Line Newsเทคโนโลยี

Google เปิดตัว “Gemini” ระบบ AI ตัวใหม่ แทนที่ กูเกิ้ลบาร์ด ฉลาดขึ้นกว่าเดิม

กูเกิ้ล (Google) เปิดตัว ระบบปฏิบัติการปัญญาประดิษฐรุ่นใหม่ล่าสุด “เจมิไน” 1.0 (Gemini 1.0) มาแทนเอไอ Google Bard และ Open AI GPT-4 พร้อมแนะนำวิธีการใช้งานเอไอ เจมิไน เบื้องต้น จะสามารถเป็นเครื่องมือช่วยทำคอนเทนต์ในอนาคตได้หรือไม่

จุดเด่นของ Gemini 1.0

สำหรับปัญญาประดิษฐ เอไอ Gemini 1.0 คือ โมเดลปัญญาประดิษฐ์แบบ multimodal จะทำงานผ่านระบบ Gemini AI Model ที่เคยเปิดตัวไปแล้วช่วงเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้รับการพัฒนาให้ตัวปัญญาประดิษฐสามารถทำความเข้าใจองค์ประกอบของ หนังสือ ภาพ เสียง วิดีโอ ได้ดีกว่า Google Bard

Advertisements

อย่างไรก็ตาม Google ได้ประกาศชัดเจนแล้วว่า จะมีแผนการนำระบบ Gemini 1.0 และรุ่นใหม่ในอนาคต มาใช้แทน Google Bard, Duet หรือระบบปฏิบัติการที่มีความเกี่ยวข้องกับกูเกิ้ลทั้งหมด จุดเด่นของ Gemini ในเวอร์ชั่น 1.0 มีทั้งหมด 3 ขนาด ประกอบด้วย Gemini Ultra ขนาดใหญ่ที่สุด ใช้สำหรรับการประมวลผลที่มีความซับซ้อน ต่อมาคือ Gemini Pro เป็นเอไอขนาดกลาง ที่เน้นการทำงานได้หลากหลายรูปแบบและมีความซับซ้อนเล็กน้อย และสุดท้ายคือ Gemini Nano โมเดลเอไอที่มีประสิทธิภาพรองรับการทำงานบนมือถือสมาร์ทโฟน

ความสามารถในการให้เหตุผลหลายรูปแบบที่ซับซ้อนของ Gemini 1.0 สามารถช่วยทำความเข้าใจข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรและภาพที่ซับซ้อนได้ สิ่งนี้ทำให้บริษัทมีทักษะเฉพาะตัวในการเปิดเผยความรู้ที่ยากต่อการมองเห็นท่ามกลางข้อมูลจำนวนมหาศาล

ความสามารถที่โดดเด่นของบริษัทในการดึงข้อมูลเชิงลึกจากเอกสารนับแสนผ่านการอ่าน การกรอง และการทำความเข้าใจข้อมูล จะช่วยนำเสนอความก้าวหน้าครั้งใหม่ด้วยความเร็วดิจิทัลในหลายๆ สาขา ตั้งแต่วิทยาศาสตร์ไปจนถึงการเงิน

Gemini 1.0 ได้รับการฝึกอบรมให้จดจำและเข้าใจข้อความ รูปภาพ เสียง และอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงเข้าใจข้อมูลรายละเอียดปลีกย่อยได้ดีขึ้น และสามารถตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ซับซ้อนได้ ทำให้สามารถอธิบายการใช้เหตุผลในวิชาที่ซับซ้อน เช่น คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ได้ดีเป็นพิเศษ

