ข่าวข่าวการเมือง

เปิด “จดหมายปรีดี 2024” ข้างในเขียนถึงอะไร ทำไมต้องเปิดปีนี้ที่ฝรั่งเศส

เปิดจดหมายปรีดี 2024 วันนี้ สื่อนักวิชาการแห่จับตา สุดท้ายหักมุม เอกสารผิดแฟ้ม ไม่ใช่จดหมายฉบับจริงของอดีตรัฐบุรุษอาวุโส ท่ามกลางคำถามทำไมต้องเปิดปีนี้และเอกสารลับไปอยู่ที่ฝรั่งเศสได้อย่างไร ลุ้นอีกที วันที่ 5 มกราคม

ถึงเวลาครบรอบ 60 ปี จดหมายของปรีดี พนมยงค์ ที่จะถูกรัฐบาลฝรั่งเศสเปิดออกในปีนี้ ทำให้คนในสังคมไทยจับตาตั้งแต่ต้นปี ว่าสิ่งที่จะเปิดเผยเนื้อหาใน “จดหมายปรีดี” เอกสารชั้นต้นสำคัญของอดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโสของไทย จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร

Advertisements

รายงานระบุว่า ตามกำหนดจะมีการเปิดเผยจดหมายวันนี้ (2 ม.ค.67) ตรงกับเวลาประเทศไทย คือเวลา 16.30 น. ที่ทางหอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศ โดยรัฐบาลฝรั่เศส ในกลุ่มแฟ้มเอกสารเรื่องราวของประเทศไทย มีเอกสารรายการหนึ่งมีชื่อว่า “Dossier de Pridi Panomyong” แปลว่า “เอกสารของปรีดี พนมยงค์” หรือเอกสารเกี่ยวกับปรีดี พนมยงค์

ระบุ เป็นเอกสารในช่วงมกราคม 1968 – พฤษภาคม 1972 ซึ่งทางหอจดหมายเหตุจะเปิดให้คนทั่วไปดูได้ ในปี 2024 (Cet article sera communicable à compter de: 2024) หรือตรงกับ พ.ศ.2567

มีระบุความเป็นไปได้ 2 อย่างในเอกสารดังกล่าว

  • เป็นเอกสารส่วนตัว “ของ” ปรีดี พนมยงค์ ที่บริจาคให้หอจดหมายเหตุ โดยระบุไว้ว่า ห้ามเปิดให้คนดูจนกว่าจะถึงปี 2024
  • เป็นเอกสาร “เกี่ยวกับ” ปรีดี อาจจะเป็นเอกสารข้อมูลที่กระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส มีเกี่ยวกับปรีดีในช่วงปี 1968-1972

ก่อนหน้านี้ก็มีสื่อได้รวบรวมประด็นที่คาดหมายเอาไว้ อาทิ สำนักพิมพ์เวย์ (Way) ที่ลงบทความ 10 ปริศนาในซองจดหมาย ปรีดี 2024 คลิกอ่านที่นี่

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคนที่สงสัยเพราะอะไรจดหมายจึงไปอยู่ที่ฝรั่งเศส และทำไมต้องเป็นปี 2024 ถึงจะเผยแพร่รายละเอียดได้

Advertisements

ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการและบุคคลการเมือง ออกมาเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.66 ที่ผ่านมา ประเด็นเปิดจดหมายฯ โดยมีการแนะนำให้ศึกษาบทความของดิน บัวแดง นักวิชาการประวัติศาสตร์ จาก ม.เชียงใหม่ ผู้ใช้เวลาศึกษาอยู่ที่ปารีสหลายปี ยืนยันหากอ่านแล้วจะได้เลิกคาดหวังว่าจะมี “ทีเด็ด” อะไรที่ซ่อนไว้อยู่ ก่อนจะทิ้งท้ายส่วนตัวเชื่อว่าไม่น่าจะมีอะไรตื่นเต้นแบบที่หลายคนคาดหวังกัน

สำหรับ เอกสารปรีดี2024 จะทำการเปิดที่ หอคลังจดหมายเหตุ (Centre des Archives diplomatiques du ministère des Affaires étrangères) เมือง La Courneuve ทางตอนเหนือของปารีส โดยหอจดหมายเหตุ เปิดให้เข้าดูเอกสารรอบแรกในเวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับประเทศไทยเวลาประมาณ 16.30 น.

อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันปรีดี พนมยงค์ วันที่ 2 มกราคม เป็นวันเดียวกับวันคล้ายวันเกิดของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยาคนสำคัญ ของอดีตรัฐบุรุษอาวุโสของไทยด้วย

นายปรีดี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเวลา 11.45 น. ของวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ด้วยอาการหัวใจวาย ณ บ้านพักชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะมีอายุราว 83 ปี ซึ่งอีกไม่ถึงสองสัปดาห์ก็จะถึงวันครบรอบวันเกิดของนายปรีดี ในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 การอสัญกรรมของนายปรีดีครั้งนี้ทางสำนักข่าว เอ.พี. ได้เผยแพร่ข่าวไปทั่วโลกโดยรายงานว่า ในตอนเช้าก่อนมรณกรรมนายปรีดี ยังมีสุขภาพแข็งแรง ยังเขียนจดหมาย อ่านตำรา แต่งหนังสือ และทำกิจวัตรประจำวันตามปกติกระทั่งเวลาดังกล่าวได้รู้สึกไม่สบายขึ้นแล้วมรณกรรมอย่างสงบ ท่ามกลางการปฐมพยาบาลของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ และญาติๆ อย่างเต็มที่ (อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันปรีดี พนมยงค์).

อัปเดตความคืบหน้าหลังเวลาเปิดจดหมายอย่างเป็นทางการของหอจดหมายเหตุที่ฝรั่งเศส ซึ่งมีกลุ่มคนไทยที่ทำเรื่องขอเข้าไปดูข้อมูลเอกสารปรีดีฉบับจริง แล้วต่อมาบนโลกโซเชียลมีการบันทึกภาพหน้าจอโทรศัพท์ซึ่งอ้างเป็นรูปเอกสารของปรีดี ที่มีจำนวนหลายหน้า แต่ได้ระบุ เปิดเผยเนื้อหาใน “หน้าแรกของจดหมายปรีดี” ปรากฎ รายละเอียดกล่าวถึงการเสียชีวิตของมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสเสียชีวิตจากการถูกสังหารที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในพะเยา ประเทศไทย เมื่อปี ค.ส.1956 (พ.ศ.2499)

หักมุม “เอกสารผิดแฟ้ม” ไม่ใช่จดหมายปรีดี 2024 ที่หลายคนเฝ้ารอ

อัปเดตข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการออกมา อ้างเปิดจดหมายปรีดีฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎ ไม่ใช่เอกสารตัวเดียวกันกับที่ทุกคนคาดหมายไว้ โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ หนึ่งในผู้ลี้ภัยทางการเมืองและเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ไปเปิดเอกสารได้ออกมาอธิบายถึงเรื่องทีเกิดความผิดพลาดทั้งหมด ก่อนจะเปรยว่าให้มาลุ้นกันใหม่วันที่ 5 ม.ค.ที่จะถึงนี้.

จรรยา ยิ้มประเสริฐ

จดหมายหน้าแรกปรีดี
ภาพ @twitter
เอกสารปรีดี 2024
ภาพ Facebook @jaran.ditapichai
ข่าวจดหมายปรีดี
ภาพ @twitter
จดหมายปรีดีพนมยงค์ 2567
ภาพ @twitter

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button