไม่รับตำแหน่ง แต่ก็พลาดเก้าอี้ เนื่องจากพลเอกสุจินดาอ้างว่ายอมเสียสัตย์เพื่อชาติ รับตำแหน่งเอง
กรณีของพลเอกสุจินดานี้เองจนทำให้เกิดความไม่พอใจของประชาชนเป็นชนวนสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 ในที่สุด
ในช่วงระหว่างนั้น บิ๊กเต้ได้เป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด อยู่ 116 วัน (6 เมษายน พ.ศ. 2535 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535)
ส่วนบิ๊กเต้ หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ถูกปลดจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารอากาศ ไปเป็นจเรทหารทั่วไป และได้ยุติบทบาททางการเมืองไป และไม่ยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองอีกเลยจนถึงปัจจุบันนี้
เกียรติยศ
บิ๊กเต้ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มากมายทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)
พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)
พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช
พ.ศ. 2511 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
พ.ศ. 2533 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1
พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
-
- เวียดนามใต้:
พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรณรงค์เวียดนาม - สหรัฐ:
พ.ศ. 2533 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา - อินโดนีเซีย:
พ.ศ. 2534 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราสวภูวนปักษะ ชั้นอุตมา - ญี่ปุ่น :
พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1
- เวียดนามใต้: