พิธา เสียดาย สภาคว่ำร่างพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับ “เซีย จำปาทอง”
พิธา เสียดาย ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับของสส.เซีย จำปาทอง พรรค ก้าวไกล ถูกปัดตก เหตุร่างฉบับดังกล่าว จะช่วยแก้ไขปัญหาผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล แสดงความเห็น หลังจากที่ประชุมสภาเมื่อวานนี้ (6 มี.ค.67) ปัดตกร่างกฏหมายแรงงานฉบับของเซีย จำปาทอง ส.ส.ปีกแรงงาน ของพรรค ผ่านบัญชีเอ็กซ์ @Pita_MFP โดย พิธา ออกมาตั้งหัวข้อถึคงความสำคัญของ ค่าแรงเพิ่ม พักผ่อนเรียนรู้ ใช้ชีวิต สำคัญกับอนาคตแรงงานและประเทศอย่างไร
ก่อนจะยอมรับว่า เป็นที่น่าเสียดายที่ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับของสส.เซีย จำปาทอง พรรค ก้าวไกล ที่วันนี้ ตนได้ร่วมสนับสนุนในที่ ประชุมสภาไม่ผ่านมติ เพราะร่างฉบับนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาผู้ใช้แรงงานให้ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้
พิธา ระบุ เรื่องแรงงานนั้นต้องมองเป็นภาพรวม เพราะนโนบายแรงงานเป็นส่วนหนึ่งของทั้งองคาพยพที่ต้องคิดเป็นระบบให้ได้ เพื่อที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้ ดังนั้นเรื่องแรงงานนั้นไม่สามารถมองเป็นเรื่องเฉพาะแรงงานได้อย่างเดียว แต่มีความเกี่ยวพันไปกับเรื่องอื่น ๆ
เวลาพูดถึงเรื่องแรงงานในการดูแลลูกจ้าง ที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผลิตภาพแรงงานที่ดีขึ้น สภาพแวดล้อมแรงงานที่ดีขึ้น “ต้องควบคู่ไปกับนโยบาย SME ที่ดูแลนายจ้างด้วย” ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร การรองรับการเปลี่ยนผ่าน ไม่ว่าจะมาตรการภาษี การไม่ต้องจ่ายค่าประกันสังคมขณะที่ค่าแรงขึ้น หรือมาตรการ Soft loan ดอกเบื้ยต่ำ เพื่อให้อยู่ร่วมกันกับแรงงานได้เป็นระบบนิเวศได้ และรวมไปถึงการศึกษาที่ส่งเสริมอาชีวะ ที่จะเป็นด้านที่ส่งแรงงานเข้าไปสู่การทำงานกับ SME ที่ต้องมีหลักสูตรที่ตอบโจทย์ Upskill, Reskill และ Lifelong Learning
เพราะทั้งหมดนี้ เป็นการเพิ่มสิทธิแรงงาน ปฏิรูปแรงงาน ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเศรษฐกิจจากฐานรากสู่ด้านบนที่เรียกได้ว่า Bottom-up Economics ที่มีส่วนสำคัญต่อ Inclusice Growth เราต้องการให้เศรษฐกิจไทยโตอย่างสมดุล ลดความเหลือมล้ำ ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบหัวโต ตัวลีบ ขาลีบ
ภาพของแรงงานในอนาคตที่ประเทศไทย ต้องคือต้องทำการเปลี่ยน “2 ต่ำ” คือ ค่าแรงต่ำและผลผลิตแรงงานที่ต่ำ ให้กลายเป็น “2 สูง” คือ มีค่าแรงที่สูงขึ้น และสร้างให้แรงงานมีผลผลิตแรงงานที่สูงขึ้น เพื่อที่จะทำให้ แรงงาน SME และธุรกิจนั้นอยู่ได้ยั่งยืนขึ้น ซึ่งทางสภาอุตสาหกรรมและสภาหอการค้าก็เห็นด้วย