Google เปิดตัว Gemini เอไอ ปัญญาประดิษฐ์

Advertisements

Gemini ประมวล รูปภาพ เสียง และอื่น ๆ

Gemini 1.0 ได้รับการฝึกอบรมให้จดจำและเข้าใจข้อความ รูปภาพ เสียง และอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงเข้าใจข้อมูลรายละเอียดปลีกย่อยได้ดีขึ้น และสามารถตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ซับซ้อนได้ ทำให้สามารถอธิบายการใช้เหตุผลในวิชาที่ซับซ้อน เช่น คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ได้ดีเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ จากผลการทดสอบประสิทธิภาพของ เอไอ Gemini ปรากฏว่ามีผลคะแนนเหนือกว่า GPT-4 แทบทุกจุด รวมไปถึงผลการประมวลข้อมูลด้านภาพก็ชนะขาดรอยไม่ติดฝุ่น ในส่วนของการใช้งาน Gemini ผ่านสมาร์ทโฟนในระบบ แอนดรอย์ จะใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นใหม่ชื่อว่า Gemini และระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส จะทำงานผ่านแอปพลิเคชั่น Google

วิธีการใช้ Gemini 1.0 บนคอมพิวเตอร์

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ Gemini
  2. จากนั้นก็เข้าสู่ระบบด้วยบัญชี Google
  3. กดเลือก ยอมรับเงื่อนไข
  4. พิมพ์ข้อความที่ต้องการถามข้อมูลได้เลย

เตรียมพัฒนาเป็น Gemini Advanced

ในอนาคต Google มีแผนพัฒนา Gemini 1.0 เป็น Gemini Advanced หรือ Ultra 1.0 ที่เรียกว่า MMLU (massive multitask language understanding) ที่คาดว่าอาจสามารถประมวลผลที่ซับซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ประวัติศาสตร์ กฏหมาย ยา และศีลธรรม

 

สำหรับใครที่อยากลองใช้ Gemini Advanced ที่มีประสบการณ์จะต่างออกไปจากเดิม จะต้องสมัครใช้บริการผ่าน Google One AI Premium Plan เท่านั้น โดยในช่วงแรกจะรองรับแค่ภาษาอังกฤษ และเปิดให้ใช้งานใน 150 ประเทศก่อน

Google เปิดตัว Gemini วิธีการใช้

รีวิวหลังทดลองใช้ Gemini 1.0

ทั้งนี้จากการทดลองใช้งานด้วยการให้ Google Gemini 1.0 หาข้อมูลประวัติของบุคคลสำคัญ พบว่ายังมีข้อผิดพลาดในเรื่องข้อมูลเป็นจำนวนมาก คาดว่าอาจเกิดจากการที่ระบบเอไอ ยังไม่สามารถจำแนกหรือแยกแยะ คำคีย์เวิร์ด บนหน้าเว็บไซต์ ว่าจุดไหนเป็นแค่การแสดงผลเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง จุดไหนคือการแสดงผลเนื้อหาที่ตรงกับชุดคำถามดังกล่าวนั่นเอง

สำหรับชุดคำถามทั่วไป ที่เป็นฐานข้อมูลสากลไม่ได้มีความจำเพาะด้านบุคคล เหตุการณ์ หรือสถานที่ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น วิธีใช้งานเครื่องคิดเลข, วิธีคิดเปอร์เซ็นต์, วันปีใหม่ตรงกับวันที่เท่าไหร่, วันคริสต์มาสคือวันอะไร, แนวทางการป้องกันโรคหวัด ฯลฯ หรือก็คือชุดข้อมูลที่เป็นสากลใช้ได้กับทุกประเทศทั่วโลก

หากเป็นข้อมูลทั่ว ๆ ไป ดังกล่าว ผลปรากฏว่า Gemini 1.0 สามารถประมวลผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และยังมีการตรวจสอบจากเว็บไซต์บน Google ที่มีฐานข้อมูลนี้อีกด้วย

ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า Gemini 1.0 ยังไม่สามารถขึ้นแท่นเป็นผู้ช่วยทำคอนเทนต์ได้อย่างเต็มร้อย หากแต่เป็นเครื่องมือ ตัวช่วย หรือ การสอบถาม ในบางประเด็นหัวข้อเท่านั้น จึงต้องรอต่อไปอีกว่าในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบเอไอของ Gemini ให้มีความถูกต้องมากขึ้นหรือไม่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : Google

Thaiger deals

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button