และถ้ามองปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งในระดับมหภาพ ที่ GDP ที่มีโตเพียง 2-3% ในทุกปีแต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ที่จะทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับจุลภาคจะเห็นได้ว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ได้นั้นไม่สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นและมีอัตราที่แทบคงที่เป็นเส้นตรง ไม่มีการเจริญเติบโต ถ้าอยากจะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ มีอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เข้ามาในประเทศ ก็ต้องปรับโครงสร้างของแรงงานไทย ให้มีทักษะที่เพิ่มขึ้น ให้สามารถ upskill/reskill ของตัวเองขึ้นมา
แต่แรงงานจะเอาเวลาไหนมาเพิ่มทักษะ เพิ่มขีดความสามารถ upskill/reskill เพื่อนายจ้าง SME ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ ถ้าเวลาพักผ่อนยังไม่มี เวลาใช้ชีวิตกับครอบครัวยังไม่มี ความเหลือมล้ำยังมีอยู่
ดังนั้นเราไม่สามารถทำให้ขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยเพิ่มขึ้นได้ ถ้ายังกดค่าแรงขั้นต่ำ เวลาในการทำงาน แต่ต้องสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในด้านอื่นขึ้นมา ไม่ใช่การเอาหยาดเหงื่อคนไทยไปแลก เพื่อดึงอุตสาหกรรมต่างชาติเข้ามา เหมือนในอดีต ตอนนี้ต้องทำให้แรงงานไทย ลืมตาอ้าปากได้ สามารถใช้ชีวิตได้ มีความสุขกับการใช้ชีวิต พร้อมเรียนรู้ในอนาคต
เพื่อที่จะให้แรงงานำไปพัฒนาเศรษฐกิจต่อได้ ต้องทำให้ 3 เป้าหมายนั้นเป็นจริงให้ได้ นั้นคือ
- ค่าตอบแทนและความครอบคลุม
- สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
- สมดุลในที่ทำงาน
แต่ในทุกวันนี้ทั้ง 3 เป้าหมายนี้ยังอยู่ห่างไกลจากความเป็นจริงมาก เพราะปัจจุบัน ค่าแรงถูก แต่สินค้ามีราคาแพง มีความเหลือมล้ำและเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน และการทำงานที่ Work ไร้ Balance
ดังนั้น ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ฉบับก้าวไกลมองการแก้ไขปัญหา 3 เป้าหมายนี้โดย
1. ค่าแรงเพิ่มขึ้นทุกปี ทุกคนที่ทำงานคือแรงงาน และคุมครอง ครอบคลุม Freelance และแรงงาน Platform
2. สามารถลาดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้ และไม่มีการเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงาน สตรีสามารถให้นมบุตร ปั้มนมได้ ลาคลอดได้ ที่มีตัวอย่างจากต่างประเทศที่ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของภาครัฐขึ้นมาได้
3. การมีวันลา 10 วันต่อปี และทำงานเพียง 40 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ ทำให้มีสมดุลในชีวิต Work Life Balance ที่จะทำให้ Productivity เพิ่มขึ้น โดยแรงงานมีเวลาพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับเทคโนโลยีในอนาคต เช่นใน มีการให้เพิ่มทักษะ AI เพิ่มเติมในสิงคโปร์โดยการสนับสนุนเงินในการเรียนจากรัฐ หรือ Digital-based education innovation plan ของเกาหลีใต้ ที่ทำให้ผลผลิตของแรงงานเพิ่มขึ้น สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ และทำให้ประเทศมีผลผลิตมวลรวมที่ดีขึ้นมา.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สส.รัฐบาล คว่ำร่างทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ มติเสียงข้างมาก 252 เสียง ต่อ 149
- ดุสิตโพล เผย ดัชนีการเมืองไทยลดลง ยก พิธา-เศรษฐา ผลงานเด่น
- อ่าน คำวินิจฉัยศาล รธน. ฉบับเต็ม พิธา-ก้าวไกล ล้มล้างการปกครอง